Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1096
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปทุมมา บำเพ็ญทาน | - |
dc.contributor.author | Patumma Bumpentan | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts | th |
dc.date.accessioned | 2023-01-24T13:47:47Z | - |
dc.date.available | 2023-01-24T13:47:47Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1096 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวโน้มการออกแบบฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ จํานวน 5 คน และฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่ จํานวน 333 ชิ้น เครื่่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และตารางวิเคราะห์ฐานข้อมูลคุณลักษณะทางการออกแบบบนฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่ ด้วย Matrix Analysis จํานวน 35 ตาราง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามวัตถุประสงค์ในเรื่องของรูปแบบและแนวโน้มการออกแบบฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่และใช้โปรแกรม SPSS หาค่าสถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( Χ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบพบว่า รูปแบบการออกแบบของฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่เป็นไปตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ มาตรา 11 เรื่อง การบรรจุหีบห่อและติดป้ายฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่ โดยทําซองให้ดูน่ารังเกียจ ใช้ภาพที่น่ากลัว แสดงผลกระทบที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากประชากรที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำจึงต้องออกแบบให้เข้าใจง่าย สามารถสื่อสารไปยังผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่และลดจํานวนผู้สูบหน้าใหม่ลง และแนวโน้มการออกแบบฉลากคําเตือนจะเป็นซองแบบเรียบ โดยเป็นซองสีพื้น ไม่มีลวดลาย ตราบุหรี่พิมพ์เป็นตัวอักษรธรรมดา ไม่ใช้เครื่องหมายการค้าทําให้ภาพคําเตือนดูเด่นกว่ายี่ห้อบุหรี่และภาพคําเตือนควรเป็นภาพที่ดูน่ากลัวมากขึ้นเท่า ๆกัน เป็นภาพคนจริง ๆ ดูสะเทือนอารมณ์เปลี่ยนภาพคําเตือนบ่อยขึ้น และมีการตรวจสอบอย่างจริงจังให่บริษัทบุหรี่ผลิตภาพคําเตือนออกมาจํานวนเท่า ๆ กัน รวมทั้ง การออกแบบฉลากคําเตือนเฉพาะยาสูบแต่ละประเภท เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลทางการออกแบบด้วย Matrix Analysis พบว่ากลุ่มภูมิภาคตามความรับผิดชอบขององค์การอนามัยโลกที่มีฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มภูมิภาคอเมริกา ส่วนกลุ่มภูมิภาคแอฟริกามีฉลากคําเตือนน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่มีขนาดพื้นที่ของฉลากคําเตือนบนซองบุหรี่ส่วนด้านหน้าซอง ร้อยละ 46-50 ส่วนด้านหลังซอง ร้อยละ 46-50 และมีขนาดพื้นที่เฉลี่ยยต่อซองร้อยละ 31-35 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการแจ้งข้อความแจ้งสารพิษ และสารก่อมะเร็ง โดยใช้ตัวอักษรแบบไม่มีเชิงทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นตัวอักษรหนา มีสีตัวอักษรสองสีขึ้นไปโดยเป็นสีตัวอักษรขาวและแดงบนพื้นสีดํา และส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวบนฉลากคําเตือน ส่วนรูปแบบของภาพคําเตือนส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายประกอบข้อความคําเตือน โดยเป็นภาพที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งปาก ลําคอและโรคในช่องปากอื่น ๆ | th |
dc.description.abstract | The objective of this research is to study the designs and trends of health warning messages ontobacco packaging. The research’s population includes 5 tobacco control experts and 333 tobacco warning labels. The research’s tools consist of the in-depth interview questionaire and the database analysis on the designs of tobacco warning labels, using Matrix Analysis for the descriptive data analysis and SPSS statistical evaluation, such as frequency, percentage, arithmetic mean values and standard deviation. The in-depth interview results show that the designs of health warning on tobacco packaging have to abide by Article 11 “Packaging and Labelling of Tobacco Products” of The WHO Framework Convention on Tobacco Control (FCTC). The purpose of these warning messages is to keep the consumers away from smoking, thus, tobacco packaging is designed to create fears by using gruesome pictures of the effects of smoking. Since smokers are mostly poor-educated, the designs need to be easy to understand, so that existing smokers quit smoking and the number of new smokers decreases. The trends of health warning messages on tobacco packaging are simple font for the tobacco brand on a plain packet, with no trademark, to accentuate the warning picture. In order to create a strong emotional impact on tobacco consumers, the pictorial warning should be various, more fearful, such as a picture of a real person suffering from a disease caused by smoking. Tobacco packaging production, in the meantime, should be closely monitored to ensure that different pictorial warnings are equally used and printed on the package, and there are specific designs for different types of tobacco since they target different types of consumers. The database from the Matrix Analysis found that the Region of the Americas, as classified by WHO, has the highest number of tobacco packaging with warning label, while the Region of Africa has the least. The size of the warning label is 46-50 percent of the entire space on the front of the package, and 31-35 percent on the back. Most labels include information on toxins and carcinogen using sans serifs fonts. Most of the fonts are bold, use two colors or more, but mainly white and red letters on black background. The warning message is mostly in English. The warning picture is mainly consisted of photographs of smoking-induced diseases, such as oral and respiratory cancers, accompanied by a warning message. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การออกแบบผลิตภัณฑ์ | th |
dc.subject | Product design | th |
dc.subject | บุหรี่ | th |
dc.subject | Cigarettes | th |
dc.subject | ฉลาก | th |
dc.subject | Labels | th |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | th |
dc.subject | Smoking | th |
dc.title | รูปแบบและแนวโน้มการออกแบบฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ | th |
dc.title.alternative | Designs and Trends of Health Warning Messages on Tobacco Packaging | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Communication Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 132.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 97.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 986.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 92.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 184.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 138.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 134 kB | Adobe PDF | View/Open | |
TableOfContents.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.