Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1101
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธุมวดี สิริปัญญาฐิติ.-
dc.contributor.authorศิริเพ็ญ กำแพงแก้ว-
dc.contributor.authorจันทิมา จิรชูสกุล-
dc.contributor.authorThumwadee Siripanyathiti-
dc.contributor.authorSiriphen Kamphangkaew-
dc.contributor.authorChanthima Chirachoosakul-
dc.contributor.author刘淑莲-
dc.contributor.author姚倩儒-
dc.contributor.author周美华-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studiesth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies-
dc.date.accessioned2023-01-25T15:11:49Z-
dc.date.available2023-01-25T15:11:49Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1101-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนภาษาจีน องค์ความรู้ทางภาษาจีนของนักเรียน และตํารา/แบบเรียนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกของไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยพื้นฐานเชิงคุณภาพ (Descriptive Research) และสถิติ (Quantitative research) ซึ่งเก็บข้อมูลจากการวิจัยโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) คณะวิจัยทําการแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามลําดับ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดดําเนินการเรียนการสอนแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคตะวันออกของไทย จํานวน 21 แห่ง ประกอบด้วย หัวหน้าหมวดภาษาต่างประเทศ จํานวน 21 คน ครูผู้สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 37 คน และนักเรียนระดับชั้นเรียนสูงสุดของแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีน จํานวน 490 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านสภาพการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกของไทย พบว่า สภาพแวดล้อมทางภาษาจีนของโรงเรียนไม่เอื้ออํานวยต่อการเรียนการสอนภาษาจีน อีกทั้งการเรียนการสอนภาษาจีนในแต่ละระดับชั้นยังขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์ความรู้ของนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น 2. ด้านองค์ความรู้ทางภาษาจีนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกของไทย พบว่า ปริมาณคําศัพท์สะสมของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ที่จํานวน 50-300 คํา เมื่อนํามาเทียบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ทางภาษาจีนที่พึงประสงค์ ที่ทางสํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กําหนดไว้ ผลที่ได้ คือระดับความรู้ด้านตัวอักษรและคําศัพท์ของนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา 3. ด้านตํารา/แบบเรียนภาษาจีนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกของไทย พบว่า การเลือกใช้ตําราในการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งตํารา/แบบเรียนเกือบร้อยละ 50 ที่โรงเรียนเลือกใช้มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเกณฑ์สาระการเรียนรู้ทางภาษาจีนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2551th
dc.description.abstractThe Objective of this research is to study Chinese language teaching and learning environment, students’ knowledge of Chinese language, as well as textbooks / supplements used for the teaching of Chinese language to high school students (Arts-Chinese Program) in the Eastern part of Thailand. This is a descriptive and quantitative research collecting data from primary and secondary sources. Questionnaires are used along with interviews on sample groups selected by multi-stage sampling, sample random sampling and stratified random sampling respectively. The sample group of this research consist of 21 foreign language department heads, 37 Chinese language high-school teachers, and 490 Arts-Chinese major students in the highest study level of 21 schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) which provide high school education : The research outcomes are as follows ; 1. Chinese language teaching and learning environment (high school level) in the Arts-Chinese program of schools in the Eastern part of Thailand is not supportive for Chinese language teaching and lacking of continuity. 2. As for the student’s knowledge of Chinese language, it is found that high school students of Arts-Chinese program in the East of Thailand have, in general, the amount of comulative Chinese vocabulary of 50-300 words. When comparing to the learning objective indicators set by the Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, the result is equal to the knowledge level of primary school students in Chinese characters and vocabulary. 3. Textbooks / supplements used in the teaching of Chinese language for high school students (Arts-Chinese Program) in the Eastern part of Thailand are not under the same standard. Almost 50 percent of textbooks / supplements selected do not conform to the Chinese language Learning Standards under the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551, Ministry of Education.th
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2556th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th
dc.subjectChinese language -- Study and teaching (Secondary)th
dc.titleปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนเขตภาคตะวันออกของไทยth
dc.title.alternativeChinese Language Teaching and Learning Problems at High School Level (Arts-Chinese Program) in the Eastern Region of Thailandth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thumwadee- Siripanyathiti.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.