Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1103
Title: แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี
Other Titles: The Guidelines for Potential Development of Chanthaburi Mangosteen Cluster
Authors: ธิดารัตน์ โชคสุชาติ
ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ
Tidarat Choksuchart
Tassachan Piyatanti
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: เครือข่ายมังคุดจันทบุรี
Chanthaburi Mangosteen Cluster
เครือข่ายธุรกิจ
Business networks
มังคุด
Mangosteen
การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของเครือข่าย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน (2) ศึกษาศักยภาพในด้านปัจจัยการผลิต ด้านอุปสงค์หรือความต้องการ ด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน ด้านบริบทของกลยุทธ์ทางธุรกิจและการแข่งขัน (2) เสนอแนะเชิงนโยบายในแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ 1 ได้แก่ ผู้แทนที่มาจากคณะกรรมการบริหารเครือข่าย สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 ได้แก่ ผู้แทนที่มาจากสมาชิก สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 ได้แก่ (1) ผู้แทนที่มาจากคณะกรรมการบริหาร (2) ผู้แทนที่มาจากสมาชิก (3) ผู้แทนที่มาจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและการหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่า Cronbach alpha coefficient 0.946 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยตอนที่ 1 พบว่า เครือข่ายทำให้เกิดความร่วมมือ เกื้อหนุนกัน การดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและความสามารถในการแข่งขัน จุดแข็งของเครือข่ายมีดังนี้ (1) มีสมาชิกตั้งแต่ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก (2)เกษตรกรมีความชำนาญ (3) มีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก (4) คู่แข่งจากแหล่งผลิตอื่นมีน้อย (5) มังคุดเครือข่ายสามารถทำตลาดได้ (6) แต่ละกลุ่มย่อยมีศักยภาพที่จะรวมเป็นคลัสเตอร์ (7) มีตลาดรองรับผลผลิตอยู่บ้าง (8) สามารถแปรรูปได้ (9) ผู้ส่งออกมาตั้งจุดรับซื้อ ส่วนจุดอ่อนมีดังนี้ (1) ขาดข้อมูลที่ใช้วางแผน (2) ไม่สามารถกำหนดปริมาณผลผลิตที่ชัดเจนได้ (3) ผลผลิตไม่สอดคล้องกับตลาด (4) ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รวบรวมและผู้ส่งออก (5) ไม่สามารถส่งความเชื่อมั่นกันเองในเครือข่าย (6) ไม่สามารถกำหนดราคาได้ (7) ไม่สามารถกระจายผลผลิตได้ทั่วถึง (8) ไม่สามารถส่งออกได้เอง (9) ขาดความรู้ด้านการตลาดและการตัดแยก (10) ขาดเงินทุนในการรวบรวมผลผลิต ในขณะที่โอกาสของเครือข่ายมีดังนี้ (1) ผู้บริโภคให้ความสนใจในคุณภาพของมังคุด (2) ตลาดในต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดี (3) คู่แข่งมีน้อย (4) รัฐสนับสนุนการรวมตัวเป็นเครือข่าย ส่วนอุปสรรคของเครือข่ายมีดังนี้ (1) มังคุดบางส่วนคุณภาพต่ำ (2) ขาดแคลนงบประมาณและเงินทุนสนับสนุน (3) ระบบการค้าเป็นแบบกึ่งผูกขาด (4) ขาดความเป็นเอกภาพในการพัฒนาเครือข่าย (5) มังคุดบางส่วนไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของผู้นำเข้า แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของเครือข่ายมีดังนี้ (1) เครือข่ายควรจัดทำข้อมูลการผลิตให้เป็นเอกภาพ (2) รัฐควรสนับสนุนเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง (3) การผลิตควรมีคุณภาพ (4) เครือข่ายควรวางแผนการกระจายผลผลิต (5) สมาชิกควรมีกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (6) เครือข่ายควรกระตุ้นให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (7) คณะกรรมการต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ (8) เครือข่ายควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยตอนที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.9 รับรู้และเข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างกระบวนการเครือข่ายกับการรวมกลุ่มอื่นๆ ในจังหวัดแตกต่างกันที่การเชื่อมโยงของกลุ่มอื่นๆ ที่สนับสนุนการผลิตและการตลาด ร้อยละ 43.8 รับรู้และเข้าใจว่าแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์การจัดตั้งและเป้าหมายการดำเนินงาน ร้อยละ 87.5 รับรู้และเข้าใจเครือข่ายมีเป้าหมายเพื่อขยายผลผลิตและตลาด ร้อยละ 81.2 รับรู้และเข้าใจว่าเครือข่ายมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร้อยละ 90.6 รับรู้และเข้าใจคำว่าเครือข่ายมังคุดมาจากการประชุมชี้แจงหรือฝึกอบรมหรือสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานรัฐ ร้อยละ 68.8 รับรู้และเข้าใจว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญหรือเป็นแกนนำในกระบวนเครือข่าย คือ หน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 81.2 รับรู้และเข้าใจว่ามีกลุ่มแกนนำและมีการกำหนดเป้าประสงค์ และมีการริเริ่มโครงการบางอย่างแล้ว ร้อยละ 71.9 รับรู้และเข้าใจว่าเป็นกลุ่มที่มีการรวมตัวมาแล้วระยะหนึ่ง มีการพบปะหารือกันสม่ำเสมอและมีการดำเนินโครงการบางอย่างร่วมกัน ร้อยละ 90.6 รับรู้และเข้าใจว่ามีประโยชน์ ร้อยละ 50.0 เห็นด้วยและพร้อมที่ให้ความร่วมมือร้อยละ 84.4 รับรู้และเข้าใจว่ามีภาครัฐหรือเอกชนทำหน้าที่ประสานงานและมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนเข้ามาร่วม ร้อยละ 62.5 รับรู้และเข้าใจว่ามีการรวมตัวกันได้ดีพอสมควร ร้อยละ 46.9 รับรู้และเข้าใจว่ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเฉพาะในกลุ่มเล็กๆ ผลการวิจัยตอนที่ 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.4 ให้ความร่วมมือในลักษณะพร้อมที่จะปรับปรุงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 43.8 มีการเข้าร่วมประชุมที่เป็นทางการนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 71.9 มี การเข้าร่วมประชุมที่ไม่เป็นทางการนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 68.8 เข้าร่วมกิจกรรมของเครือข่ายทุกครั้งร้อยละ 81.2 มีบทบาทในการร่วมกิจกรรมของเครือข่าย ร้อยละ 93.8 เห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับคือ มีการพัฒนาความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100.0 เห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่ คือ ผู้ผลิต ร้อยละ 93.8 มีลักษณะของการทำกิจกรรมร่วมกัน ร้อยละ 87.5 เห็นว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่าย ร้อยละ 59.4 เห็นว่าสิ่งที่ต้องการการสนับสนุนเป็นเรื่องการส่งเสริมด้านการตลาดร้อยละ 71.9 เห็นว่าต้องมีผู้นำที่มีความเสียสละ ผลการวิจัยตอนที่ 4 พบว่า ด้านปัจจัยการผลิต เครือข่ายมีศักยภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ส่วนศักยภาพที่เครือข่ายอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดหาและความพร้อมของวัตถุดิบในท้องถิ่น ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของท้องถิ่น ทักษะและความพร้อมของสมาชิก และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการผลิต แต่ศักยภาพที่เครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบการผลิตมังคุด และความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้านอุปสงค์ เครือข่ายมีศักยภาพอยู่ในระดับมากในเรื่องคุณภาพและเอกลักษณ์ของมังคุดในเครือข่ายเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วนศักยภาพที่เครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การเติบโตของยอดขายมังคุดโดยเฉลี่ย การเข้าถึงตลาดในประเทศ การเข้าถึงตลาดในต่างประเทศและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน เครือข่ายมีศักยภาพอยู่ในระดับมากในเรื่องการประสานความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ส่วนศักยภาพที่เครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานในเครือข่าย กลไกการสนับสนุนการดำเนินงานจากสถาบันการศึกษา/สถาบันเฉพาะ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนในพื้นที่ ด้านบริบทของกลยุทธ์ทางธุรกิจและการแข่งขัน เครือข่ายมีศักยภาพอยู่ในระดับมากในเรื่อง กลุ่มสมาชิกที่เป็นแกนนำ/ผู้นำ ลักษณะความร่วมมือกัน การแข่งขันจากผู้ผลิตภายนอก ส่วนศักยภาพที่เครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การบริหารจัดการ ลักษณะและวิธีการทำกิจกรรมต่างๆ อำนาจการต่อรองกับผู้จัดหาวัตถุดิบ แต่เครือข่ายมีศักยภาพอยู่ในระดับน้อย ในเรื่องอำนาจการต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง/ผู้รวบรวม (ล้ง)/ผู้ส่งออก ผลการวิจัยตอนที่ 5 พบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านปัจจัยการผลิต มีดังนี้ (1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก (2) สนับสนุนปัจจัยการผลิต (3) ทำสวนมังคุดนอกฤดู (4) มีการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ (5) พัฒนาระบบฐานข้อมูลมังคุดร่วมกันระหว่างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ (5) พัฒนาระบบฐานข้อมูลมังคุดร่วมกันระหว่างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ มีดังนี้ (1) ตั้งจุดสกัดรับซื้อมังคุด (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายผลผลิตมังคุดไปยังจังหวัดอื่นๆ (3) รณรงค์การบริโภคมังคุดจันทบุรี ด้านอุปสงค์ในต่างประเทศ มีดังนี้ (1) จัดตั้งศูนย์กระจายผลผลิตในต่างประเทศ (2) สนับสนุนงบประมาณและการเปิดตลาดใหม่ (3) รักษาและขยายตลาดเดิม (4) ประชาสัมพันธ์มังคุดในต่างประเทศ (5) ภาครัฐดำเนินการเจรจาแก้ไขปัญหาหรือข้อจำกัดทางการค้า ด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน มีดังนี้ (1) สร้างกลไกขึ้นมากระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ (2) เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการแปรรูป (3) ประสานความร่วมมือกับผู้ส่งออก ผู้ประกอบการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก (4) ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา/สถาบันเฉพาะทางศึกษาวิจัยตามความต้องการของเครือข่าย (5) ประสานงานให้สถาบันศึกษา/สถาบันเฉพาะดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านบริบทของกลยุทธ์ทางธุรกิจและการแข่งขัน มีดังนี้ (1) พัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย (2) ตกลงร่วมกันในการผลิตและคัดแยกมังคุดคุณภาพเพื่อการส่งออก (3) ขจัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการผลิต (4) ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการ (5) สร้างกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าในการส่งออก
The objectives of this research are to (1) study the clusteros progress, strengths, weaknesses,opportunities, threats, and the guidelines to solve problem of the cluster, (2) study the clusteros potentials which include factor conditions, demand conditions, related and supporting industries, and context for firm strategy and rivalry, and (3) suggest the guidelines for potential development of the cluster. Purposive sampling was used in this research. The samples of the first objective were selected from the clusteros committee representatives. The second objective were selected from the clusteros members. And the third objective were selected from the clusteros committee, the clusteros members, the related government and private sectors. The research tools include questionnaire and interview guides which were examined on the content validity and reliability. The Cronbach's alpha coefficient was 0.946. Data were collected fromconducting interviews the focus groups, which were later analyzed by content analysis. The data used were collected from the questionnaire that was analyzed by descriptive statistics. The first finding revealed that the cluster created cooperation, assistance, activities for increasing thevalue added and competitiveness. On the clusteros strengths, it was concluded that (1) the members were producers v exporters, (2) farmers had many specializations and experiences, (3) the members had mangosteen plantations, (4) the cluster had a few outside competitors, (5) the clusteros mangosteens were marketable products, (6) each of the small groups had the potentials to be the cluster, (7) there were markets for some products, (8) the clusteros mangosteens could transfigure, and (9) the exporters set up the buying points in Chanthaburi areas. The weaknesses derived from (1) the members missed information for planning, (2) the cluster couldnot identify the right quantity of products, (3) the products werenot in line with the markets (4) the clustercouldnot make the confidence for collectors and exporters, (5) the members didnot have the confidence together, (6) the cluster couldnot fix a price by itself, (7) the cluster couldnot distribute products to everywhere, (8) the cluster couldnot export by itself, (9) the members didnot have the knowledge of marketing and mangosteen selection, and (10) the cluster was short of money for mangosteen collection. And the opportunities could identify that (1) consumers interested in mangosteenos quality, (2) there was an upward trend in foreign markets, (3) there were a few competitors, and (4) the government supported to be cluster cooperation. But it was found that the threats of the cluster were (1) some mangosteens were low in quality, (2) the budget and supporting fund were deficient, (3) trade system was a semi-monopoly market, (4) thecluster lacked the unity to development, and (5) some mangosteens werenot in agreements with the importers. Finally, the guidelines led the cluster to solve problems, we concluded that (1) the cluster should handle production data to be the unity, (2) the government should support the cluster consecutively, (3) the production should be of quality, (4) the cluster should plan the productos distribution, (5) the members should have activities consecutively, (6) the cluster should motivate members to participate in formal and informal meetings, and (7) the committee had competency in management, (8) the cluster should receive supporting budgets from relevant organizations The second finding revealed that 46.90% of samples recognized and understood differences between the cluster and the other cooperation in Chanthaburi province, the other cooperation differed from the cluster in production and marketing assistances. Additionally, 43.80% of samples recognized and understood that the other cooperation differed from the cluster in objectives of settlement and operation target. However, 87.50% of samples recognized and understood that the cluster had objectives to extend products and markets. The 81.20% of samples recognized and understood that the cluster had objectives for sustainable development. The 90.60% of samples recognized and understood that the mangosteenos cluster came from meetings / trainings / seminars was arranged by government sectors. The 68.80% of samples recognized and understood that the government was important role and leader of the cluster. The 81.20% of samples recognized and understood that there were the clusteros leaders, the clusteros objectives and the clusterosproject initiations. The 71.90% of samples recognized and understood that the cluster had cooperated in a period of time, usually met and initiated some projects together. The 90.60% of samples recognized and understood that the cluster had benefits. The 50.00% of samples ready agreed and cooperated. The 84.40% of samples recognized and understood that government or private sectors had coordinated activities and there were the related and supporting industries. The 62.50% of samples recognized and understood that there was the cooperation moderately. The 46.90% of samples recognized and understood that there was the information changing in a small group.The third finding revealed that 84.40% of samples cooperated is ready to develop for the commongood. The 43.80% of samples entered the formal meetings more than 1 month. The 71.90% of samplesentered the informal meetings more than 1 month. The 68.80% of samples had participated the clusteros activities every time. The 93.80% of samples recognized that the developments of knowledge and experience were benefits from the cluster. The 100.00% of samples recognized that the most of members were producers. The 93.80% of samples recognized that there were the activities together. The 87.50% of samples recognized that the activityos participations of government and private sectors were factors of the clusteros cooperation. The 59.40% of samples recognized that the marketing issues were the encouraging factors. The 71.90% of samples recognized that the clusteros leaders were devoted persons. The fourth finding revealed that the clusteros factor conditions had the potentials at the highest level in the bountiful resources. But the cluster had the potentials at the high level in the supply and plenty of local factors, the capacity to approach the factor sources, the local physical infrastructures, the abilityand fullness of members, the local wisdom using for the production developments. However, the potentials were at the medium level in the tools, the machines and the modern technologies using for the mangosteen production, and the capacity to approach the capital sources. The clusteros demand conditions had potentials at the high level in the quality and the identity of the clusteros mangosteen when compared with competitors. The potentials were at the medium level in the average growth of mangosteen sales, the penetration of domestic markets and overseas markets, and the mechanism to protect consumers. Furthermore, the potentials of related and supporting industries were at the high level in the cooperation of each member group, and the changing of information. The potentials were at the medium level in the clusteros supply chains, the support came from education or specific organizations, related and supporting industries. Finally, the potentials of context for firm strategy and rivalry were at the high level in the leader group, the cooperation characteristic, the competition of external producers. The potentials were at themedium level in the management, the characteristic and procedure of activities, and the power ofnegotiation to suppliers. On the other hand, the potentials were at the lowest level in the power of negotiation to middle merchandisers / fruit collectors / exporters. The fifth finding revealed that the guidelines for potential development of the cluster in factor conditions inferred that the cluster should (1) increase the memberos production efficiency, (2) support factors, (3) develop off v season production technique for mangosteen (4) have learning and development together (including the cluster, government and private sectors), and (5) develop data base system together (including the cluster, related organizations). In domestic demand conditions, this research suggested that the cluster should (1) set up buying points of mangosteen, (2) promote and support the distributions of mangosteen to other provinces, and (3) campaign for mangosteen consumptions in Chanthaburi province. And the suggestion for oversea demand summarized that the cluster should (1) set up the productos distribution, (2) support the budget and the opening of new markets, (3) keep and enlarge the former markets, (4) campaign mangosteens in the oversea markets, and (5) ask for government to negotiate tradeos obstructions. Moreover, the related and supporting industries found that the cluster should (1) make the driving to stimulate the efficient connections, (2) connect the transfigurationos entrepreneurs, (3) cooperate with exporters and logistic entrepreneurs, (4) cooperate with education or research organizations, and (5) join hand with education or research organizations to educate the members. The last guideline was the context for firm strategy and rivalry, we suggested that the cluster should (1) develop vigorousness, (2) agree with the qualitative production and selection of mangosteen for exporting, (3) eliminate unnecessary cost of production, (4) set up funds for development and management, and (5) make strategies to increase export values.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1103
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf118.02 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf77.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf172.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf318.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf107.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf278.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf638.92 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf615.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.