Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1114
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฐิติกานต์ ชูกิจรุ่งโรจน์ | - |
dc.contributor.author | ดวงพร เบญจนราสุทธิ์ | - |
dc.contributor.author | Titikan Chukijrungroat | - |
dc.contributor.author | Duangporn Benjanarasut | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-01T09:31:16Z | - |
dc.date.available | 2023-02-01T09:31:16Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1114 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยเรื่อง ผลของการฝึกออกกําลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนระยะสั้นและระยะยาว ต่อมุมความโค้งและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังสวนอกและเอวในวัยหนุ่มสาวเพศหญิง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มุ่งศึกษาให้ทราบถึงค่ามุมความโค้งและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ระหว่างก่อนและหลังฝึกออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน เป็นเวลา 1 และ 6 สัปดาห์ โดยวัดค่าด้วยไม้บรรทัดความโค้งที่สามารถดัดงอได้และอุปกรณ์วัดมุมเอียงแบบดิจิตอล ตามลําดับ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครนักศึกษาเพศหญิงที่ไม่ได้ออกกําลังกายเป็นประจำ อายุ 18 - 25 ปีจำนวน 40 คน ซึ่งลงนามยินยอมในแบบฟอร์มแสดงความยินยอมเข้าร่วมในการศึกษาวิจัย โดยผู้วิจัยอธิบายขั้นตอนการศึกษา และวิธีปฏิบัติ ขณะเข้าร่วมการศึกษาวิจัยให้ทราบโดยละเอียด จากนั้นผู้รวมวิจัยทำการตอบแบบสอบถามข้อมูล พื้นฐานและวัดค่าดัชนีมวลกาย มุมความโค้งและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังสวนอกและเอว แล้วจึงจับฉลากสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน คือกลุ่มออกกําลังกายจะได้รับการฝึกออกกําลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน ท่าต่อเนื่องกันจนครบ โดยทําการฝึกออกกําลังกายกับผู้วิจัยทุกครั้ง จำนวน 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการออกกําลังกาย แต่จะกลับมารับการวัดมุมความโค้งและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวซ้ำภายหลงเวลาผ่านไป 1 และ 6 สัปดาห์การวิจัยในครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยหัวเฉยวเฉลิมพระเกียรติ ก่อนการฝึกออกกําลังกาย ค่าตัวแปรของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่ภายหลังการฝึกออกกําลังกายพบว่า มีการเพิ่มขึ้นน้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติขององศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกในสัปดาห์ ที่ 6 ในท่า flexion (ออกกําลังกาย 11.48±0.93 องศา เทียบกับควบคุม 9.24±1.51 องศา, p=0.000) และ extension (ออกกําลังกาย 3.85±0.60 องศา เทียบกับควบคุม 2.91±0.62 องศา, p=0.000) รวมทั้งองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังสวนเอวในท่า flexion (ออกกําลังกาย 52.10±5.04 องศา เทียบกับควบคุม 40.92±7.52 องศา, p=0.000), extension (ออกกําลังกาย 19.01±1.62 องศา เทียบกับควบคุม 12.14±2.54 องศา, p=0.000), right lateral flexion (ออกกําลังกาย 17.48±1.81 องศา เทียบกับควบคุม 12.51±2.06 องศา, p=0.000) และ left lateral flexion (ออกกําลังกาย 17.35±1.89 องศา เทียบกับควบคุม 12.45±1.48 องศา, p=0.000) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอวในท่า extension มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติตั้งแต่หลังการฝากเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น (ออกกำลังกาย 15.06±2.19 องศา เทียบกับควบคุม 12.33±2.76 องศา, p=0.000) อีกทั้งการฝึกออกกําลงกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน 6 สัปดาห์ทำให้มุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ออกกําลังกาย 31.39±2.79 องศา เทียบกับควบคุม 36.93±2.77 องศา, p=0.000) แต่ไม่มีผลต่อมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนเอว (ออกกําลังกาย 43.05±6.91 องศา เทียบกับควบคุม 41.69±8.37 องศา, p=0.578) นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกในกลุ่มออกกำลังกายระหว่างสัปดาห์ที่ 0, 1 และ 6 พบว่ามีคาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย (p<0.01) ส่วนองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังสวนเอวในทุกทิศทาง พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 6 เทียบกับกอนออกกำาลังกาย (p<0.01) ยกเว้นในท่า extension ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำญทางสถิติ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 นอกจากนี้ พบว่า มุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกําลังกาย (p<0.01) แต่ไม่พบว่าความแตกต่างของมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนเอวและไม่พบความแตกต่างของตัวแปรในกลุ่มควบคุม จากผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฝึกออกกําลงกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนในวัยรุ่นเพศหญิงที่มีกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในท่านั่งงอลำตํวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ช่วยทําให้ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังสวนอกและเอวเพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งผลให้มุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกลดลงได้ ดังนั้นจึงอาจนำโปรแกรมการออกกำลังกายดัวยท่าฤๅษีดัดตนนี้ไปประยุกต์ใช้ในป้องกันการปวดหลังจากการนั่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้อีกทางหนึ่ง | th |
dc.description.abstract | The topic of the research is short-term and long-term effects of the Ruesi-Dudton exercise on thoracolumbar curvature and range of motion in female young adults. It is the quantitative research study. The objective of the study was to compare the thoracolumbar curvature and range of motion between exercise and control group after exercise one week and six weeks in female young adults who do not exercise regularly. Forty female young adults met the inclusion criteria and completely filled out the consent form and questionnaires. All of the subjects were measured the body mass index, thoracolumbar curvature and range of motion by the application of a flexible ruler and digital inclinometer, respectively. Then, subjects were randomly divided into two groups:exercise and control groups. The subjects in exercise group did the Ruesi-Dadton exercise program three days a week for six weeks. All of the subjects were followed for the thoracolumbar curvature and range of motion measurements at one and six weeks after exercise. This study was approved by the ethical committee of Huachiew Chalermprakiet University. Before exercise training, there were no differences in all parameters. After exercise training, the results showed that subjects in the exercise group were significantly increased in thoracic flexion (exercise 11.48±0.93 Vs control 9.24±1.51 degrees, p=0.000) and extension (exercise 3.85±0.60 Vs control 2.91±0.62 degrees, p=0.000) in six weeks after exercise compared to the control group. Moreover, the lumbar range of motion was significantly increased in all directions: flexion (exercise 52.10±5.04 Vs control 40.92±7.52 degrees, p=0.000), extension (exercise 19.01±1.62 Vs control 12.14±2.54 degrees, p=0.000), right lateral flexion (exercise 17.48±1.81 Vs control 12.51±2.06 degrees, p=0.000) and left lateral flexion (exercise 17.35±1.89 Vs control 12.45±1.48 degrees, p=0.000). Especially, an increase in lumbar extension was found after week one of the exercise program (exercise 15.06±2.19 Vs control 12.33±2.76 degrees, p=0.000). The thoracic kyphotic angle was significantly decreased followed by six weeks of exercise program (exercise 31.39±2.79 Vs control 36.93±2.77 degrees, p=0.000) but there was no statistical significance in the lumbar lordotic angle after exercise (exercise 43.05±6.91 Vs control 41.69±8.37 degrees, p=0.578). There were significantly increased in thoracic range of motion in 6th week within exercise group when compared to before exercise (p<0.01). In addition, the lumbar range of motion were also significantly increased after 6 weeks of exercise program when compared to before exercise (p<0.01) except that the lumbar extension was significantly increased after 1st week of the exercise program. Moreover, the thoracic kyphotic angle was significantly decreased followed by six weeks of exercise program but there was no statistical significance in the lumbar lordotic angle when compared to before exercise. In addition, there were no differences in all parameters within control group. Ruesi-Dadton exercise training can improve the flexibility of the thoracic and lumbar spines, and can also reduce the thoracic kyphotic curvature that normally occurs in the prolonged sitting posture leading to injury. Thus, this Ruesi-Dadton exercise training program can be used for preventing the back problem in young adults with prolonged sitting posture. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2553 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การออกกำลังกาย | th |
dc.subject | Exercise | th |
dc.subject | กระดูกสันหลังส่วนเอว | th |
dc.subject | Lumbar Vertebrae | th |
dc.subject | กระดูกสันหลังส่วนอก | th |
dc.subject | Thoracic vertebrae | th |
dc.subject | ฤาษีดัดตน | th |
dc.subject | Thai hermit exercise (Ruesi-Dudton) | th |
dc.title | ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนระยะสั้นและระยะยาวต่อมุมความโค้งและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในวัยหนุ่มสาวเพศหญิง | th |
dc.title.alternative | Effects of Short-Term and Long-Term Ruesi-Dudton Exercise Training on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female Young Adults | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Physical Therapy - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 111.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 75.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 84.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 647.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 206.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 120.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 690.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.