Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1120
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorขัตติยา กรรณสูต-
dc.contributor.authorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorปภาทิพ พงศ์ศุภนิมิต-
dc.contributor.authorนวลใย หาริวร-
dc.contributor.authorพรรณปพร เอกพัฒน์-
dc.contributor.authorภรมนัส ประยูรรัตน-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมth
dc.date.accessioned2023-02-02T14:41:01Z-
dc.date.available2023-02-02T14:41:01Z-
dc.date.issued1996-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1120-
dc.description.abstractตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ชุดนี้ ได้จากการสังเคราะห์การวิจัย เรื่อง คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในเมืองอุตสาหกรรมลาดกระบังและชุมชนเมืองใหม่บางพลี โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2537 ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 500 ชุด จากลาดกระบัง 250 ชุด บางพลี 250 ชุด ผลการสังเคราะห์ข้อมูลสรุปเป็นตัวชี้วัดดังนี้ ประชาชนที่อาศัยในย่านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน (อายุ 21-40 ปี) มีครอบครัวแล้ว และมีจำนวนไม่น้อยที่ครอบครัวแยกจากกันเพราะการทำงาน สมาชิกในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพพอสมคววรโดยเฉพาะโรคเครียด และมีผู้พิการอันเกิดจากการทำงานปรากฏด้วย ครอบครัวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านโดยไม่ร่วมกับครอบครัวอื่น โดยมีสมาชิกประมาณ 3-5 คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยในบ้านที่ไม่มีการแยกสัดส่วนของห้อง โดยจะทำกิจกรรมทุกอย่างทั้งพักผ่อน นอน ทำอาหารและกินข้าวในห้องเดียวกัน ส่วนการใช้สาธารณูปโภคอันได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า ฯลฯ สำหรับไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์ของทางราชการ ส่วนการใช้น้ำส่วนใหญ่ซื้อน้ำเป็นขวนสำหรับดื่มกิน และใช้น้ำประปาและน้ำบาดาล สำหรับการบริโภคอื่นๆ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถเมล์ ซึ่งต้องเดินจากบ้านไปขึ้นรถประมาณ 500 เมตร เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เวลาในการรอรถไม่เกิน 1/2 ชม. หรือไม่ต้องรอนานและทางสัญจรในย่านที่อยู่อาศัยเป็นถนนคอนกรีตเป็นส่วนใหญ่ สาธารณูปโภคด้านอื่นๆ ที่มีเพียงพอได้แก่ ที่ทิ้งขยะ โทรศัพท์สาธารณะ ไฟฟ้าริมทาง ที่พักผ่อนและสวนสาธารณะ และน้ำดื่มสาธารณะ และธนาคารเท่านั้น ที่ยังมีบริการไม่มาก ส่วนความรู้สึกปลอดภัยในการอยู่อาศัยในชุมชนพบว่า ผู้ที่อยู่ในเขตลาดกระบังมีความรู้สึกปลอดภัยมากกว่าชาวบางพลีมาก เนื่องจากชาวบางพลีมีความรู้สึกว่าในชุมชนตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการฉกชิงวิ่งราว การลักเล็กขโมยน้อย การตัดช่องย่องเบา และอุบัติเหตุมากกว่าที่ชาวลาดกระบังรู้สึก โดยชาวบางพลีมีสัดส่วนที่แสดงความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยที่จะออกจากบ้านเรือนหรือกลับบ้านหลัง 1 ทุ่มสูงกว่าชาวลาดกระบังมากทั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าในย่านอุตสาหกรรมที่เจริญกว่ามีความเป็นเมืองมากกว่า ผู้อยู่อาศัยกลับรู้สึกว่ามีความปลอดภัยน้อยกว่า ด้านสุขภาพพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพดี ในเรื่องการดูแลครรภ์ประชาชนหันไปพึ่งบริการของแพทย์โดยตรงมากกว่าแต่ก่อน ทางด้านเศรษฐกิจ ผู้อาศัยแถบนั้นมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 7,556 บาท ต่อเดือน โดยใช้เป็นค่าอาหารเฉลี่ยเดือนละ 2,562 บาท ค่าเสื้อผ้าเดือนละ 511 บาท ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเดือนละ 449 บาท ค่ารักษาพยาบาลเดือนละ 358 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเดือนละ 1,409 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจเดือนละ 582 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกินอาหารนอกบ้านเดือนละ 534 บาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสังคมอื่นๆ เดือนละ 377 บาท (ค่าใช้จ่ายในช่วง พ.ศ. 2537) ในส่วนของการออมเงิน มีเพียงร้อยละ 40.6 ที่มีเงินเหลือเก็บ และในส่วนของการมีทรัพย์สินในครอบครองพบว่า มีเพียงร้อยละ 30.1 ที่มีที่ดินเป็นของตนเอง ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ผู้อยู่อาศัยในย่านอุตสาหกรรมจบชั้นประถมศึกษาและลูกๆ ก็จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างผู้มีการศึกษาต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างกันโดยกลุ่มที่จบอาชีวศึกษาคิดว่าตนเองมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี ขณะที่กลุ่มที่จบประถมศึกษาคิดว่าความเป็นอยู่ของตนเองต่ำกว่าปานกลางมากพอสมควร (ดูการวิเคราะห์เรื่องระดับความเป็นอยู่ในตอนที่ 6) ในเรื่องความต้องการความเป็นอยู่ยังไม่ดี ต้องการศึกษาต่อมากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางและค่อนข้างดีมาก ด้านอาชีพ ในพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมมีผู้ประกอบอาชีพด้านค้าขาย และรับจ้างอุตสาหกรรมในสัดส่วนสูงมาก ทั้งอาชีพค้าขขายและอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการทำงานในแต่ละวันประมาณ 7-8 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 15 ชั่วโมง แล้วแต่ลักษณะอาชีพ ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน มีอาชีพค้าขายที่ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 7 วัน งานในอาชีพอุตสาหกรรมต้องทำงานกับเครื่องจักรค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่คนงานจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายที่มือและใบหน้า และมีคนงานบางคนเคยได้รับอันตรายจนถึงพิการ และบางส่วนต้องทำงานกับสารเคมีโดยเคยได้รับอันตรายจากสารเคมีเช่นกัน ผู้ที่ทำงานมีสัดส่วนเล็กน้อยที่เคยประท้วงโดยเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ด้านการใช้เวลาในการทำงานกิจกรรมต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง พบว่าส่วนใหญ่การทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การล้างหน้าแปรงฟัน จนถึงการพักผ่อนหลังเลิกงานเป็นไปตามปกติ แต่จะจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนักที่ใช้ช่วงเวลาทำกิจกรรมที่แตกต่างไป เช่นกลุ่มที่เดินทางไปทำงานเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป และเลิกงานเวลาดึกเป็นต้น ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ส่วนใหญ่ทำเวลาเย็นและค่ำ กิจกรรมด้านการพัฒนาตนเอง เช่น การอ่านหนังสือยังมีผู้ทำไม่มากนัก โดยเฉพาะการเรียนภาคค่ำ และการฝึกอาชีพค่อนข้างน้อย ด้านการมีส่วนร่วมในสังคมในแง่การรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พบว่าปัญหาทางกายภาพจะมีการรับรู้ค่อนข้างสูง เช่น ปัญหาขยะ อุบัติเหตุ ความเดือดร้อนจากเสียง กลิ่นและน้ำ ส่วนปัญหาเรื่องกิจกรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมมีการรับรู้ต่ำสุดth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectคุณภาพชีวิตth
dc.subjectQuality of lifeth
dc.subjectครัวเรือน -- ไทย (สมุทรปราการ)th
dc.subjectHouseholds -- Thailand (Samut Prakarn)th
dc.subjectครัวเรือน -- ไทย (กรุงเทพฯ)th
dc.subjectHouseholds -- Thailand (Bangkok)th
dc.subjectชุมชนเมืองใหม่บางพลีth
dc.subjectBang Plee New Townth
dc.subjectนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังth
dc.subjectLatkrabang Industrial Estateth
dc.titleรายงาน การสังเคราะห์ตัวชี้คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่th
dc.title.alternativeการสังเคราะห์ตัวชี้คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่th
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kattiya-Karnasuta.pdf63.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.