Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1137
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริ | - |
dc.contributor.author | วรรณา ธนาวิวิธพร | - |
dc.contributor.author | Patoomthip Adunwatanasiri | - |
dc.contributor.author | จินตนา ฉัตรกุลวิน | - |
dc.contributor.author | Wanna Tanavivitporn | - |
dc.contributor.author | Chintana Chatkulkawin | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | th |
dc.contributor.other | Neurological Institute of Thailand | th |
dc.contributor.other | Neurological Institute of Thailand | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-11T13:00:58Z | - |
dc.date.available | 2023-02-11T13:00:58Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1137 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อาการเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการรับรู้อาการเตือนและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ระยะเวลาที่มาโรงพยาบาล การรับรู้อาการเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป๋วยที่มาตรวจตามนัด แผนกผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 139 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้อาการเตือน ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือสมอง และการฟื้นตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 44.6 มีความรู้เกี่ยวกับอาการเตือนในระดับดี แต่มีเพียงร้อยละ 11.5 ที่ตอบอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองได้ถูกต้องทุกข้อ อาการเตือนที่ตอบถูกมากที่สุด คือ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดและแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงทันทีทันใด ผู้ป่วยร้อยละ 53.9 ทราบปัจจัยเสี่ยงในระดับดี แต่มีเพียงร้อยละ 23 ที่ตอบปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ถูกต้องทุกข้อ ปัจจัยเสี่ยงที่ตอบได้ถูกต้องมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง การฟื้นตัวประเมินด้วย Barthel ADL index อยู่ในระดับสูง (mean=15.31, SD=5.21) แต่ IADL อยู่ในระดับต่ำ (mean=6.15, SD=3.01) อายุ โรคประจำตัว แหล่งที่มาของข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการรับรู้อาการเตือน ขณะที่ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่มาถึงโรงพยาบาล แหล่งที่มาของข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรับรู้อาการเตือนและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองไม่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัว ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกอาการเตือนและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ พยาบาลควรเน้นย้ำและให้ความรู้อาการเตือนและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอย่างครอบคลุมทุกอาการและอาการแสดงอย่างชัดเจน รวมถึงให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิด ประชาชนที่มีโอกาสพบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการการรักษาในระยะเฉียบพลัน ลดภาวะพึ่งพิงและความพิการหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง | th |
dc.description.abstract | The research is warning symptoms, risk factors, and functional recovery in stroke patients this cross-sectional study to describe the relationship between stroke warning symptoms, risk factors and functional recovery in stroke patients. The subjects, purposively sampled, were 139 patients who were disgnosed with stroke and follow-up treatment at the outpatient department of a tertiary hospital in Bangkok. Data were collected using 1) personal demographic questionnaire, 2) perception of stroke warning symptoms and risk factors questionnaires, and 3) Functional recovery form. The data were analyzed using Descriptive Statistics and Spearman's Rho correlation. The results shown that 44% of the patients known about stroke warning symptoms were good but only 11.5% identified all correctly stroke warning symptoms. Trouble speaking and unilateral paralysis or weakness sudden was commonly recognized. 53.9% of the patients known about risk factors were good but only 23% identified all correctly risk factors of stroke. Hypertension was commonly recognized. Functional recovery was good (mean=15.31, SD=5.21) that assessment by Barthel ADL index but IADL was poor (mean=6.15, SD=3.01) that assessment by Chula Index, Age, clinical characteristics and sources of information were significantly assoicated with the perceived stroke warning symptoms. Education, time to arrival hospitcal and sources of information were significantly associated with the perceived risk factors of stroke. However, perception of stroke warning symptoms and risk factors were not significantly associated with functional recovery. This suggestion for this study found that almost patients were not to report the most important and able to recognize correctly warning symptoms and risk factors of stroke. Nurses should emphasize education programs multi-faceted to encourage patients access to acute care for reduce dependency and disability after stroke. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2556 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | th |
dc.subject | Cerebrovascular disease | th |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | th |
dc.subject | Rehabilitation | th |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อาการเตือน ปัจจัยเสื่ยง และการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง | th |
dc.title.alternative | Relationships among Warning Symptoms, Risk Factors, and Functional Recovery of Stroke Patients | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Nursing - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patoomthip-Adunwatanasiri.pdf | 7.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.