Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอภิญญา สุวรรณภัณฑ์-
dc.contributor.authorApinya Suwannapun-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-02-11T14:29:14Z-
dc.date.available2023-02-11T14:29:14Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1140-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง "ทัศนะของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมต่อการศึกษาสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณีนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ" มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนะของนักศึกษาต่อการศึกษาสังคมสงเคราะห์ ความพร้อมของนักศึกษาในการออกไปปฏิบัติงานวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และเพื่อสัมฤทธิ์ของหลักสูตรในประเด็นความคิดต่อหลักสูตร ทัศนคติต่อวิชาชีพ และแนวทางการทำงานภายหลังการจบหลักสูตร โดยศึกษาจากประชากร 1 กลุ่ม คือ นักศึกษารุ่นที่ 1 มีจำนวนทั้งหมด 47 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและสถิติที่่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความ คือ การใช้มาตรวัดแบบ Rating Scale ตามวิธีการของ Likert โดยมีระดับการวัด 5 ระดับ การหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า หลักสูตรสังคมสงเคราะหบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กำหนดให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตร จำนวน 139 หน่วยกิต ประกอบด้วย 1) หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีจำนวน 34 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ มีจำนวน 96 หน่วยกิต ประกอบด้วย วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 18 หน่วยกิต วิชาแกน ประกอบด้วย วิชาบังคับภาคทฤษฎี 45 หน่วยกิต วิชาบังคับภาคปฏิบัติ 21 หน่วยกิต วิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต (ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ 4 กลุ่มคือ) กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทั่วไป กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในอุตสาหกรรม 3) หมวดวิชาเลือกเสรี มีจำนวน 9 หน่วยกิต ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิชาในสาขาสังคมสงเคราะห์ โดยแบ่งประเด็นความคิดเห็นเป็น 4 ส่วนย่อยคือ ส่วนที่ 1 ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับจากหมวดวิชาต่างๆ พบว่า วิชาพื้นฐานวิชาชีพ วิชาทีได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ วิชา SW 2013 จริยธรรมทางวิชาชีพ รองลงมาคือวิชา SS2152 พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของมนุษย์ และวิชา HU1232 จิตวิทยาทั่วไป วิชาแกน ประกอบด้วยวิชาบังคับภาคทฤษฎี วิชาบังคับภาคปฏิบัติ และวิชาเฉพาะด้านปรากฏว่า วิชาบังคับภาคทฤษฎี วิชาที่ได้รับประโยชขน์มากที่สุด คือ วิชา SW3233 หลักการให้คำปรึกษา รองลงมาคือวิชา SW2163 สังคมสงเคราะห์เบื้องต้น และวิชา SW2183 หลักและวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ วิชาบังคับภาคปฏิบัติ วิชาที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ วิชา SW4339 การฝึกภาคปฏิบัติ 3 รองลงมาคือ วิชา SW3316 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 และวิชา SW3326 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 วิชาเฉพาะด้าน ในรุ่นนี้ ได้เปิดการสอนเพียง 3 กลุ่มวิชา และลำดับวิชาที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในแต่ละกลุ่มวิชา มีดังนี้ กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ทั่วไป คือ วิชา SW4463 การเขียนวิเคราะห์และเสนอโครงการ กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ คือ วิชา SW4533 เทคนิคการสงเคราะห์ผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงทางสังคม กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในอุตสาหกรรม คือ วิชา SW4723 ระบบความมั่นคงทางสังคม หมวดวิชาเลือกเสรี วิชาที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ วิชา SW3863 การประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือ วิชา SW3843 พลวัตรกลุ่ม และวิชา SW3813 สวัสดิการครอบครัวและเด็ก ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของหลักสูตรในภาคทฤษฎี นักศึกษาเห็นว่าเนื้อหาหลักสูตรในภาคทฤษฎีเหมาะสม สามารถนำไปปรับใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ต่อไปในอนาคต ซึ่่งรายวิชาที่เห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด คือ วิชา SW2183 หลักและวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ รองลงมาคือ วิชา SW3233 หลักการให้คำปรึกษา และวิชา HU1232 จิตวิทยาทั่วไป นอกจากนี้ นักศึกษาเห็นว่า ควรมีการปรับปรุง เสริม หรือ สอดแทรกรายวิชาเกี่ยวกับการนำกลุ่ม กิจกรรมและสันทนาการกลุ่ม ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษทางสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของหลักสูตรในภาคปฏิบัติ ในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ได้กำหนดให้วิชาบังคับภาคปฏิบัติมีจำนวน 3 วิชาตลอดหลักสูตร คือ วิชา SW3316 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 วิชา SW3326 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 และวิชา SW4339 การฝึกภาคปฏิบัติ 3 และนักศึกษามีความคิดเห็นต่อรายวิชาการฝึกภาคปฏิบัติ ดังนี้ การฝึกภาคปฏิบัติ 1 มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการฝึกภาคปฏิบัติที่เริ่มจากงานสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย เป็นการปูพื้นฐานในการฝึกภาคปฏิบัติต่อไป การฝึกภาคปฏิบัติ 2 มีความเหมาะสม เนื่องจาก สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาจากภาคทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาหลัก และวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชนมาประยุกต์ใช้และฝึกปฏิบัติจริง การฝึกภาคปฏิบัติ 3 มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการฝึกตามความสนใจเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกปฏิบัติงานกับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ สำหรับปัญหาในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา ที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาการเขียน วิเคราะห์รายงาน รองลงมาคือ ปัญหาการคมนาคม และปัญหาด้านการเงิน นอกจากนี้ นักศึกษาได้เสนอให้มีการจัดฝึกภาคปฏิบัติแบบต่อเนื่อง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติงาน การให้บริการ การให้ความช่วยเหลือ ในงานสังคมสงเคราะห์อย่างเต็มที่ ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นต่อการปรับปรุงหลักสูตร ภาคทฤษฎี ส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมดี หากมีการปรับปรุงในรายวิชา ควรให้สอดคล้องกับปัญหาสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรเน้นที่คุณภาพ เนื้อหาสาระ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป ภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมดี หากมีการปรับปรุง ควรกำหนดหน่วยงานที่จัดให้นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติมีมากกว่านี้ ควรจัดช่วงเวลาการฝึกแบบต่อเนื่อง และควรมีข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ ด้วย สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พบว่าเหตุผลที่นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม คือ เป็นวิชาชีพที่น่าสนใจเหมาะสมกับตนเอง และเป็นวิชาชีพที่ได้บุญกุศล มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ นอกจากนี้ นักศึกษาเห็นว่าวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เป็นวิชาชีพที่ต้องเสียสละอดทนตระหนักต่อปัญหาสังคม เป็นวิชาชีพที่ต้องมีจิตสำนึก และเป็นงานที่ท้าทาย มีประโยชน์มากในสภาวะการณ์สังคมปัจจุบัน ดังนั้น โดยภารรวมเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ควรมีพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เนื่องจากการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ จะต้องเน้นหลักการ วิธีการ เทคนิคต่าง ๆ เป็นสำคัญ มิใช่เป็นการฝึกปฏิบัติงานที่ใช้เพียงสามัญสำนึกเท่านั้น และจากการศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังในการศึกษาต่อ และการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ พบว่า นักศึกษารุ่นแรกคาดหวังว่าจะเลือกทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ โดยให้เหตุผลว่าได้ทำงานตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา คาดว่าจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง มีความรัก สนใจงานด้านนี้ และคาดหวังว่าจะทำงานในภาครัฐ เนื่องจากมีความมั่นคง มีระบบสวัสดิการ มีการทำงานเป็นระบบขั้นตอน สำหรับนักศึกษาที่ไม่เลือกทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ให้เหตุผลว่าประสงค์จะหาประสบการณ์ในวิชาชีพอื่นๆ เพิ่มเติม จากผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารายวิชา และหลักสูตรสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2533 ดังนี้ 1. ควรมีการปรับรายวิชาที่ซ้ำซ้อน 2. ควรจัดให้มีวิชาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ 3. ควรจัดให้มีอาจารย์ภายใน (อาจารย์ประจำในคณะ) เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณนักศึกษา 4. การจัดฝึกภาคปฏิบัติ ควรเป็นลักษณะแบบต่อเนื่อง 5. การจัดสรรหน่วยงานการฝึกภาคปฏิบัติ ควรมีการศึกษาหน่วยงานให้ชัดเจนและมีเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ 6. การฝึกภาคปฎิบัติ 1 ควรเป็นหน่วยงานที่ให้บริการระดับบุคคลและกลุ่มชน การฝึกภาคปฏิบัติ 25 ควรมีให้เลือกทั้งชุมชนเมือง และชุมชนชนบท การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ควรเป็นหน่วยงานที่นักศึกษาสนใจจริงๆth
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะส้งคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม -- นักศึกษาth
dc.subjectHuachiew Challermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare -- Studentsth
dc.subjectสังคมสงเคราะห์th
dc.subjectSocial welfareth
dc.titleทัศนะของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมต่อการศึกษาสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณีนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya-Suwannapun.pdf69.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.