Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล-
dc.contributor.authorพวงชมพู โจนส์-
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ จักษ์เมธา-
dc.contributor.authorสุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์-
dc.contributor.authorสุภลักษณ์ ตรรกสกุลวิทย์-
dc.contributor.authorPuangchompoo Jones-
dc.contributor.authorSupispan Watjanatapin-
dc.contributor.authorPenn Chayavivatkul-
dc.contributor.authorWorasith Jackmetha-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administrationth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2023-02-12T03:18:20Z-
dc.date.available2023-02-12T03:18:20Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1145-
dc.description.abstractงานวิจัยสำหรับการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินี้ เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพมากขึ้น บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่่ ต้องมีการปรับปรุงส่วนใด และปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้ประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตที่สอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และผู้ใช้มหาบัณฑิต เนื่องจากว่ากลุ่มประชากรมีขนาดไม่มากนัก จึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้จากการจัดทำแบบสอบถามซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการคณะบริหารธุรกิจ และจากการเก็บข้อมูลได้ ซึ่งมีอัตราการตอบกลับต่ำ จึงใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 93 ชุด ได้รับตอบกลับมา 13 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19.98 โดยอาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทและส่วนมากจบการศึกษาในสาขาบริหารจัการ รองลงมาคือสาขาการตลาดและการเงิน ในด้านตำแหน่งวิชาการพบว่ามีตำแหน่งรองศาสตราจารย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.5 ประสบการณ์สอน 7 ถึง 10 ปี ร้อยละ 46.2 สำหรับข้อมูบในเชิงความเห็น อาจารย์ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หลักสูตรการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันดีแล้ว และมีความเห็นว่าคณะมีแผนการบริหารหลักสูตรที่ไม่ชัดเจน ความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมการสอน คุณลักษณะของผู้สอนในประเด็นต่างๆ อยู่ในเกณฑ์มากและมากที่สุด ยกเว้นการอบรมสั่งสอนศีลธรรม สำหรับรูปแบบการสอน ผู้ตอบแบบสอบถามมักใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย แบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ แบบบรรยายเชิงอภิปราย แบบสัมมนา และแบบโครงการ เรียบตามลำดับจากความนิยมสูงสุดไปความนิยมต่ำสุด ผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากนักศึกษา คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 122 ชุด ได้รับตอบกลับมา 74 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.66 จากข้อมูลพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้มีงานทำ และทำงานในหน่วยงานเอกชน อีกทั้งนักศึกษาส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ รองลงมาคือกรุงเทพมหานคร สรุปความเห็นของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหลักสูตรนี้มีความเหมาะสมแล้ว ยกเว้นประเด็นการเปิดกว้างของหลักสูตรที่นักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุดและนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากระดับปริญญาตรีน้อย (คิดเป็นร้อยละ 60.7) ในด้านของรายวิชาที่มีวิธีการสอนดี 3 อันดับแรกได้แก่ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบัญชีเพื่อการจัดการและหลักเศรษฐศาสตร์ และรายวิชาที่ควรปรับปรุงการสอน ได้แก่ ระเบียบวิจัยทางธุรกิจ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้นักศึกษาได้แสดงความเห็นว่า ควรมีการเน้นวิชาเกี่ยวกับการบริหารให้มากขึ้น และควรจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเน้นให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ และความเห็นในด้านการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วในทุกด้าน ยกเว้นเรื่องการจัดกิจกรรมดูงานและจำนวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลมหาบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 187 ชุด ได้รับตอบกกลับมา 35 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.72 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการตามลำดับ โดยมหาบัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ยสะสมอยู่ในช่วง 3.26-3.50 คิดเป็นร้อยละ 42.9 ในเชิงสถานภาพการทำงาน พบว่า มหาบัณฑิตมีงานทำ คิดเป็นร้อยละ 97.1 และส่วนมากทำงานในหน่วยงานเอกชน และมักทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหาระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 31.5 เท่ากัน โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาพบว่า ได้รับการเลื่อนตำแหน่งร้อยละ 2.9 ได้รับเงินเดือนเพิ่มและได้เลื่อนตำแหน่ง ร้อยละ 22.9 ได้รับเงินเดือนเพิ่มอย่างเดียว ร้อยละ 25.6 นอกนั้นไม่ได้การปรับเงินเดือนและตำแหน่งร้อยละ 45.7 ในเชิงความเห็นของมหาบัณฑิต ส่วนใหญ่เห็นว่า แต่ละรายวิชามีการเรียนการสอนที่เหมาะสมแล้ว รวมทั้งหลักสูตรก็มีความเหมาะสมแล้วเช่นกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามชอบการเรียนแบบร่วมมือมากกว่าการเรียนแบบอิสระ อีกทั้งยังเห็นว่าการเรียนแบบร่วมมือทำให้ประสบความสำเร็จมากกวาวิธีการเรียนแบบอิสระและแบบแข่งขัน และเห็นว่าระดับความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎี ความรู้ด้านบัญชี ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลางและมาก ในด้านคุณลักษณะพิเศษที่ผู้มีส่วนเสิรมการปฏิบัติงานนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีความสำคัญในระดับมาาก ยกเว้นด้านความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสำคัญในระดับมากที่สุดในด้านของผู้ตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง เห็นว่าคุณลักษณะในประเด็นต่างๆ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลผู้ใช้มหาบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 178 ชุด ได้รับตอบกลับมา 10 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.62 ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าแผนกและเกี่ยวข้องกับบัณฑิตโดยเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่เลือกรับมหาบัณฑิตเข้าทำงาน 3 อันดับแรก คือ สาขาวิชาที่จบมาตรงกับลักษณะงาน ผลการสอบสัมภาษณ์ และบุคลิกภาพ ในการประเมินศักยภาพในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของมหาบัณฑิตพบว่า มีศักยภาพการทำงานมาก โดยมีความสามารถในการประสานงาน การศึกษาความรู้เพิ่มเติม การแก้ปัญหาและการใช้คอมพิวเตอร์มีมาก (จากการเรียงลำดับ 4 ลำดับแรก) แต่ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ มีน้อย ส่วนคุณลักษณะเสริมในการปฎิบัติงานมีศักยภาพมาก โดยมีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว ความกล้าในการแสดงความเห็น และความเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมงานมีมาก (จากการเรียงลำดับ 4 ลำดับแรก) และเมื่อเปรียบเทียบศักยภาพกับมหาบัณฑิตจากสถาบันอื่นๆ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า มีศักยภาพการทำงานที่เท่ากัน และเสนอความเห็นให้ปรับปรุงความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ และความกล้าในการแสดงออก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากกลุ่มประชากรทั้ง 4 กลุ่มพบว่า หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตนี้มีความเหมาะสมในทุกๆ ด้าน หากแต่ยังต้องปรับปรุงในบางประเด็นเพื่อให้การผลิตมหาบัณฑิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2541th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration -- Curriculumth
dc.subjectการประเมินหลักสูตรth
dc.subjectCurriculum evaluationth
dc.subjectการบริหารธุรกิจ -- หลักสูตรth
dc.subjectIndustrail manangement -- Curriculath
dc.titleการศึกษาวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeA Study on an MBA Curriculum Evaluation, Academic Year 1998, Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pen-Chayawiwatkul.pdf119.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.