Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1183
Title: การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากกลยุทธ์ทางเทคนิคของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Comparative Analysis of Returns from Different Technical Strategies of Investment in the Stock Exchange of Thailand
Authors: ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ
Chalitpun Boonmeesuwan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange of Thailand
การลงทุน
Investments
อัตราผลตอบแทน
Rate of return
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากกลยุทธ์ทางเทคนิคของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน โดยใช้เครื่องมือเทคนิคเพื่อมากำหนดเป็นกลยุทธ์การลงทุน เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการทดสอบมี 5 เครื่องมือ คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA 10 วัน ) , เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA 25 วัน) , ดัชนีวัดการแกว่ง (Stochastic Oscillator) , ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index : RSI) และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (MACD) ทําการวิจัยจากตัวอย่างจํานวน 13 หลักทรัพย์ใน SET 50 โดยใช้ช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2554 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ผลของการวิจัยพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค 14-RSI ให้ผลตอบแทนกำไรจากการลงทุนสูงสุดในหลักทรัพย์ทั้ง 13 หลักทรัพย์ โดยหลักทรัพย์บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) AOT มีผลตอบแทนกำไร 14,884,929.32 บาท จากเงินลงทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ 3.22 รองลงมาคือเครื่องมือเทคนิค MACD , Stochastic Oscillator , SMA 25 วัน และ SMA 10 วัน ตามลําดับ ในด้านการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องมือทางเทคนิคที่ให้สัญญาณซื้อขายพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค Stochastic Oscillator , 14- RSI และ MACD สามารถนํามาเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ใน การลงทุนได้ ส่วนเครื่องมือ SMA 10 วัน และ SMA 25 วันไม่สามารถนํามาเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนเนื่องจากระดับความน่าจะเป็นของโอกาสที่เครื่องมือเทคนิคจะให้สัญญาณถูกต้องของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยูในระดับต่ำกว่า 0.50 การวิเคราะห์เครื่องมือทางเทคนิคที่ให้สัดส่วนความถูกต้องของสัญญาณซื้อขายพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค 14- RSI ให้ค่าความน่าจะเป็นของความถูกต้องในการส่งสัญญาณซื้อขายสูงสุด โดยมีค่าอยูระหว่าง 0.57-0.96 รองลงมาคือ Stochastic Oscillator และ MACD ข้อเสนอแนะที่2ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือนักลงทุนระยะสั้นควรเลือกเครื่องมือทางเทคนิค Stochastic Oscillator และ 14- RSI เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน ส่วนนักลงทุนระยะกลางควรเลือกเครื่องมือ MACD เป็ นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
The analysis of returns from various technical strategies of investment in the Stock Exchange of Thailand aims at comparing different levels of investment returns. The five technical instruments contained herein are as follows: 10-day Simple Moving Average (SMA), 25-day SMA, Stochastic Oscillator, Relative Strength Index (RSI), and Moving Average Convergence and Divergence (MACD). The investigated data are collected from 10 securities in SET50 covering the period between 1 January 2013 and 31 December 2015. Stochastic Oscillator and 14-RSI were found to yield profits in all 13 securities and top-ranked by the Airports of Thailand Public Co., Ltd (AOT). It yields a profit of 14,884,929.32 Baht from its initial investment of 1,000,000 Baht with a ratio of return rate per risk at 3.22. MACD was found to yield profits in its ranking, and Stochastic Oscillator, SMA for 25 days, and SMA for 10 days respectively. With regard to efficiency in signalling, Stochastic Oscillator, 14-RSI, and MACD performed well in guiding investment whereas the opposite was the case for both SMA 10 days and SMA 25days. Due to possibility level it will be an opportunity for the technical tool to signal the correctness of the majority sampling groups less than 0.50. When signals from technical instruments were compared with actual movements of stock prices, 14-RSI turned out to be the one with the highest probability of correct signals (0.57-0.96). The second and third best indicators were Stochastic Oscillator and MACD. One implied suggestion from this study is that short-term investors should follow the guidelines from the Stochastic Oscillator and 14-RSI. As for medium-term investors, MACD is likely to be more appropriate.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1183
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalitpun-Boonmeesuwan.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.