Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนกพร นทีธนสมบัติ-
dc.contributor.authorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.authorพรศิริ พันธสี-
dc.contributor.authorอิสรีย์ เหลืองวิลัย-
dc.contributor.authorKanokporn Nateetanasombat-
dc.contributor.authorRachanee Namjuntra-
dc.contributor.authorPornsiri Pantasri-
dc.contributor.authorItsaree Luengwilai-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2023-02-24T09:28:56Z-
dc.date.available2023-02-24T09:28:56Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1197-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จํานวน 227 ราย ประกอบด้วย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จํานวน 110 ราย และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จํานวน 117 ราย) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จํานวน 29 ราย ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เคยเรียนวิชาภาคปฏิบัติกับพยาบาลพี่เลี้ยง จํานวน 7 ราย อาจารย์ประธานรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาล จํานวน 3 ราย พยาบาลพี่เลี้ยง จํานวน 10 ราย พยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ร่วมงานกับพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 ปี จํานวน 4 ราย และหัวหน้าหอผู้ป่วยในแหล่งฝึกปฏิบัติที่มีพยาบาลพี่เลี้ยง จํานวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคําถามสําหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคําถามสําหรับการสนทนากลุ่ม ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.95 การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Mann-Whitney U test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่าคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงในด้านคุณลักษณะความเป็นครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.48, S.D. = 0.494) และด้านการดําเนินการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง พบว่าเกือบทั้งหมดมีคุณภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ( x̄ = 4.54, S.D.=0.583) รองลงมา คือ นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ และเกิดทักษะจากการฝึกปฏิบัติ ( x̄ = 4.46, S.D. = 0.549) นอกจากนี้พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีคะแนนความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความเป็นครูของพยาบาลพี่เลี้ยง และลักษณะการดําเนินการสอนภาคปฏิบัติโดยรวมแตกต่างกัน (p < .001) ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่ 1 ปัญหาของพยาบาลพี่เลี้ยงในการสอนภาคปฏิบัติซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ ปัญหาของการนิเทศนักศึกษา และปัญหาความรู้ทางทฤษฎีไม่ได้รู้ลึกซึ้งมาก ประเด็นหลักที่ 2 ความต้องการของพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนาการสอน ประกอบด้วย 1 ประเด็นรอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความรู้และประเด็นหลักที่ 3 แนวทางในการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ การได้มาซึ่งพยาบาลพี่เลี้ยง และระบบการเรียนการสอนและการติดตามผลth
dc.description.abstractThis research was a descriptive research, which aimed to study the preceptors’ quality of clinical teaching. The samples of the quantitative research part were 227 nursing students, which consisted of 110 junior nursing students, and 117 senior nursing students. The samples of the qualitative research part were 7junior nursing students who used to study with preceptors, 3 nursing instructors who were head of nursing practice course, 10 preceptors, 4 registered nurses who has worked with preceptors, and 5 head nurses who were in the ward that preceptors have worked. The instrument of the quantitative research was the preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire, whereas the instruments of the qualitativeresearch were in-depth interview guideline, and focus group guideline. These instruments were validated and tested. TheCronbach’s alpha coefficient of preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire was 0.95. For data analysis, the quantitative research part applied frequency, mean, standard deviation, and Mann-Whitney U test, whereas content analysis were used as data analysis in the part of qualitative research. The results found that the overall of the preceptors’ quality of clinical teaching specially on teacher characteristics was high level (x̄ = 4.48, S.D. = 0.494). For the process of the preceptors’ teaching, it was found that almost of the processes were high to highest level of quality, especially on the ability to solve the problem of the nursing students’ during their practices (x̄ = 4.54, S.D. = 0.583). The second high level of quality was the acquiring knowledge, experiences, and skills of nursing students from their practices (x̄ = 4.46, S.D. = 0.549). The comparison between the junior nursing students’ opinions and the senior nursing students’ opinions on the preceptors’ quality of clinical teaching was found that there wereoverall different between the opinions on the characteristics of being a teacher and the process of clinical teaching (p < .001). In qualitative findings, it was found that there were three themes. First theme was the problems of the preceptors in their clinical teaching, which consisted of the problem of supervising students, and the problem of not profound in theoretical knowledge. Second theme was the demand of preceptors in teaching development, which consisted of the demand of knowledge development. Third theme was the direction for preceptorship development to apply their clinical teaching effectively, which consisted of the processes of obtaining preceptors, and the systems of teaching-learning and evaluations.th
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2554th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์th
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.subjectการพยาบาล -- การศึกษาและการสอนth
dc.subjectNursing -- Study and teachingth
dc.subjectพยาบาลพี่เลี้ยงth
dc.subjectMentoring in nursingth
dc.titleการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeClinical Teaching of Preceptors and Direction for Preceptorship Development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokporn-Nateetanasombat.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.