Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1218
Title: รายงานการวิจัย การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2556 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2556 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Evaluation of Nursing Scinece Curriculum in Bachelor' s Degree Program, Revised B.E. 2556 Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: อรพินท์ สีขาว
สุพร พริ้งเพริศ
อิสรีย์ เหลืองวิลัย
พรศิริ พันธสี
พัชรี รัศมีแจ่ม
ชิดชนก สิทธารถศักดิ์
สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง
นพนัฐ จำปาเทศ
เจตจรรยา บุญญกูล
จุฬาวรรณ จิตดอน
สิทธิศักดิ์ เครือพิมาย
Orapin Sikaow
Suporn Pringpurd
Itsaree Luengwilai
Pornsiri Pantasri
Patcharee Rasamejam
Chidchanok Sittaratasak
Suwanee Mongkhonrungreang
Nopphanath Chumpathat
Jatjunya Bunyakul
Jurawan Jitdorn
Sittisak Kreupimy
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
พยาบาลศาสตร์ -- หลักสูตร
Nursing -- Curricula
พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Nursing -- Study and teaching
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2556 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองชิปป์ (CIPP Model) เพื่อประเมินหลักสูตร 4 ด้าน คือ (1) ด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และสื่อการเรียนการสอน (3) ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การบริหารหลักสูตร และ (4) ด้านผลผลิต ได้แก่ คุณลักษณะของบัณฑิตตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ประชากรที่ศึกษา มี 4 กลุ่ม คือ (1) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 90.54 (2) อาจารย์ผู้สอนจำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 60.00 (3) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 91.97 และ (4) ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 63.50 เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 4 ฉบั สำหรับตัวอย่างที่ 4 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทของหลักสูตรพบว่า วัตถุประสงคืสามารถพัฒนาผู้เรียน สอดคลัองกับเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ และนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 2) ด้านโครงสร้างพบว่า จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาเลือกเสรี มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.92 และเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มวิชา มีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 4.11 ถึง 4.43 3) ด้านปัจจัยป้อนเข้าด้านอาจารย์ และนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31, 4.36 ตามลำดับ 4) ด้านประเมินปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีความเพียงพอ มีคุณภาพ มีความทันสมัยและสะดวกในการใช้บริการ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91, 3.87, 3.91 และ 3.81 ตามลำดับ 5) ด้านกระบวนการของหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมาก 4.16 โดยด้านการบริหารและการบริการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 การเตรียมการสอนของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 เทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์หลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 6) ด้านผลผลิตของหลักสูตร พบว่า ผู้บังคับบัญชาประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลาและความรับผิดชอบ ด้านการวิเคราะห์ตัวเลขการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ด้านอัตลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (4.22, 4.01, 3.78, 4.24 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้วิชาชีพ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (3.61, 3.66. 3.62 ตามลำดับ)
This research aimed to evaluate the nursing science curriculum in bachelor's degree program, revised B.E. 2556, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University. The CIPP Model was applied as the evaluate model composed 4 dimension: 1) the curriculum context about objectives, struture, and content; 2) the curriculum input which were students, teachers, and medias; 3) the curriculum process which were learning activities, measurement and evaluation, and administration; and 4) the curriculum output which was the quality of the graduate nurses. The 4 groups of samples were 134 of forth year student (90.54%), 12 of teachers (60.00%), 126 of graduate (91.97%), and 87 of employees (63.50%). The research instruments consisted of 4 questionnaires for 4 groups of samples. The data were analyzed by using percentage, arithmetic means and standard deviation. The research results revealed as follows: 1) The context evaluation indicated that corresponded to the develop the learner, actually implementation and corresponded to the uniqueness of nursing professional at the high level. (x̄=4.40) 2). The total number of credits of the curriculum structure were moderately appropriated. The general education, specific education, elective course. (x̄=3.92) and the contents of all subjects were highly appropriate. (x̄=4.11-4.43) 3) Input evaluation related to nursing instructors and students showed substantially appropriated (x̄=4.31, 4.36 respectively) 4) Inout evaluation related to factors conductive to teaching in terms of sufficient, quality, modern and easy to use were appropriated. (x̄=3.91, 3.87, 3.91 and 3.81 respectivelu). 5) Process evaluation were highly appropriated (x̄=4.16) in term of the curriculum administration and service, teaching and learning management, teaching preparation, techniques and teaching methods of instructors and evaluated of learning outcomes. (x̄=4.13, 4.16, 4.18, 4.19, 4.03 respectively) 6) Productivity of the curriculum (graduates): The supervisors assessed the ability of graduated at high level of performance. (x̄=4.02). The mean scores of ethical and moral behavior, interpersonal skills and responsibility, analytical and communication skills, technology skills and identities of Huachiew Chalermprakiet nursing students were high. (x̄=4.22, 4.01, 3.78, 4.24 respectively). The mean scores of professional knowledge, cognitive skills and practical skills were moderate. (x̄=3.61, 3.66, 3.62 respectively).
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1218
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin-Sikaow.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.