Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1274
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิรินันท์ จันทร์หนัก | - |
dc.contributor.author | ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ | - |
dc.contributor.author | Sirinant Channak | - |
dc.contributor.author | Yingluk Wirunratanakij | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy | - |
dc.date.accessioned | 2023-03-19T05:09:59Z | - |
dc.date.available | 2023-03-19T05:09:59Z | - |
dc.date.issued | 2017 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1274 | - |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย: อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และพบในกลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยลงมากยิ่งขึ้น เช่น นักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่มของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่จะมีหน้าที่ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูปัญหาทางสุขภาพในอนาคต วัตถุประสงค์: ศึกษาลักษณะการทรงท่าและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังกับอาการปวด ในนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการศึกษาในนักศึกษาคณะกายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ปีการศึกษา 2558) จำนวน 114 คน ตรวจประเมินร่างกายทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยแบบสอบถามระดับความเจ็บปวด (visual analog scale; VAS) ในร่างกาาย 3 ตำแหน่ง (คอ หลังส่วนบน และหลังส่วนล่าง) การตรวจลักษณะการทรงท่า (postural analysis) ด้วย postural analysis grid chart และลูกดิ่ง และการตรวจวัดช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูสันหลังส่วนคอ หลังส่วนบน และหลังส่วนล่าง (spine range of motion) ด้วย double inclinometer/สายวัด ผลการศึกษา: นักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ในกลุ่มนักศึกษาที่มีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังพบวว่า มีอาการปวดคอ (44.7% และอาการปวดคอเฉลี่ย 3.34) ปวดหลังส่วนล่าง (26.32% และอาการปวดหลังส่วนล่างเฉลี่ย 4.37) และปวดหลังส่วนบน (23.68% และอาการปวดหลังส่วนล่างเฉลี่ย 3.81) ตามลำดับ องศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง พบว่ามีการจำกัดการเคลื่อนไหวขององศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนคอในทุกทิศทาง มีการจำกัดการเคลื่อนไหวขององศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบนทุกทิศทางยกเว้นในทิศ thoracic right rotation (23.11+-9.45) อยู่ในเกณฑ์ปกติ และองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนล่างโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในทุกทิศทางการเคลื่อนไหว นอกจากนั้ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลังกับองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในทุกทิศทาง (P>0.05) การตรวจประเมินท่าทางของนักศีกษากายกาพบำบัดโดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของ correct posture ได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวม 81.67 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ (no impairmenrt) สรุปผลการวิจัย: นักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติไม่มีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและท่าทางโดยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ในกลุ่มนักศึกษาที่มีอาการปวดพบว่า มีอาการปวดคอ ปวดหลังส่วนล่าง และปวดหลังส่วนบน ตามลำดับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลังกับองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในทุกทิศทาง | th |
dc.description.abstract | Introduction: Spinal pain are the most common problem especially the student of health sciences which is responsible for promoting the prevention, treatment and rehabilitation of health problems in the future. Objectives: First, to examine the prevalence of postural analysis and spine pain. Second to identify relationships between objectively measures (spine range of motion) and subjectively pain sored in the first year physical therapy students. Methods: One hundred and fourteen, first year physical therapy students were subjectively evaluated pain scored in neck thoracic and lower back by visual analog scale (VAS), postural analysis by postural analysis grid chart and pump line. They were objectively assessed spine range of motion by double inclinometer and tape measurement. Results: The almost first year physical therapy students were without neck, thoracic and lower back pain. This study found that the most prevalence of musculoskeletal pain were on neck pain 44.74% most common among student, low back pain 26.32% and thoracic pain 23.68% respectively. The spine range of motion were limited in neck and thoracic movement but low movement was normal. However, neck, thoracic and lower back pain were not correlated with spine range of motion in all directions (P>0.05). The postural analysis of students almost were correct posture (average scored 81.67=no impairment). Conclusion: The almost first year physical therapy students were without spine pain and normal posture. Neck pain is the most common, low back pain and thoracic pain respectively. However, spine pain were not correlated with spine range of motion in all directions. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2558 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะภายภาพบำบัด -- นักศึกษา | th |
dc.subject | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy -- Students | th |
dc.subject | กระดูกสันหลัง | th |
dc.subject | Spine | th |
dc.subject | ปวดหลัง | th |
dc.subject | Backache | th |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | th |
dc.subject | Rehabilitation | th |
dc.subject | การเคลื่อนไหวของมนุษย์ | th |
dc.subject | Human mechanics | th |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและอาการปวดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในนักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | Correlation between Range of Motion of Spine and Musculoskeletal Pain among First Year Physical Therapy Students, Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Physical Therapy - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirinant-Channak.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.