Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1284
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอารีนา เลิศแสนพร-
dc.contributor.authorAreena Lertsaenporn-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfareth
dc.date.accessioned2023-03-20T15:47:33Z-
dc.date.available2023-03-20T15:47:33Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1284-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยเรื่อง "ปัจจัยต่อความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546" เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาให้ทราบวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (2) เพื่อศึกษาถึงระดับคุณธรรม จริยธรรมของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (3) เพื่อศึกษาถึงระดับความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (4) เพื่อศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ และการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างงในการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานการคุ้มครองสวัสดภาพเด็กและเยาวชน ที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จำนวน 444 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์พหุถดถอย (Multiple Regression) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน จำนวน 12 คน ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2554-พฤษภาคม 2555 ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีความเห็นต่อระดับความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ของผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด จำแนกและเรียงลำดับ ดังนี้ (1) ด้านพฤติกรรมที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ (2) ด้านความรู้และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ (3) ด้านทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ 2) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีความเห็นต่อปัจจัยด้านคุณธรรม และจริยธรรม อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ จำแนกและเรียงลำดับดังนี้ (1) ด้านการส่งเสริมความประพฤติเด็กและเยาวชน (2) ด้านการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน (3) ด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน (4) ด้านการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน 3) ผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 พบว่า ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่มีเพศ อาชีพ และการใช้ พรบ. มีผลต่อระดับความเห็นต่อความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แตกต่างกัน 4) ผลการทดลองสมมุติฐานที่ 2 พบว่า ตัวแปรอิสระคุณธรรม จริยธรรมของผู้ปฏิบัติหน้าที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่สูงสุด ระดับคุณธรรม จริยธรรม ของผู้ปฏิบัติหน้าที่มีอิทธิพลเชิงบวกกับความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เรียงตามลำดับได้ดังนี้ (1) ด้านทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ (2) ด้านพฤติกรรมที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ และ (3) ด้านความรู้ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลที่น่าสนใจของการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า การใช้ความเมตตาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติกับเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งที่ดี หากผู้ใช้มีแต่ความเมตตาโดยขาดหลักวิชาชีพ หรือไม่มีความเข้าใจต่อเด็กตามพัฒนาการ หรือลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน ผลร้ายอาจเกิดขึ้นกับเด็กเสียเอง ดังนั้น จึงต้องใช้ความเมตตาอย่างพึงระวัง ในบริบทพื้นฐานวัฒนธรรมของคนไทยที่เป็นคนจิตใจเมตตา หากครอบครัว ชุมชน หรือสังคมเข้าใจปัญหาร่วมกัน และยอมรับในการให้โอกาสเด็กต่อการปรับพฤติกรรมเชิงบวกในเด็กด้วย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ก้บเด็กเยาวชนต้องมีคุณธรรมประจำใจ มีความเคร่งครัดต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ ทำงานด้วยความศรัทธาในวิชาชีพ ผลงานออกมาในทางที่ดี สังคมให้การยอมรับ ทั้งนี้ความตระหนักและความรับผิดชอบจากภายในของผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งสำคัญมากกว่ากฎหมาย และนำไปสู่การเคารพกฎหมาย นอกจากนี้การตีความกฎหมายอย่างแม่นยำควรทำควบคู่การสอบข้อเท็จจริง และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับเด็ก ปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานด้านเด็ก และกฎหมายหลายฉบับจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องรู้หลักการ และใช้กฎหมายอย่างแม่นยำ เพราะจะนำไปสู่การเลือกตั้งใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะกับเด็กและเยาวชนในแต่ละกรณี ยิ่งไปกว่านั้น หลักการพื้นฐานในการปฏิบัติต่อเด็ก คือ ต้องค้นหาข้อเท็จจริงประกอบให้มากที่สุด โดยตระหนักในสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน เพื่อน หนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของหลักสิทธิเด็ก และหลักสิทธิมนุษยชน คือ การรับฟังเด็ก เป้าหมายสูงสุด คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีความทันสมัย ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ใช้ได้จริงอย่างแน่นอน ในการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กอย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามปัญหาไม่ได้อยู่ที่การใช้ได้จริงหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กฎหมาย ปัจจุบันการนำกฎหมายไปใช้บังคับยังไม่เป็นไปอย่างก้าวหน้าth
dc.description.abstractThe research "Factor Effecting the Implementation Achievement of Social Services According to Child Protection Law, 2003" is carried out to learn with the following objectives 1) to study the level of knowledge & understanding of the officers in the agencies using Child Protection Law, 2003, 2) to study the level of morals ethics of the officers in agency who used Child Protection Law, 2003, 3) to study the level of the achievement in social services according to Child Protection Law, 2003, 4) to study the factors of the officers in the agencies using Child Proteching Law, 2003 effecting the achievement in social services according to Child Protection Law, 2003. This research method based on both quantitative and qualitative. The questionnaires used in the quantitative tools are composed of theories and concepts concerned. The sampling is 444 officers in agencies who used Child Protection Law, 2003. Data collection is done by mailing questionnaires to the sampling group. Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation are used while Inferential statistics such as t-test, one-way ANOVA, Correlation and Multiple Regression are done. The tools used in qualitative research are in-depth interview of twelev officers in the agencies who concerned child and youth welfare protections during July 2011-May 2012. The results of research were found as follows: (1) It was found that the officers in the agencies who used Child Protection Law, 2003 had opinions about the level of achievement in social services according to Child Protection Law, 2003; ranging orderly from the highest rank as (1) Behaviors' competencies (2) Knowledge and achievement's competencies (3) Attitude's competencies. (2) It was found that the officers in agencies who used Child Protechtion Law, 2003 had opinions in the factors of morals & ethics as the highest and the factors of knowledge & understanding ; raning orderly from the highest rank as (1) to encourage the child and youth behaviors (2) to encourage mutual cooperation for the child and youth protection (3) to encourage the child and youth welfare protection (4) to encourage the child and youth assistance. (3) The result of the first hypothesis test found that the factors of sex, career and the used of Child Protection Law, 2003 affecting the level of achievement in social services according to Child Protection Law, 2003. (4) The result of the second hypothesis test found that the factors of morals & ethics had a highest correlated with Attitude's competencies. The level of morals & ethics of the officers had a positive affecting the level of achievement in social services according to Child Protection Law, 2003 ; ranging from the highest rank as (1) Attitude's competencies (2) Behaviors' competencies and (3) knowledge and achievement's competencies. The interesting results of the qualitative in this research were found that the basic of using kindness is the best proactive in working with child and youth. However, the officers used kindness without professional principles or didn't understand the stage of child development individually; the bad effect might happen in contradictory. Thus, kindness should be used carefully. In the context of Thai cultures, Thai people are well known with kind in mind. Moreover, the family community and society should understand the problems altogether and should also grant the opportunity for positive child behavior adjustment to professional code of ethics, the officers must have virtue in their minds, strict, work with confidence in professional principles. In order to have the best outcome and being socially accepted. More importance than the law are the consciousness and the obligation of the officers which will led to laww respect. Besides, the accurate law interpretation should be done together with fact finding and consideration on child impact as well. Nowadays, law enforcement is the importance tools therefore the officers must have knowledge about the laws concerned accurately which will cause them to select laws as correctly and suitably for particular case of child and youth. Moreover, the basic principles for working with child and youth are fact findings concerning to their environments for example families, communities, schools and peer groups. One of the basic child rights and human rights is to listen to their voices. The ultimate goal is child and youth center. Nowadays, Child Protection Law, 2003 is still up-to-date, suitable for all society environments, and can be used qualifiedly as well as definitely in helping and protecting child welfare. The problems occures are not form the law itself, but from the law enforcement which is still not in advance.th
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2552th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectสิทธิเด็กth
dc.subjectChildren's rightsth
dc.subjectบริการสังคมth
dc.subjectSocial servicesth
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546th
dc.subjectChild Protection Act. B.E. 2546 (2003)th
dc.titleปัจจัยต่อความสำเร็จในการจัดบริการสังคมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546th
dc.title.alternativeFactors Effecting the Implementation Achievement of Social Service according to Child Protection Law, 2003th
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areena-Lertsaenporn.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.