Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1288
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเทอดพงศ์ ศรีสุขพันธุ์-
dc.contributor.authorยิ่งเจริญ คูสกุลรัตน์-
dc.contributor.authorชฎาภรณ์ ประสาทกุล-
dc.contributor.authorปรีชา สมานมิตร-
dc.contributor.authorThirdpong Srisukphun-
dc.contributor.authorYingjarean Khusakulrat-
dc.contributor.authorChadaporn Prasatkul-
dc.contributor.authorPreecha Samanmit-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health-
dc.contributor.otherวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อและแปรรูป-
dc.date.accessioned2023-03-27T09:03:16Z-
dc.date.available2023-03-27T09:03:16Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1288-
dc.descriptionโครงการวิจัยนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อตามยุทธศาสตร์ส่่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการth
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบในการเดินระบบบึงประดิษฐ์ที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบ่อพักน้ำก่อนและหลังการเพาะเลี้ยงของเกษตรกรในการบำบัดน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิด และ 2) เพื่อศึกษาชนิดของพืชน้ำที่เหมาะสมสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบ่อพักน้ำก่อนและหลังการเพาะเลี้ยงของเกษตรกรในการบำบัดน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีลักษณะเหมือนน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิดและใช้ชุดทดลองระดับห้องปฏิบัติการ จำนวน 5 ชุด ปลูกพืชต่างชนิดกัน ประกอบด้วย 1) บัว 2) ธูปฤาษี 3) หญ้าแห้ว 4) พืชผสม และ 5) ชุดควบคุม (ไม่ปลูกพืช) จัดทำจากไฟเบอร์กลาสขนาดกว้าง 0.5 เมตร ยาว 2.0 เมตร ลึก 0.6 เมตร ปลูกพืชด้วยความหนาแน่นเท่ากับ 16 ตัน ต่อตารางเมตร โดยแบ่งเป็นรูปแบบการเดินระบบเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1) เติมน้ำต่อเนื่อง (Continuous) ด้วยอัตราการไหล 50 ลิตร/วัน และ 2) เติมน้ำแบบเป็นกะ (Batch) จะใช้การขังน้ำในชุดทดลอง ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วทุกๆ 6 วัน เป็นระยะเวลา 60 วัน แล้วทำการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัด จากผลการทดลองพบว่า ชุดทดลองที่ปลูกพืชผสมเป็นพืชที่มีความเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้บำบัดน้ำเสียในบ่อเพาะเลี้ยงปลา เนื่องจากให้อัตราการบำบัดสูงที่สุด และเมื่อพิจารณารูปแบบของการเดินระบบ พบว่า กรณีการเดินระบบแบบเติมน้ำต่อเนื่องมีอัตราการบำบัดสูงกว่าการเติมน้ำเป็นกะ สามารถบำบัดน้ำให้ผ่านมาตรฐานในระยะเวลา 6 วัน ส่วนกรณีที่เดินระบบแบบเติมน้ำแบบเป็นกะ ต้องการระยะเวลาในการบำบัด 30 วันth
dc.description.abstractThe objectives of this study were 1) to study appropriate operating conditions of free water surface (FWS) wetland in order to apply for treating pre- and post-pond water used in culture of Snakeskin Gourami and 2) to study types of appropriate water plant in order to apply for treating pre- and post-pond water used in culture of Snakeskin Gourami. This study was an experimental research. The experiment was conducted using five fiberglass tanks with width of 0.5 m, length of 2.0 m and height of 0.6 m. There were three different types of water plant with five designed ponds including 1) Nymphaea nouchali Burm.f., 2) Typha angustifoliaL., 3) Eleocharisdulcis Trin., 4) mixed plants with Nymphaea nouchali Burm.f. Typha angustifoliaL. and Eleocharisdulcis Trin., and 5) without plant (a control pond). Plant density was 16 plants m[superscript -2]. Operating systems of the treatments separated into two conditions including continuous and batch flows. The water sampling was collected every six days for sixty days. The findings of the research were found that: 1) an appropriate operating condition of free water surface (FWS) wetland was a continuous flow. In order to pass criteria of Thailand Standard for Water Quality in Aquaculture, the continuous and batch flow conditions spent 6 and 30 days for the treatments, respectively. 2) The type of appropriate water plant for treating per- and post-pond water used in culture of Snakeskin Gourami was the mixed plants with Nymphaea nouchali Burm.f., Typha angustifoliaL. and Eleocharisdulcis Trin. because of the highest efficiency in the treating.th
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ; สัญญาเลขที่ RDG60A0013-12 และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectบึงประดิษฐ์th
dc.subjectConstructed wetlandsth
dc.subjectปลาสลิด -- การเลี้ยงth
dc.subjectSnakeskin Gouramith
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัดth
dc.subjectSewage -- Purificationth
dc.titleโครงการวิจัย การบัดบัดน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ โดยใช้บึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลท่วมผิวชั้นกรองอย่างอิสระ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์th
dc.title.alternativeTreatment of Pond Water for Culture of Snakeskin Gourami Came from Bang Bo District Using Free Water Surface Constructed Wetlandsth
dc.title.alternativeการบัดบัดน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ โดยใช้บึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลท่วมผิวชั้นกรองอย่างอิสระth
dc.title.alternativeรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการบัดบัดน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อโดยใช้บึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลท่วมผิวชั้นกรองอย่างอิสระth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Terdpong.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.