Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/132
Title: ผลของแอปพลิเคชันตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน
Other Titles: The Effects of a Breast Self-Examination Application Health Believes and Breast Self-Examination in Working Woman
Authors: กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
อรพินท์ สีขาว
Kamonthip Khungtumneum
Orapin Sikaow
จันทรเกษม เทียนทรัพย์
Jankasem Tiensap
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: เต้านม -- มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
เต้านม -- การตรวจ
เต้านม -- มะเร็ง
Breast -- Examination
Self-care, Health
Breast -- Cancer
Breast -- Cancer -- Prevention
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแอปพลิเคชันตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน ที่ทำงานในโรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดแอปพลิเคชันการตรวจเต้านม แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ประโยชน์ในการตรวจเต้านม ด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแบบสอบถามความถูกต้องของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถามระหว่าง .80-1.00 และนำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ .845 .817 .923 .847 .842 และ KR-20 เท่ากับ .743 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-testผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้แอปพลิเคชันตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ประโยชน์ในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และความถูกต้องในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจหลังการใช้แอปพลิเคชันตรวจเต้านมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.22, S.D.=.44)
This present quasi-experimental study aimed at the effects of a breast self-examination application health believes and breast self-examination in working women. Working in Bangna 5 Hospital, Samutprakan Province. The study sample consisted of 30 persons. The tools used in this research were a series of breast self-examination program, on the application. It consists ofa questionnaire on the Perceived susceptibility of breast cancer, perceived of breast cancer severity, perceived of benefits a breast self-examination, perceived self-efficacy of breast self-examination, a satisfaction assessment form using an application and breast self-examination. Passed the content accuracy check from 3 experts. The questionnaires' CVI values were between .80–1.00 and Cronbach's alpha coefficients were .845 .817 .923 .847 .842 and KR-20 .743. The data were analyzed by means, Standard Deviation and Paired t-test statisticsThe results showed that after using the breast self-examination application. The sample had a perceived to risk of breast cancer, Perceived severity of breast cancer perceived of benefits of breast self-exams, perceived self-efficacy of breast self-examination and breast self-examination behavior was significantly increased at <.05 level and the satisfaction after using the breast self-examination application was at the highest level (Mean= 4.22, S.D.=.44)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/132
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JANKASEM-TIENSAP.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.