Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย-
dc.contributor.authorหทัยชนก บัวเจริญ-
dc.contributor.authorชนิกา เจริญจิตต์กุล-
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.authorภัทรียา พันธุ์ทอง-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม-
dc.contributor.authorVanida Durongrittichai-
dc.contributor.authorHathaichanok Buajaroen-
dc.contributor.authorChanika Jaroenkitkul-
dc.contributor.authorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.authorKamonthip Khungtumneum-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2023-04-07T10:31:26Z-
dc.date.available2023-04-07T10:31:26Z-
dc.date.issued2012-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1338-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาความตระหนักรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยระดับบุคคล ครอบครัวและสถาบันการศึกษาที่มีผลกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้สมรรถนะแห่งตน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รูปแบบการวิจัยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จาก 12 คณะวิชาจำนวน 1,464 คน เครื่องมือวิจัยได้รับการรับรองจริยธรรมวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแนวคำถามสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบกว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.2) อายน้อยกว่า 20 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 94.8) รายได้โดยมากอยุ่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท (ร้อยละ 48.5) และร้อยละ 85.4 ระบุว่ารายได้พอใช้ นักศึกษาอาศัยอยู่หอพักนอกมหาวิทยาลัยมากที่สุด (ร้อยละ 52.2) โดยรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาวะสุขภาพตนเอง สมรรถนะแห่งตนและอุปสรรคในการสร้างเสริมสุขภาพระดับปานกลาง มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการสร้างสัมพันธภาพมากทีสุด รองลงมา คือ ด้านการรับประทานอาหารและด้านอัตมโนทัศน์ ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากอาจารย์ระดับปานกลาง ขณะที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนและครอบครัวระดับมาก จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเกิดจากอิทธิพลของ 1) การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง 2) การสนับสนุนทางสังคม 3) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน 4) การรับรู้อุปสรรคในการสร้างเสริมสุขภาพ และ 5) อายุ โดยการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้อุปสรรคในการสร้างเสริมสุขภาพและอายุร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 19.9 รูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจะต้องเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของมิติด้าน 1) การจัดกระบวนการเรียนการสอน 2) การใช้เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง อาขารย์ช่วยนักศึกษา 3) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงต่อการขาดการดูแลสุขภาพ กำหนดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันประสานการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเป็นระยะและต่อเนื่อง 4) การใช้สร้างกระแส การประชาสัมพันธ์และปริมาณของกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 5) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่พร้อมด้วยกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ เวลาและบรรยากาศของการสร้างเสริมสุขภาพ 6) การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเด่นชัดเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและ 7) การส่งเสริมบทบาทของผู้ปกครองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพนักศึกษา มีข้อเสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะวิชา และระดับหน่วยงานสนับสนุนโดยทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย นำรูปแบบและปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากำหนดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสม สร้างแกนนำและต้นแบบของความตระหนักรู้ต่อสุขภาพระดับนักศึกษา ควรต่อยอดการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพหรือศึกษาวิจัยแบบไปข้างหน้า รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบความตระหนักรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างคณะและระหว่างชั้นปีth
dc.description.abstractThe objective researchs were 1) to study self-efficacy and health promoting behavior, 2) to study individual, family, and institute levels affected to health promoting behavior, and 3) to develop the model of self-efficacy for health promoting behavior for students in Huachiew Chalermprakiet University. The research design composed of both quantitative and qualitative studies. The study sample were 1,464 of the second year students from 12 faculties. The instrument certifief from ethic committee and examined by experts was comprised of questionnaire and guideline for focus group. The Cronbach's Alpha coefficient was 0.91. The quantitative data was analyzed by mena, standard deviation, correlation, and multiple regression. The qualitative data was evaluated by content analysis. The resulys showed that most of the respondents were female (66.2%), age less than 20 years (94.8%), income between 5,001-10,00 baht (48.5%), income enough for dailt living (85.4%), live at the dormitory outside the university (52.2%). Many of them perceived their health, their self-efficacy and percevied-barrier in health promoting behavior in moderate level. They had health promoting behavior in the dimension of relationshop, followed by eating habit, and self-concept. They perceived social support from their teachers in moderate level, while they perceived it from their friends and families in high level. Their health promoting behaviors were from the influence of 1) health perception 2) social support 3) self-efficacy 4) perceived health-barrier and 5) age. Most of them explained health promoting behavior 19.9%. The model of self-efficacy development for health promoting behavior should emphasize on participation of stakeholders in several dimensions: 1) educational process 2) self-help group activities students and their friends in the same and different year of study, and teachers 3) defined risk group who lack of health care and appropriate health activities by involvements to collaborate and continually follow health promoting behavioral changes 4) motivating and publicize various activities which inspire students to participate 5) creating university environment full of the interesting activities and instruments in the appropriate times. 6) evidently works of involvements in health motion, and 7) parent participation. The suggestions for this study were the university should determine health promoting policy and activity plans both in short and long term. Also, the health promoting department in university, faculty, and department levels were necessary and should work as health network. The model and predicting factors should be appropriately designed in health promoting activities. The student leaders and models of self-awareness should be enhanced. Last, action research, qualitative research, and prospective research should be employed to explore self-awareness and health promoting behavior in various aspects.th
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคลินิกหัวเฉียวเวชกรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth
dc.subjectHealth promotionth
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- นักศึกษาth
dc.subjectPrivate universities and colleges -- Studentsth
dc.subjectความสามารถในตนเองth
dc.subjectSelf-efficacyth
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสร้างความตระหนักรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนth
dc.title.alternativeThe Model Development of Self-Efficacy for Health Promoting Behavior in Private University Studentth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Table of Contents.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf14.63 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf84.68 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf14.51 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.