Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1361
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นริศรา เกตวัลห์ | - |
dc.contributor.author | วชิรา เจริญจิตร์ | - |
dc.contributor.author | ศนิชา แก้วเสถียร | - |
dc.contributor.author | Narissara Ketawan | - |
dc.contributor.author | Wachira Charoenjit | - |
dc.contributor.author | Sanicha Kawsathien | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-02T12:32:15Z | - |
dc.date.available | 2023-06-02T12:32:15Z | - |
dc.date.issued | 2009 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1361 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2547 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประเมินหลักสูตรใน 5 ด้าน คือ ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ด้านความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างและเนื้อหาสาระในหลักสูตร แนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ผู้เรียน ผู้สอน และสื่อการเรียนการสอน ด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตรในภาพรวมของสาขาวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้นักศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้แก่ สภาพการมีงานทำของบัณฑิต การนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และคุณภาพบัณฑิตตามการรับรู้ของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา และด้านการสังเคราะห์ ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินมีจำนวน 269 คน ได้แก่ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชา ภาษาและวัฒนธรรมไทย ชั้นปีที่ 2-4 ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 84 คน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวน 9 คน และอาจารย์นอกสาขา จำนวน 2 คน จากสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวน 29 คน ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 29 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักศึกษาปัจจุบันจำนวน 84 คน และผู้ปกครองบัณฑิต จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยคำนวณด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านบริบทของหลักสูตร ภาพรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ บัณฑิต นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ในสาขาฯ และอาจารย์นอกสาขาฯ ที่มีต่อวัตถุประสงค์ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2547 พบว่า วัตถุประสงค์ทั้ง 5 ข้อ มีความเหมาะสมมาก โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยมากกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยสำหรับสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และเพื่อให้บัณฑิตได้ใช้ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อทำนุบำรุงและรักษาวัฒนธรรมของชาติ ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ภาพรวมของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกันความสำคัญของปรัชญาหลักสูตร รองลงมา ได้แก่ ความเหมาะสมและครอบคลุมของปรัชญาหลักสูตร โดยเฉพาะบัณฑิต พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยเห็นความสำคัญและความครอบคลุมของปรัชญาหลักสูตรกับสังคมปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความเหมาะสมเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยด้านวิชาการ แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือมีเพียงผู้ปกครองนักศึกษา และผู้ปกครองบัณฑิตส่วนใหญ่เท่านั้นที่เห็นด้วยในระดับปานกลางทุกด้าน รายละเอียดเนื้อหาของแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยประเมินรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยรวมว่า มีความเหมาะสมแล้ว โครงสร้างของหลักสูตร จากการเปรียบเทียบโครงสร้างของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พุทธศักราช 2542 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดคือไม่น้อยกว่า 120 และไม่เกิน 150 และจากการวิเคราะห์แบบสอบถามตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ บัณฑิต นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาภาษาและวัฒนธรรมไทยประเมินภาพรวมของโครงสร้างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก และปานกลาง เนื้อหาของหลักสูตร นักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิตประเมินเนื้อหาของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะทางภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน หรือด้านความคิด ปรัชญา ตลอดจนวัฒนธรรมไทยที่แฝงอยู่ในวรรณคดี สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมของนักศึกษาปัจจุบัน และบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่าระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แต่น่าสังเกตได้ว่า วารสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในศูนย์บรรณสารอยู่ในระดับน้อยที่สุด ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้เรียน การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้เรียน การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้เรียนในภาพรวมของนักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่าความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง-มาก ไม่ว่าจะเป็นขาดการวางแผนในการเรียน การไม่ให้ความสำคัญกับหลักสูตร การไม่ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ประจำรายวิชา ผูู้เรียนขาดความพร้อมในการเรียน ขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ แต่เมื่อพิจารณาแยกรายการพบว่าผู้เรียนขาดการวางแผนในการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคในฐานะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในฐานะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ในภาพรวมของอาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่าความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย-ปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาแต่ละรายการพบว่าแทบทุกรายการมีค่าเฉลี่ย ปานกลาง ยกเว้นหัวข้อประสบปัญหาในการลงทะเบียนเรียนเป็นประจำนั้น พบความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย-มาก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้สอน การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัวฒนธรรมไทยเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้สอน ในภาพรวมของนักศึกษา บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้สอนอยู่ในระดับน้อยทุกข้อ ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร การบริหารจัดการทั่วไป การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการบริหารจัดการในด้านที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและผู้สอน ในภาพรวมของนักศึกษา บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่าความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจำนวนห้องเรียนมีไม่เพียงพอ มีการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนบ่อยครั้ง ตำราและวารสารที่เกี่ยวข้องที่ศูนย์บรรณสารมีจำนวนไม่เพียงพอ นักศึกษาไม่ได้รับความสะดวกในการลงทะเบียน จำนวนนักศึกษาในบางชั้นเรียนมีมากเกินไป เป็นตัน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมของนักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับที่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละเทอมเป็นไปตามแผนการศึกษาแต่ละชั้นปี อาจารย์ที่สอนแต่ละวิชามีความเหมาะสม การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดียิ่งขึ้น บรรยากาศในการเรียนการสอนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และทำให้นักศึกษาเกิดความสามารถในการสร้างความรู้ใหม่จากเนื้อหาที่เรียน อีกทั้งการเรียนการสอน อาจารย์แต่ละคนยังได้สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมที่นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อีกด้วย การวัดและประเมิานผล นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยและอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มีความเห็นด้วยมากกับความเหมาะสมของการวัดและประเมินผลการสอนในแต่ละรายวิชา กิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย และอาจารย์นอกสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มีความเห็นด้วยมากกับความเหมาะสมของกิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษา เช่น การพูด การจำลองสอบสัมภาษณ์นักศึกษาเพื่อสมัครงาน เป็นต้น ด้านผลของการใช้หลักสูตร บัณฑิตเห็นว่า มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนมีส่วนเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถเชิงสังเคราะห์ คือ มีความสามารถในการสร้างความรู้ใหม่ จากเนื้อหาหรือทฤษฎีที่เรียน รองลงมาคือ ความสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน นายจ้างของบัณฑิตประเมินความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติว่ามีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโลกทัศน์กว้างขวาง ทันสมัย ก้าวทันโลก และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรม จริยธรรม เหตุผลและมีสติรู้จักผิดชอบชั่วดี และการมีน้ำใจนักกีฬา เอื้ออาทรต่อสังคมมีค่าเฉลี่ยมาก แต่การใช้ความรู้ด้านภาษาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาและบัณฑิต มีความคิดเห็นว่า ควรเพิ่มรายวิชาที่เน้นหนักด้านวิชาการ และมีความทันสมัย อีกทั้งควรได้ฝึกงานในสถานประกอบการอีกด้วย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ความต้องการให้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มีความสามารถพิเศษ ในภาพรวมของผู้บังคับบัญชาบัณฑิต พบว่าต้องการให้นักศึกษามีความสามารถในการจดบันทึกข้อมูลมากที่สุด ส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ภาษาจีนพบว่าผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ มีความต้องการน้อยที่สุด ส่วนเรื่องการแต่งกาย ความรู้ในหน้าที่การงาน การมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และการยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับปานกลาง แต่ส่วนอื่นๆ เช่น ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน การวางตัวกับคนในหน่วงาน การให้บริการผู้มาติดต่อ กริยามารยาท ความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน การใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร การควบคุมอารมณ์ การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า อยู่ในระดับเหมาะสม | th |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's cuniculum for Bachelor's Degree in the Faculty ofLiberal Arts, Thai Language and Culture Major (2004). The model modified from the five aspects ofthe CIPP Model, including the apply of context, input, process, product and management process was applied. The research subjects consisted of 84 Thai Language and Culture major students in the second-year, third-year and fourth-year groups who enrolled in the lst and 2ndsemester of the 2008 academic year, 9 Thai Language and Culture instructors, 2 Humanities and Social Science instructors, 29 graduates, 29 employers of graduates, 3 experts, 84 parents of students and 29 parents of graduates. SPSS Package was employed to analyzed collected data. Statistical tools which were used for this research included Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. The result of this research were as follows: Context: result indicated that the 5 objectives of the curriculum were at a high level.The Primary Factors: They are divided into the overall curriculum, details of each course in the curriculum, the structure of the curriculum and the content of the curriculum. These four elements were found by most of the subjects and they agreed that they're suitable. Regarding to the equipment used in classes, the majority of the focus group found that rhey are in a satisfactory level. For obstacles arose fiom leamers, it was found that instructors in Thai language and culture perceived as medium to high in particularly when students lack ofpreparation. For problems and obstacles as an advisor, the appropriateness is ranging from low to medium. And the problems and obstacles Aom the lecturers, all focus groups think it is the least problematic. Process: It was found that the curriculum service and management were at a fair level. The teaching-learning management, measuring and evaluation and extra curricular activities were reported in a highly appropriate. Product evaluation: In terms of qualifications and abilities, the graduates evaluated themselves at high level. Curriculum administration trend in the future: Employers felt that HCU gmduates had good qualifications, so HCU graduates were evaluated at a high level. Students and graduates suggested that job trainings should be provided to make them understand more and be ready for tieir future careers. When looking at five aspects above, all of them, except the buildings facilities, learning materials, textbooks and lacking of preparedness by students that were a little lower than the standard, were higher than the standard. Suggestions: The content of the curriculum should be revised, up-to-date and more academic, so there are several courses should be added to the curriculum such as Using Foreign Lalguage in Thai and Communicative Speaking for Mass Media. Moreover, job trainings which related to Thai Language and Culture Major should be provided for students. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2551 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th |
dc.subject | Curriculum evaluation | th |
dc.subject | ภาษาไทย -- หลักสูตร | th |
dc.subject | Thai language -- Curricula | th |
dc.subject | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Thai language -- Study and teaching | th |
dc.subject | วัฒนธรรมไทย -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Culture -- Thailand -- Study and teaching | th |
dc.title | การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาและวัฒนธรรมไทย พ.ศ.2547 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | The Evaluation of Thai Language and Culture Major Curriculum (2004) : Bachelor's Degree Program, Department of Thai Language and Culture, Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naissara-Ketawan.pdf | 30.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.