Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1390
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยิ่งเจริญ คูสกุลรัตน์ | - |
dc.contributor.author | ธีรวิทย์ ปูผ้า | - |
dc.contributor.author | จิริสุดา สินธุศิริ | - |
dc.contributor.author | Yingjarean Khusakulrat | - |
dc.contributor.author | Teerawit Poopa | - |
dc.contributor.author | Jirisuda Sinthusiri | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-12T10:36:31Z | - |
dc.date.available | 2023-08-12T10:36:31Z | - |
dc.date.issued | 2007 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1390 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2545 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อนเข้า ด้านกระบวนการผลิต และด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยทำการเก็บตัวอย่างจากอาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม นักศึกษาสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 บัณฑิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้บัณฑิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินหลักสูตรด้านบริบท ในส่วนของความชัดเจนของภาษาที่ใช้ความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม การพัฒนาสติปัญญา ทักษะและเจตคติผู้เรียน ความสามารถนำไปปฏิบัติจริง และความเหมาะสมโครงสร้างหน่วยกิต ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินหลักสูตรด้านปัจจัยป้อนเข้า ผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้าด้านอาจารย์และด้านนักศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้าด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ด้านจำนวนพอเพียง ด้านคุณภาพ ด้านความทันสมัย และด้านความสะดวกในการใช้บริการ ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) การประเมินหลักสูตรด้านกระบวนการผลิต ด้านการบริหารและการบริการหลักสูตร ผลการประเมินของอาจารย์อยู่ในระดับมาก ส่วนของนักศึกษาและบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นการเตรียมการสอนของอาจารย์ และเทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษาและบัณฑิต ผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน 4) การประเมินหลักสูตรด้านผลผลิต ด้านการประเมินความสามารถในการทำงานทั่วไปของบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนของผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับผลการประเมินความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยบัณฑิตประเมินอยู่ในระดับปานกลาง และผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม 1) ด้านบริบทนักศึกษาและบัณฑิตมีความเห็นว่าเนื้อหาในหมวดวิชาต่างๆ มีความเหมาะสมอยู่แล้วแต่อยากให้ปรับลดหน่วยกิตที่ลงเรียนในหมวดวิชาพื้นฐาน ควรเน้นหมวดวิชาชีพมากขึ้น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพควรสอนให้สามารถนำไปใช้กับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ 2) ด้านปัจจัยป้อนเข้าควรมีการจัดหาดูงานให้กับนักศึกษา อุปกรณ์และเครื่องมือในการเรียนภาคปฏิบัติไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย นักศึกษาไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเป็นการเสียโอกาส ห้องสมุดควรมีวารสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับวิชาชีพทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนักศึกษาไม่ทันสมัยและชำรุด 3) ด้านบริหารหลักสูตร ควรจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพิ่มการสอนการทำงานเป็นกลุ่ม ปรับปรุงสภาพห้องเรียน มีสื่อการสอนที่ทันสมัย ปรับวุฒิการศึกษาเป็นวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุข) และให้มีวิชาเอก-โท ให้นักศึกษาเลือกเรียน 4) ด้านผลผลิต ผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่า จุดเด่นของบัณฑิตมีสัมมาคารวะ ตั้งใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ดี และมีความอดทน สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ สำหรับจุดด้อยของบัณฑิต ควรปรับปรุงการพูดในที่สาธารณะ เพิ่มเติมทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการเข้าชุมชน | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2549 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | อนามัยสิ่งแวดล้อม -- หลักสูตร | th |
dc.subject | Environmental health -- Curricula | th |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th |
dc.subject | Curriculum evaluation | th |
dc.subject | อนามัยสิ่งแวดล้อม -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Enviornmental health -- Study and teaching | th |
dc.title | การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2545 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | The Evaluation of Science (Environmental Health) Curriculum : in Bachelor's Degree Program Academic Year 2002, Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yingcharoen.pdf | 5.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.