Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1402
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Influencing Health - Promoting Behaviors of Grade 4-6 Students in Watsrivareenoi School, Srisajorrakhaeyai Sub-district, Bang Soathong District, Samutpragarn Province
Authors: ชนิกา เจริญจิตต์กุล
ทวีศักดิ์ กสิผล
Chanika Jaroenjitkul
Taweesak Kasiphol
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย
Watsrivareenoi School
อนามัยโรงเรียน
School hygiene
นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
Elementary Schools -- Health and hygiene
การส่งเสริมสุขภาพ
Health Promotion
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 167 ได้มาด้วยการคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรของ Throndike จำนวน 100 คน เป็นอย่างน้อย และเก็บเพิ่มอีก 67 คน (เกือบทุกคน) เนื่องจากเป็นการศึกษาเพียงโรงเรียนวัดศรีวารีน้อยเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและครอบครัว แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ ของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ แบบวัดการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคล ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ แบบวัดการรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญํติแห่งชาต และแบบวัดพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับดี แต่เมื่อพิจารณารายข้อ ได้แก่ พฤติกรรมการตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการกินลูกอม หรือทอฟฟี่ พฤติกรรมการตรวจสุขภาพในช่องปาก อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง พฤติกรรมการแปรงฟันทุกวันก่อนนอน พฤติกรรมการใช้ฟันกัดและขบเคี้ยวของแข็ง และพฤติกรรมการล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 2. การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการได้ร้อยละ 9.50 (R[superscript 2] = 0.095, p <0.01) ซึ่งสามารถเขียนสมการทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายด้านอนามัยส่วนบุคคลฯ = 25.781 + 0.240 (การรับรู้ความสามารถของตนเองฯ) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายฯ ควรเน้นถึงการรับรู้ความสามารถของนักเรียนเป็นหลัก
The purpose of this research was to study health promoting behavior and factors predicting personal hygiene health promoting behavior based on National Health. Recommendation among grade 4-6 students in Watsrivareenoi School, Srisajorrakhaeyai Subdistrict, Bang Soathong District, Samutprakam province. A non-random sampling method was used to recruit a sample, which consisted of 167 grade 4-6 students in Watsrivareenoi School. The instrument was a three levels rating-scales questionnaire on perceive benefit, perceive barrier, perceive self-efficacy, interpersonal influence and health - promoting behavior. The data were collected from July to September 2009. Frequency, percent, mean, standard deviation and stepwise multiple regression were employed to analyze the data. The results of the study were as follows : l. Grade 4-6 students in Watsrivareenoi School showed a good level in the overall of personal hygiene health-promoting behavior based on National Health Recommendation. However, some sub-scales scores fell in moderate level. 2. Only one variable : Perceived self-efficacy of health - promoting behavior was significant predictors of the health - promoting behavior among grade 4-6 students in Watsrivareenoi School, Srisajonakhaeyai Sub-district, Bang Soathong District, Samuprakam province at the percentage of 9.50 (R' :0.095, p <0.01). The regression equation in raw score was shown as follows : Health-promotingbehavioramonggrade4-6studentsinWatsrivareenoiSchool' Srisajorrakhaeyai Sub-district, Bang Soathong District, Samutprakam province was 25'781 + 0.240 (Perceived self-efficacy) The results suggest that ways for developing health - promoting behavior among grade 4-6 students in Watsrivareenoi School, Srisajorrakhaeyai Sub-district, Bang Soathong District, Samutprakam province should utilize perceived self-efficacy as strategies in a health promotion program.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1402
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanika.pdf24.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.