Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/144
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์สุดา ไชยประเสริฐ-
dc.contributor.authorZhang, Jianfang-
dc.date.accessioned2022-04-24T09:03:01Z-
dc.date.available2022-04-24T09:03:01Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/144-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในละครโทรทัศน์ไทย จำนวนทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่ สี่แผ่นดิน คู่กรรม และ แหวนทองเหลือง ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ไทยที่มีสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นฉากหลังสะท้อนให้เห็นสังคมไทยในช่วงก่อนสงคราม ระหว่างสงครามและช่วงหลังสงครามมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน คือ 1) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ คนไทยอยู่สุขสบายตามฐานะของตน แต่สงครามทำให้ชีวิตคนทุกชนชั้นได้รับความลำบากเดือดร้อน 2) ด้านวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งการทักทาย การกินหมาก และการแต่งกาย ซึ่งล้วนเป็นผลจากนโยบายของผู้นำที่ต้องการนำให้ชาติเจริญ 3) ด้านค่านิยม มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง ค่านิยมการไปศึกษาที่ต่างประเทศ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักชาติ และค่านิยมเกี่ยวกับความรักระหว่างชาติ ความเปลี่ยนแปลงของค่านิยมล้วนมีสาเหตุจากความรักชาติและต้องการพัฒนาชาติให้เจริญ 4) ด้านความสัมพันธ์ของคนไทยกับชาวต่างชาติ เปลี่ยนแปลงจากความเป็นมิตรกับชาวต่างชาติกลายเป็นเห็นชาวต่างชาติเป็นศัตรู อันเป็นผลเนื่องมาจากสงคราม 5) ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสงคราม ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นและหายาก เศรษฐกิจไทยตกต่ำ แต่ในช่วงหลังสงครามเศรษฐกิจไทยหันกลับเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของสังคม 6) ด้านการเมืองและการปกครอง เนื่องจากสงครามรัฐบาลไทยได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย และมีคนไทยบางกลุ่มได้ตั้งกลุ่มเสรีไทยทำงานต่อต้านทหารญี่ปุ่น เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ การปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มี 2 ด้านใหญ่ คือ การปรับตัวภายนอกและการปรับตัวภายใน การปรับตัวภายนอก เป็นการปรับตัวด้านที่อยู่อาศัย โดยการสร้างหลุมหลบภัยขึ้นและการย้ายไปอยู่ที่อื่น การแต่งกาย ตัวละครต้องสวมหมวกเวลาออกจากบ้าน ผู้หญิงต้องเลิกนุ่งโจงกระเบน ด้านมารยาททางสังคม มีการปรับตัวใช้คำ “สวัสดี” ทักทายแบบทางการ และเลิกกินหมาก ด้านการประกอบอาชีพ มีประกอบอาชีพใหม่ กักตุนและปรับราคาสินค้าขึ้น และร่วมงานกับทหารญี่ปุ่น การปรับตัวภายนอกนี้มีสาเหตุสำคัญคือ เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและการปฏิบัติตนตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนการปรับตัวภายในเป็นการปรับตัวด้านความคิด และด้านลักษณะนิสัย ทำให้ตัวละครจากลักษณะนิสัยอ่อนแอเป็นเข้มแข็ง พร้อมสู้กับภัยสงครามและความยากลำบากที่เป็นผลอันเนื่องมาจากสงคราม และตัวละครบางกลุ่มยังมีการปรับความคิดจากที่เคยยอมรับชาวญี่ปุ่นเป็นมิตรกลายเป็นความรู้สึกเกลียดและต่อต้าน การปรับตัวภายในนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สำคัญคือ การต่อต้านญี่ปุ่นและการเกิดขบวนการเสรีไทยth
dc.description.abstractThis research aimed to analyze reflections of Thai society during World War II and adjustments of characters in three Thai television dramas, including Si-Pan-Din, Ku-Garm, and Wan-Tong-Lueng.Six aspects of Thai society were reflected in the studied Thai television dramas, presented World War II as their backgrounds. The dramas showed that Thai society was affected and changed by the war, as the following. 1) Ways of life, before the war Thai people lived peacefully and accordingly to their economic statuses; however, the war made their lives troubled. 2) Culture, the governmental leader launched many Modern Thai policies which affected daily living of all Thais, such as using new greeting words; a ban of chewing Mark; and codes of dressing. 3) Social values, which were the ideas of choosing a spouse; studying abroad; and love across nationalities. The changing of thoughts was mainly caused by ideas of patriotism and desires of progression of the nation. 4) Relationships with foreigners, the war turned the friendly feelings of Thai people for foreigners into being enemies. 5) Economy, the war caused economic recession in Thailand; however, after the war Thai economy prospered quickly because of the modern society. 6) Politic and government, because of the war Thai government separated into two sides; the underground movement, called Free Thai was against Japanese army, actively restored sovereignty of the nation. For adjustments of characters during the World War II, two aspects were noted, including the physical adjustment and the mental one. The physical adjustment covered adaptation of housing; construction of bunkers; being fugitive; conforming the Modern Thai policies, such as practicing the new codes of dressing; wearing hats while being outdoor; using “Sawasdee” as a greeting word; and giving up chewing Mark. New careers, like hoarding supplies in need and trading in high prices or being allied with Japanese army, were also occurred by the war. All the physical adjustments were motivated by personal safety and governmental policies. For mental adjustment, thoughts and some habits were changed, making gentle persons being strong and prompt to face hardship causing by the war. Some characters turned from being alliances of the Japanese to protesters and foemen. These mental adjustments brought forth important resistance of Japanese and the Free Thai movement.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- ไทยth
dc.subjectTelevision plays -- Thailandth
dc.subjectตัวละครและลักษณะนิสัยth
dc.subjectCharacters and characteristics.th
dc.subjectวรรณกรรมกับสังคมth
dc.subjectLiterature and societyth
dc.subjectสงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- ไทยth
dc.subjectWorld War, 1939-1945 -- Thailandth
dc.subjectสังคมไทยth
dc.titleภาพสะท้อนสังคมไทยและการปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในละครโทรทัศน์ไทยth
dc.title.alternativeReflection of Thai Society and Adjustment of Characters during World War II in Thai Television Dramasth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองth
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ZHANG-JIANFANG.pdf11.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.