Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล-
dc.contributor.advisorThipaporn Phothithawil-
dc.contributor.authorอุษณา เฑียรแสงทอง-
dc.contributor.authorUsana Thiansaengthong-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-09T11:28:42Z-
dc.date.available2023-12-09T11:28:42Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1476-
dc.descriptionการศึกษาด้วยตนเอง (สส.ม) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548-
dc.description.abstractการศึกษา เรื่อง “ พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนวัดภาษี แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนวัดภาษีฯ จำนวน 118 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยรวม และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะปัญหาของครอบครัวที่กำลังประสบอยู่โดยเรียงตามลำดับ คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาด้าน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ส่วนลักษณะปัญหาของ ครอบครัวที่มีความสำคัญ มีอิทธิพล และมีผลกระทบต่อครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม ปัญหาด้านด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และปัญหาด้านความรุนแรงในครอบครัว ตามลำดับ พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรม การจัดการปัญหาทั้ง 3 วิธีผสมผสานกันตามแต่ละสถานการณ์ของลักษณะปัญหาในครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรง ระดับดีมาก ประกอบด้วย พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ระดับดีมาก และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง ระดับดีมาก ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิต ระดับปานกลาง ประกอบด้วย การปฏิเสธความจริง การแยกทางอารมณ์และความคิด การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก การเก็บกด การแทนที่ การชดเชย การโทษผู้อื่น การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง การเฟ้อฝัน และการถดถอย การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการสนับสนุนทางสังคม โดยรวม ระดับปานกลาง ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมด้านจิตใจและอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมด้านเงิน สิ่งของ และบริการ การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการปัญหา จำแนกตาม ตัวแปรต่างๆ พบว่า เพศชาย-หญิง และผู้ที่มีบทบาทในครอบครัวต่างกัน มีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิตที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการปัญหารายด้าน กับ ลักษณะปัญหาของครอบครัว พบว่า ผู้ที่มีลักษณะปัญหาครอบครัวต่างกัน มีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวรายด้าน กับพฤติกรรมการจัดการปัญหารายด้าน โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ พบว่า การสนับสนุนทางสังคมด้านจิตใจและอารมณ์ และการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิต ส่วนการสนับสนุนทางสังคมด้านเงิน สิ่งของ และบริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิตth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectโรงเรียนวัดภาษีth
dc.subjectWat Pasi Schoolth
dc.subjectครอบครัวth
dc.subjectFamiliesth
dc.subjectผู้ปกครองกับเด็กth
dc.subjectParent and childth
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมth
dc.subjectSocial supportth
dc.subjectการแก้ปัญหาth
dc.subjectProblem solvingth
dc.titleพฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดภาษี แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeBehaviors on Family Problem Management : A Case Study of Parents of the 4th - 6th Grade Student, Wat Pasi School, Klongtan Sub-District, Wattanath
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usana-Tiensengthong.pdf
  Restricted Access
1.29 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.