Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1478
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันตชัย-
dc.contributor.advisorSaowanit Nitananchai-
dc.contributor.authorบรรพต ชัยสงคราม-
dc.contributor.authorBunpot Chaisongkram-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-09T11:40:42Z-
dc.date.available2023-12-09T11:40:42Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1478-
dc.descriptionการศึกษาด้วยตนเอง (สสม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิต่อสวัสดิการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนใน 3 ชุมชนมุสลิม ในเขตจังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง มีวัตถุ ประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประสบภัยต่อสวัสดิการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน (2) เพื่อศึกษาคุณภาพของสวัสดิการที่ผู้ประสบภัยได้รับและ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล และสวัสดิการกับความพึงพอใจของผู้ประสบภัย ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาจาก 1. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) และ 2. ศึกษาข้อมูลจากภาคสนาม (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปากเตรียม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จำนวน 23 ครัวเรือน บ้านบางมัน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 236 ครัวเรือน และบ้านแหลมนาว กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 28 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 287 ครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เลือกจาก ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ด้านอาชีพมากที่สุด และให้แต่ครัวเรือนมีสมาชิกตอบแบบสอบถาม ครัวเรือนละ 1 คน จาก 3 พื้นที่ คือ บ้านปากเตรียม เลือกทุกครัวเรือน จำนวน 23 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.0 หมู่บ้านบางมัน เลือก 85 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 36.1 และบ้านแหลมนาว จำนวน 21 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 75.0 รวมทั้งสิ้น 129 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 44.9 ของทั้งหมด ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical Packages for the Social Sciences / Personal Computer) ประมวลผลข้อมูลและจัดทำตารางวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อนำเสนอผลและสรุปผลการศึกษา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางแจกแจงความถี่ (Frequencies) โดยระบุค่าข้อมูลเป็นร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าสถิติ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยการใช้ค่าตารางไขว้ (Crosstabs) และค่าสถิติไคสแคว์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05การศึกษาจากพื้นที่ผู้ประสบภัย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 69.8 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 30.2 โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 31.7 และอายุเฉลี่ย 37 ปี และส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 64.3 สมรสแล้วและอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 86.0 และใช้วิธีการคุมกำเนิดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบยาเม็ด ร้อยละ 50.9 โดยมีสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่า 5 คน ร้อยละ 57.8 และส่วนใหญ่มีบุตรน้อยกว่า 3 คน ร้อยละ 46.4 และมีผู้สูงอายุในครอบครัวเพียง ร้อยละ 3.9 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.9 มีรายได้ระหว่าง 3,000-5,000 บาท โดยมีรายได้เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างคือ 4,814 บาทต่อเดือน มีชั่วโมงการทำงานต่ำกว่า 8 ชั่วโมง และก่อนประสบภัยกลุ่มประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 96 หลังจากประสบภัยกลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ ประมงร้อยละ 82.9 ลดลงเล็กน้อย และมีใบอนุญาติขึ้นทะเบียนประมง ร้อยละ 71.4กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เสียหายในเรื่องที่อยู่อาศัยบ้านเตรียม และอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ เช่น เรือประมงอุปกรณ์ พร้อมเครื่องยนต์ กระชังปลา อวน ลอบดักปลา และแพหอย และอุปกรณ์ทุกชนิด บ้านบางมัน และบ้านแหลมนาวเสียหายในเรื่องอุปกรณ์ประกอบอาชีพ และส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 99.2 สวัสดิการของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างจะได้รับ ความช่วยเหลือในเรื่องทุนประกอบอาชีพ ร้อยละ 88.4 รองลงมา ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหาร ร้อยละ 78.3 ลำดับต่อมาคือได้รับความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ประมง เช่น กระชัง ลอบ ร้อยละ 59.7 ความพึงพอใจคุณภาพของสวัสดิการที่ได้รับ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างพอใจสูงสุด ในเรื่องทุนการศึกษาบุตร ค่าเฉลี่ย 4.09 และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ประสบภัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.63 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมาก และด้านความก้าวหน้าในการให้สวัสดิการ มีค่าเฉลี่ย 3.30 ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัย มีค่าเฉลี่ย 3.09 และด้านความเสมอภาคในการได้รับสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ย 2.98 โดยมีระดับความพึงพอใจทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลางจากการเข้าสมการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล และคุณภาพของสวัสดิการ ต่อความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับ ผลการศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กัน คือ เพศ ความก้าวหน้าในการได้รับสวัสดิการ และความเสมอภาคในการได้รับสวัสดิการ มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P<0.05) นอกจากนี้พบว่า อายุ การศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว สถานภาพการสมรส การตอบสนองความต้องการของสมาชิก และการมีส่วนร่วมของสมาชิก ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับที่ระดับนัยทางสถิติ 0.05 (P>0.05) ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายคือ รัฐควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เพื่อจะได้ศึกษา เรียนรู้แนวทางการป้องกันภัยธรรมชาติ ภาครัฐ และภาคเอกชน ต่างมุ่งไปช่วยเหลือโดยไม่มีการแบ่งงาน หรือประสานงาน หรือกำหนดหน้าที่ ทำให้เกิดความสับสน ซ้ำซ้อน ทำงานแข่งกันทำ โดยไม่มีประสิทธิภาพข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปคือ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม และต่อเนื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิต่อความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ของในจังหวัดต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ และควรมีการสัมภาษณ์เจาะลึก ถึงรูปแบบต่าง ๆ ที่แต่ละองค์กรนำเข้าไปให้ว่าเหมาะสมหรือไม่ ระดับใดth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectผู้ประสบภัย -- การสงเคราะห์.th
dc.subjectDisaster reliefth
dc.subjectสึนามิth
dc.subjectTsunamith
dc.subjectความพอใจth
dc.subjectSatisfactionth
dc.titleความพึงพอใจของผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิต่อสวัสดิการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใน 3 ชุมชนมุสลิม ในเขตจังหวัดพังงา และจังหวัดระนองth
dc.title.alternativeThe Satisfaction of Tsunami Victims towards Social Work of Government and Non-Government Organizations Assistance in 3 Muslim Communities in Phangnga and Ranong Provincesth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bunpot-Chaisongkram.pdf
  Restricted Access
1.35 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.