Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/148
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนกพร นทีธนสมบัติ | - |
dc.contributor.advisor | ดวงกมล วัตราดุลย์ | - |
dc.contributor.advisor | Kanokporn Nateetanasombat | - |
dc.contributor.advisor | Duangkamol Wattradul | - |
dc.contributor.author | ภาวนา วัฒนาสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | Pawana Watanasawad | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-24T12:50:53Z | - |
dc.date.available | 2022-04-24T12:50:53Z | - |
dc.date.issued | 2014 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/148 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 | th |
dc.description.abstract | งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังทำ percutaneous coronary intervention (PCI) คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยหลังทำ PCI จำนวน 40 ราย ที่มาใช้บริการที่หน่วยฟื้้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กลุ่มทดลองกลุ่มเดียวได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจตั้งแต่ระยะแรกถึงระยะที่ 4 ประกอบด้วย: การให้ข้อมูลการดูแลตนเอง การฝึกทักษะ ให้การสนับสนุนด้านจิตใจ การเอื้ออำนวยความสะดวก ประสานงานทีมสุขภาพสหสาขาวิชาชีพ โดยติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้วัด ผลลัพธ์ ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิต ระดับไขมันในเลือด และสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยลดลงในทุกระยะของโปรแกรมและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นในทุกระยะ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนผลลัพธ์ด้านสุขภาพพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือดโคเลสเตอรอลและแอลดีแอลลดลงและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p.0.01) ระดับเอชดีแอลเพิ่มขึ้นและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์มีการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีระดับสมรรถภาพทางกายโดยวัดจากค่าเฉลี่ยของระยะทางเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาที เพิ่มขึ้นและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังทำ PCI แสดงให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการใช้บทบาทของพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสมและเพิ่มผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดี ดังนั้น ในสถานพยาบาลจึงควรมีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างต่อเนื่อง | th |
dc.description.abstract | This quasi-experimental research was aimed to study the effects of a nursing directed supportive and educative cardiac rehabilitation program on patients that have undergone percutaneous cornonary intervention (PCI). Purposive samples of forty patients with post PCI that utilized the service of the cardiac rehabilitation program at Bhumibol Adulyadej Hospital were enrolled into the program. The research consisted of one group and intervention with a supportive and educative cardiac rehabilitation program comprised of: provision of self-care information, skills training, emotional support, facilitation and co-ordication with a multudisciplinary team, and follow-up for three months. Data were collected using questionnaires addressing uncertainty about the illness, capabiloties of self-care, and quality of life. Physical outcomes were measured using a 6-minute walk test, lipid profile levels, and functional capacity. The results were analyzed using descriptive statistics and ANOVA. The results showed that after participating in the supportive and educative nursing program, the patients's scores on uncertainly regarding their illness significantly declined in all phases of the supportive and educative nursing program (p<0.001). Their capabilities of self-care showed significant increases in all phases of the supportive and educative nursing program (p<0.001). They also had a siginificant increase in their quality of life scores in all phases of the program (p<0.001). The physical outcome showed that the cholesterol and LDL-cholesterol levels significantly decreased (p<.01), and the HDL-cholesterol levels increased significantly (p<.05). However, there was only a slight decrease in the triglyceride level. In addition, the functional capacity level which measured using 6MWT incresed significantly (p<0.001). This study demonstrated the effects of a supportive and educative nursing-directed cardiac rehabilitation program on patients with post-PCI. It also showed the evidence-based roles of a clinical specialist in providing appropriate direct care to enhance health outcomes, Thus, healthcare institutions should allocate a clinical nurese specialist to provide continuing care for patients care for patients with coronary heart disease. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค | th |
dc.subject | Coronary heart disease | th |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | th |
dc.subject | Rehabilitation | th |
dc.title | ประสิทธิผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถนะหัวใจของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับการรักษาโดยวิธีขยายหลอดเลือดหัวใจ | th |
dc.title.alternative | The Effects of a Supportive and Educative Cardiac Rehabilitation Program on Patients That Have Undergone Percutaneous Coronary Intervention | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PAWANA-WATANASAWAD.pdf Restricted Access | 9.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.