Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1510
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภุชงค์ เสนานุช-
dc.contributor.advisorPuchong Senanuch-
dc.contributor.authorพงศธร วชิรเมธีกุล-
dc.contributor.authorPongsatorn Wachiramaeteekul-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-29T03:33:20Z-
dc.date.available2023-12-29T03:33:20Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1510-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractในการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน เงินเดือน และสวัสดิการ : กรณีศึกษาพนักงานบริษัท ริเวอร์กรุ๊ป” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน เงินเดือน และสวัสดิการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และเก็บรวมรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าไค-แสควร์ และทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSSผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ในเรื่องของระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปฏิบัติงานมาแล้วเป็นระยะเวลา 1 –5 ปี ร้อยละ 50 รองลงมา คือ กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 23 และกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานมาแล้วเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.7 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีผลให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจใน เงินเดือน และสวัสดิการของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านสวัสดิการของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมการทำงานและสวัสดิการของพนักงานบริษัทริเวอร์กรุ๊ป ผลการศึกษา พบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทริเวอร์กรุ๊ป ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่ทำงานมาเป็นระยะเวลานาน อาจมีความรู้สึกที่มั่นคงกว่าผู้ที่ทำงานเป็นระยะเวลาไม่นานนัก ทำให้ไม่มีความวิตกกังวลในเรื่องตำแหน่งหน้าที่ของงานที่ทำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความมั่นคงในการทำงาน ที่กล่าวว่า ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรจะทำงานอย่างขยันขันแข็งและมีประสิทธิภาพหากมีความรู้สึกมั่นใจว่าหน้าที่การงานที่ปฏิบัตินั้นมีความมั่นคง ดังนั้น ผู้บริหาร จึงจำเป็นต้องพิจารณา และให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติงานหรือเรียนรู้งานเป็นระยะเวลานานพอสมควร อย่างไรก็ตาม ตัวแปรอื่น ๆ แม้จะพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารทุกองค์กรควรสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสม และเอื้อต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เช่น การมีสถานที่ที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเท มีอุปกรณ์ / เครื่องใช้สำนักงานเพียงพอ นอกจากนี้ ในเรื่องของการจัดการระบบสวัสดิการของพนักงาน ควรเป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผูกพันกับองค์กร และทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้ผลผลิตของงานมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่สุดแล้ว องค์กรนั้น ๆ จะก้าวไปสู่ความสำเร็จth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectบริษัท วิเวอร์กรุ๊ป จำกัด -- พนักงานth
dc.subjectRiver Group Co., Ltd. -- Employees.th
dc.subjectความพอใจในการทำงานth
dc.subjectJob satisfactionth
dc.subjectสภาพแวดล้อมการทำงานth
dc.subjectWork environmentth
dc.subjectสวัสดิการลูกจ้างth
dc.subjectIndustrial welfareth
dc.titleความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน เงินเดือน และสวัสดิการ : กรณีศึกษาพนักงานบริษัทวิเวอร์กรุ๊ป จำกัดth
dc.title.alternativeThe Satisfaction of Employee towards Working Environment, Salary and Welfare : A Case Study of Employee of River Group Co., Ltd.th
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsathorn-Wachirametakul.pdf
  Restricted Access
1.1 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.