Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1511
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีนา เลิศแสนพร-
dc.contributor.advisorAreena Lertsaenporn-
dc.contributor.authorกรรณิการ์ สิงห์อ่อน-
dc.contributor.authorKannika Singon-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-29T03:38:28Z-
dc.date.available2023-12-29T03:38:28Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1511-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “การสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้ต้องขังหญิง : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงธนบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้ต้องขังหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ต้องขังหญิง ระดับชั้นดี ขึ้นไป ที่ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงธนบุรี จำนวน 148 คน ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้ต้องขังหญิง รวมถึงเพื่อนำผลการศึกษาเป็นแนวทางในการปรับกระบวนงานทางด้านสังคมสงเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการศึกษา พบว่า อายุของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถานภาพสมรสของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ประเภทคดีของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดส่วนใหญ่กระทำความผิดคดี ยาเสพติดมากที่สุด ช่วงระยะเวลาการต้องโทษของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาการต้องโทษ 49 เดือนขึ้นไป ระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้วของจำนวนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องโทษมาแล้ว 13 – 24 เดือน ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดูโดยรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก การปรับตัวทางสังคม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางสังคมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี ความสามารถทางสังคมอยู่ในระดับมากด้านความมั่นคงทางอารมณ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความมั่นคงทาอารมณ์ในระดับมาก ด้านความเชื่อมั่นในตน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในตนอยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์ ส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลอยู่ในระดับมาก ด้านความพึงพอใจ ในครอบครัวกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในครอบครัวอยู่ในระดับมาก สรุปผลรวม ด้านการปรับตัวทางสังคม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปรับตัวทางสังคมอยู่ในระดับ ปานกลาง รองลงมา มีการปรับตัวทางสังคมอยู่ในระดับมาก การเห็นคุณค่าในตนเอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับมาก การสร้างพลังอำนาจในตนเอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการสร้างพลังอำนาจในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมากลุ่มตัวอย่างมีการสร้างพลังในตนเอง อยู่ในระดับมาก การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างพลังอำนาจในตนเอง พบว่าการปรับตัวทางสังคม มีความสัมพันธ์กับการสร้างพลังอำนาจในตนเอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กล่าวคือ การปรับตัวทางสังคมในระดับที่แตกต่างกันมีผลให้การสร้างพลังอำนาจในตนเองแตกต่างกันการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์กับการสร้างพลังอำนาจในตนเอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กล่าวคือ การเห็นคุณค่าในตนเองในระดับที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการสร้างพลังอำนาจในตนเองแตกต่างกันข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ระดับปฏิบัติการ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้รับคำปรึกษาแนะนำและแสดงความคิดเห็น ร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ส่งเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคี รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้สึกรับผิดชอบ มีการทำงานร่วมกัน และให้ผู้ต้องขังรู้จักการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในสภาพที่เป็นอยู่ จากการปลูกฝังในเรื่องนี้จะทำให้ผู้ต้องขังเกิดการยอมรับและสามารถสร้างพลังอำนาจในตนเอง ลดภาวะการหลบหนี และการกลับมากระทำผิดซ้ำอีก ทัณฑสถานควรจัดทำโปรแกรมการพัฒนาแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้เห็นคุณค่าแห่งตนด้านทั่วไป การมองโลกในแง่ดี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพึงพอใจในชีวิตด้านสังคมและเพื่อน ผลการยอมรับจากผู้อื่นในสังคม ด้านครอบครัว การยอมรับของผู้ปกครอง บรรยากาศครอบครัว ด้านการเรียนรู้ถึงความล้มเหลวและการประสบความสำเร็จในชีวิตth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectนักโทษหญิงth
dc.subjectWomen prisonersth
dc.subjectความภูมิใจแห่งตนth
dc.subjectSelf-esteemth
dc.titleการสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้ต้องขังหญิง : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงธนบุรีth
dc.title.alternativeSelf Empowerment of Woman Detainees : A Case Study of Thonburi Woman Detentionth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannikar-Sing-On.pdf
  Restricted Access
4.98 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.