Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1518
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorธนพล บุญมา-
dc.contributor.authorThanapon Boonma-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-29T04:15:22Z-
dc.date.available2023-12-29T04:15:22Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1518-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุตามโครงการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการซ่อมแซมบ้านพักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ในภาคกลาง จำนวน 200 คนผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-65 ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 2-4 คน และกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ส่วนระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชน 31 ปีขึ้นไป ส่วนพื้นที่ ที่ได้รับการซ่อมแซมตามโครงการนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการซ่อมแซมส่วนของฝาบ้านมากที่สุด รองลงมา คือ ส่วนหลังคา และส่วนระเบียงหรือชานบ้าน ตามลำดับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในระดับมาก ปัจจัยด้านคุณภาพของสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยที่ได้รับนั้น แบ่งออกเป็น 3 ด้าน พบว่าคุณภาพของสวัสดิการโดยภาพรวม ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี ส่วนด้านการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี ส่วนด้านความเสมอภาคในการได้รับบริการ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี และในด้านความก้าวหน้าในการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี ปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักอาศัย พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรหรือข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักอาศัย พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว บริเวณที่ทำการซ่อมแซม/ปรับปรุง นั้น ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักอาศัย ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุนั้น ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักอาศัย ปัจจัยด้านคุณภาพของสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ การตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ความเสมอภาคในการให้บริการ และความก้าวหน้าในการให้บริการ ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักอาศัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่า ทุกๆฝ่ายควรมีความตระหนักในการร่วมมือกันทั้งภาครัฐ สถาบันครอบครัว ตลอดจน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไข วางแนวนโยบายในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัยth
dc.subjectOlder people -- Dwellingsth
dc.subjectความพอใจth
dc.subjectSatisfactionth
dc.subjectบ้าน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมth
dc.subjectHome -- Maintenance and repair.th
dc.titleความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโครงการซ่อมแซมบ้านพักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์th
dc.title.alternativeThe Satisfaction of Elderly towards Housing Improvement for Aging in Community Project, Department of Social Development and Welfare, Ministry of Social Development and Human Securityth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanapol-Boonma.pdf
  Restricted Access
5.04 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.