Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1530
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันต์ชัย-
dc.contributor.advisorSaowanit Nitananchai-
dc.contributor.authorจิราพัชร พิลาจันทร์-
dc.contributor.authorJirapat Pilachan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-29T07:36:46Z-
dc.date.available2023-12-29T07:36:46Z-
dc.date.issued2006-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1530-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชน ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้จำนวน 195 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ผลกาศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-19 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษา สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ระหว่าง 1,000-10,000 บาท/เดือน และระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ในชุมชน ระยะเวลาระหว่าง 11-20 ปี ผลการศึกษาด้านความรู้เรื่องโรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HIV ที่ทำให้เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องในระดับมากสุด รองลงมาคือโรคเอดส์สามารถติดต่อทางมารดาที่มีเชื้อเอดส์สู่ลูกในครรภ์ได้ ผลการศึกษาทัศนคติเรื่อง โรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าไม่ใช่คนที่มีรูปร่างหน้าตาดีสะอาด คือ คนที่ไม่มีเชื้อเอดส์ เป็นอันดับมากสุด รองลงมาเห็นด้วยว่าใช่ผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถใช้ชีวิตปกติอยู่ที่บ้านได้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องโรคเอดส์ พบว่า พฤติกรรมการทำเป็นประจำของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เคยใช้มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น เป็นอันดับมากที่สุด รองลงมา คือ พฤติกรรมการดื่มสุรา ผลการศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในเรื่องโรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ในชุมชน เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์จากหน่วยงานภายนอก เป็นอันดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ของคนในชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมได้รับความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์ ในระดับมาก รองลงมากลุ่มตัวอย่างเคยมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนในโอกาสต่างๆ และการมีส่วนร่วมในการให้ความรู้เรื่อง โรคเอดส์กับบุคคลใกล้ชิดค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งเมื่อคนในชุมชนมีรายได้มากขึ้น การมีส่วนร่วมก็จะมีมากขึ้นด้วย พฤติกรรมเสี่ยง เรื่องโรคเอดส์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงมากจะให้ความร่วมมือในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์น้อยกว่าคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงน้อย การสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในเชิงป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก ก็จะมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ในชุมชนมากตามไปด้วย ข้อเสนอแนะ คือ 1. ควรมีการจัดรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การป้องกันการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างตระหนักในเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมในด้านต่างๆ 2. ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปประสาน และส่งเสริมกิจกรรมระหว่างชุมชนต่อชุมชน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างการเชื่อมโยงเพื่อขยายเครือข่ายกิจกรรมกับชุมชนภายนอก 3. สถาบันการศึกษาในชุมชนควรจัดการเรียนการสอนให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็ก ให้มีสภาวะการดำเนินชีวิตที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ 4. หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรมีการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน และสนับสนุนกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมในชุมชน เปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ชี้นำ มาเป็นลักษณะที่ปรึกษา เพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไปth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectโรคเอดส์ -- การป้องกันth
dc.subjectAIDS (Disease) -- Preventionth
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนth
dc.subjectCommunity participationth
dc.subjectคลองสาน (กรุงเทพฯ)-
dc.subjectKlongsan (Bangkok)-
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ของชุมชนเขตคลองสาน กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeFactors Effecting People's on AIDS Prevention in Klongsan Community District, Bangkokth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirawat-Pirachan.pdf
  Restricted Access
4.52 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.