Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1540
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล | - |
dc.contributor.advisor | Thipaporn Phothithawil | - |
dc.contributor.author | นิภาพร เวฬุนารักษ์ | - |
dc.contributor.author | Niphaporn Welunaruk | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-29T09:06:14Z | - |
dc.date.available | 2023-12-29T09:06:14Z | - |
dc.date.issued | 2006 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1540 | - |
dc.description | การศึกษาด้วยตนเอง (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมองเห็นคุณค่าในตนเอง ความพร้อมในการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้รับบริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรีจำนวน 150 คน ผลการศึกษามีดังนี้ข้อมูลทั่วไป ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 70-79 ปี สถานภาพสมรสหม้ายโดยคู่สมรสเสียชีวิต สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ภูมิลำเนาภาคกลาง ระยะเวลาที่เข้ารับบริการ 1-5 ปี และมีโรคประจำตัว ด้านการมองเห็นคุณค่าในตนเองพบว่า ผู้สูงอายุมีการมองเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง ด้านความพร้อมในการเรียนรู้เพื่อการปรับตัว พบว่าผู้สูงอายุมีความพร้อมในการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวระดับสูง ด้านความพึงพอใจในชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุ มีความพึงพอใจในชีวิตระดับปานกลาง การหาความสัมพันธ์ พบว่า การมองเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด ภูมิลำเนา ระยะเวลาที่เข้ารับบริการและโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิต ความพร้อมในการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิต ข้อเสนอแนะผู้สูงอายุที่มีการมองเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ส่งผลให้ความพึงพอใจในชีวิตต่ำ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และควรมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมมีกิจกรรมที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุสนับสนุนให้ผู้สูงอายุแสดงออกในความสามารถที่มีอยู่ จะทำให้รู้สึกว่าตนยังมีคุณค่า ยังมีผู้สนใจจะทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นความสำคัญของตนเอง ส่งผลให้มีความพึงพอใจในชีวิตดี จะส่งผลให้ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นด้วย และควรวางแผนในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ไปทัศนศึกษาร่วมกับคนในชุมชน ตามวัน เวลา ที่เหมาะสม | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ | th |
dc.subject | Old age assistance | th |
dc.subject | ความภูมิใจแห่งตนในวัยสูงอายุ | th |
dc.subject | Self-esteem in old age | th |
dc.subject | วัยสูงอายุ | th |
dc.subject | Aging | th |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th |
dc.subject | Older people | th |
dc.title | ความพึงพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี | th |
dc.title.alternative | Life Satisfaction of the Elderly in Ban Banglamung Social Welfare Development Center for Older Persons, Chonburi Province | th |
dc.type | Independent Studies | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การบริหารสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipaporn-Werunarak.pdf Restricted Access | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.