Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1556
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรุ่งฤดี รัตนวิไล-
dc.contributor.authorRungrudee Rattanawilai-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administrationth
dc.date.accessioned2024-01-03T13:02:31Z-
dc.date.available2024-01-03T13:02:31Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.citationวารสาร ธุรกิจปริทัศน์ 5,1 (มกราคม-มิถุนายน 2556) : 41-54th
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1556-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/156646/113653-
dc.description.abstractการวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD กับการเรียน การสอนแบบปกติ เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาในการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD กับการเรียนการสอนแบบปกติ และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของผู้เรียนใน การเรียนวิชา EC1003 (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) ประชากรคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา EC1003 (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 กลุ่ม 01 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD วิธีการเรียนการสอนแบบปกติ แบบทดสอบ และแบบสอบถามวัดทัศนคติรวมถึง การจดบันทึก การสังเกต และการสอบถามผู้เรียนประกอบ กัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาตามวิธีการเรียนการสอนแบบ ร่วมมือตามเทคนิค STAD นักศึกษามีคะแนนการพัฒนาผลการสอบก่อนเรียน (pre - test) และ หลังเรียน (post - test) สูงกว่าวิธีการเรียนการสอนแบบปกติ แสดงให้เห็นว่า นักศึกษามีการพัฒนา การเรียนรู้มากขึ้น ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยรวมดีขึ้น นักศึกษามีความพร้อมและ ทักษะในการทำความเข้าใจได้มากขึ้น นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบร่วมมือตาม เทคนิค STAD ด้านสื่อการเรียนการสอน ที่อาจารย์ผู้สอนมีเอกสารประกอบการสอนแจกในชั้นเรียน ทุกบทมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า การเรียนการสอนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น สามารถกระตุ้นให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อน เข้าชั้นเรียนโดยการอ่านหนังสือมาก่อนเข้าชั้นเรียนเกือบทุกครั้ง เพราะนักศึกษาจะต้องทำการ ทดสอบย่อยก่อนเรียนในทุกคาบเรียนรวมถึงทำให้นักศึกษามีสมาธิในการเรียนมากขึ้น ปัญหาและอุปสรรคของผู้เรียน ตามเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) พบว่านักศึกษาไม่สามารถนั่งเรียนกับกลุ่มเพื่อนที่ตนเองต้องการได้บางครั้งจึงทำให้นักศึกษารู้สึก ไม่อยากเข้าชั้นเรียนรวมถึงวิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือจะมีการสอบก่อนเรียน (pre - test) ทุกครั้งทำให้มีเวลาเรียนเนื้อหาน้อยลง และนักศึกษาบางคนมาสอบไม่ทันเวลาในช่วงเช้าth
dc.description.abstractEnhance Learning Effectiveness through Cooperative Learning Methods Employing Student Teams Achievement Divisions Techniques (STAD) This research study demonstrates favorable results once the students engage in Cooperative Learning Methods employing Student Teams Achievement Divisions Techniques (STAD). Eighty students from Business Administration Faculty, Huachiew Chalermprakiat University were population of this study, who enrolled in EC1003 (Microeconomics) in 2011. Questionnaires included the students’ attitude towards traditional teaching methods and that of cooperative learning approaches utilizing Student Teams Achievement Divisions Techniques (STAD). The statistical analysis exercised Spearman Correlation Coefficient and Standard Deviation procedures The findings reveal that “STAD” students showed significantly improved pre and post test scores. Not only that they possessed a more positive attitude, they also were more ready and eager to attend classes and did not mind taking the pre and pro examinations. However, some of the students sampled still missed sitting among their close friends prompted a few to cut classes. Naturally, several objected to taking the tests day in and day out. All and all though, the study clearly shows that once the Cooperative Learning Methods employing Student Teams Achievement Divisions Techniques (STAD) are put in place, the learning outcome appears to be more satisfactory with the learners attaining higher marks.th
dc.language.isothth
dc.subjectการสอนแบบร่วมมือth
dc.subjectการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมth
dc.subjectParticipatory learningth
dc.subjectการเรียนรู้เป็นทีมth
dc.subjectTeam learning approach in educationth
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา เรื่องตลาดแข่งขันสมบูรณ์กับตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ในรายวิชา EC1003 (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ตามเทคนิค Student Teams Achievement Divisionsth
dc.title.alternativeEnhance Learning Effectiveness of students through Cooperative Learning EC1003 (The Micro Economics) of Competitive Market and Non - Competitive Markets Taught Using Cooperative Learning Methods by Student Teams Achievement Divisions Techniqueth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Business Administration - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Enhance-Learning-Effectiveness .pdf82.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.