Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1605
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorช. ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฎ์-
dc.contributor.authorChor Chayin Petpaisit-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Lawth
dc.date.accessioned2024-01-06T07:58:49Z-
dc.date.available2024-01-06T07:58:49Z-
dc.date.issued2010-
dc.identifier.citationวารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ฉบับ รพี' 53 : 94-107th
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1605-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/157711/114227-
dc.description.abstractผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะญาติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๖๒๙ อนุ(๑) ที่ถือได้ว่าใกล้ชิดกับเจ้ามรดกมากที่สุดและมีสิทธิได้รับมรดกของของเจ้ามรดกเป็นลำดับแรก เว้นแต่กรณีที่บิดามารตาเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ผู้สืบสันดานแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง และบุตรบุญธรรม บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายชองชายผู้เป็นบิดา ส่วนหญิงผู้เป็นมารดานั้นถือว่าบุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นเสมอแม้จะมิได้มีการสมรสกับชาย เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติเป็นอย่างอื่น บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤติการณ์อย่างใด ๆ ให้ถือว่าเป็น เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของบิดาที่เสียชีวิตได้นั้น ซึ่งการรับรองมิได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสถานะเป็นบุตรนอกกฎหมาย ให้กลับกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด บุตรนั้นก็ยังคงเป็นบุตรนอกกฎหมายอยู่เพียงแต่เกิดสิทธิที่จะได้รับมรดกของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น บุตรบุญธรรมไม่ใช่บุตรโดยกำเนิดของผู้รับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายเท่านั้น ในกรณีที่มีคู่สมรสจะรับบุตรบุญธรรมทั้งคู่ต้องจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมด้วยกันทั้งคู่ หากฝ่ายหนึ่งฝายใดจดทะเบียนรับเพียงฝ่ายเดียว แม้อีกฝ่ายจะยินยอมไม่ถือเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยแต่อย่างใด การรับบุตรบุญธรรมที่สมบูรณ์ทำให้บุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรมนั้น โดยที่บุตรบุญธรรมนั้นไม่สูญเสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดth
dc.language.isothth
dc.subjectทายาทth
dc.subjectInheritance and successionth
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- มรดกth
dc.subjectCivil and commercial law -- Inheritance and successionth
dc.titleประเด็นกฎหมายบางประการเกี่ยวกับผู้สืบสันดานth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Law - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Descendant.pdf76.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.