Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/165
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสภา อ่อนโอภาส | - |
dc.contributor.advisor | Sopa Onopas | - |
dc.contributor.author | อัจฉริยา ชาญเชิงรบ | - |
dc.contributor.author | Adchariya Chanchoengrob | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-28T08:54:48Z | - |
dc.date.available | 2022-04-28T08:54:48Z | - |
dc.date.issued | 2001 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/165 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาแนวทางการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ตนเองของผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระเบียบการค้า ตลอดจนการบริการและความคุ้มครองแก่ผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอบ 2) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการในการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ตนเองของผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยและเพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอนโยบายในการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบอาชีพนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้ค้าย่านบางแค ท่าช้าง สีลม สุรวงศ์ คลองถม จำนวน 41 คน โดยการใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เบื้องต้นในแบบร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยนำเสนอในรูปแบบการบรรยายเชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่าจากกลุ่มผู้ค้าเพศชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาปานกลางถึงต่ำ อยู่ในช่วงวัยกลางคนถึงสูงอายุ และประกอบอาชีพนี้มาเป็นเวลานานโดยไม่มีอาชีพเดิม การดำรงชีวิตในครอบครัวต้องพึ่งรายได้จากการค้าเป็นหลักโดยมีรายได้พอเพียงแต่จะไม่มีเงินออม ภูมิลำเนาจะอยู่ในกรุงเทพฯและอยู่ใกล้บริเวณที่ทำการค้า มักจะเป็นเจ้าของแผงลอยอยู่กับที่ มีระยะเวลาขายสินค้าต่อวันมากกว่า 10 ชั่วโมง สินค้ามักเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยผู้ค้าจะมีปัญหาที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนอกระบบ เงินทุนซึ่งไม่สามารถกู้จากสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำได้ การขาดการให้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐ ขาดความคุ้มครอบพื้นฐานในด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์แรงงานกระบวนการในการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ค้า จะเป็นไปในแนวทางของการรวมกลุ่มกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและรับทราบปัญหาของกันและกัน จากนั้นผู้ค้าจะเข้าเจรจากับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้ผ่านการค้นคว้ากฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง วิธีที่นำมาใช้นั้นมักจะใช้การเจรจาต่อรองโดยวาจา และจากนั้นหากมิได้รับการตอบสนองใด ๆ ผู้ค้าก็จะมุ่งหาหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ ซึ่งขณะนี้บทบาทของสื่อสารมวลชนกำลังมีส่วนสำคัญที่ผู้ค้าให้ความสนใจในการใช้เพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์การพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมีการต่อสู้ในระยะสั้น เนื่องจากความจำเป็นในการประกอบอาชีพ การคาดหวังในการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นมากเกินในทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเรียกเอาผลประโยชน์ แต่บางกลุ่มมีความพยายามที่จะหาแนวร่วมจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่นพรรคการเมือง สื่อมวลชน เป็นต้น และยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับแนวทางการพิทักษ์สิทธิประโยชน์นั้น ควรจะมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เน้นการทำงานในลักษณะกลุ่มให้มากที่สุดเพื่อขจัดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ โดยต้องพยายามหาแนวร่วมทั้งในด้านเอกชน ชุมชนและหน่วยงานจากภาครัฐให้มากที่สุด จากการศึกษามีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ค้าเร่แผงลอยดังนี้ 1) ผู้ค้าควรจะพยายามรวมกลุ่มกันให้ได้ 2) พยายามหาแนวร่วมไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) พยายามศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่าง ๆ 4) พยายามรณรงค์ด้วยตัวเองหรือในนามชมรมผู้ค้าที่แท้จริง 5) ชมรมควรดำเนินการในด้านสวัสดิการอื่น ๆ เพื่อสมาชิกด้วยข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าหาบเร่แผงลอย มีดังนี้ 1) พยายามเข้ามาศึกษาและรับฟังปัญหาที่แท้จริงของผู้ค้าแต่ละบริเวณ 2) พยายามเข้าไปให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ค้าถึงระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แก่ผู้ค้า 3) จัดให้มีการอบรมความรู้พื้นฐานในด้านสุขภาพอนามัย 4) สนับสนุนในเรื่องการจัดรวมกลุ่มผู้ค้าในด้านต่าง ๆ 5) ให้ความช่วยเหลือในการจัดสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน 6) การเข้าไปจัดระเบียบการค้าต้องพยามทำโดยเข้าใจความต้องการของผู้ค้าด้วย 7) ดำเนินมาตรการส่งเสริมในด้านอื่น ๆ ให้มากขึ้น เช่นการให้กู้ยืมเงินหรือส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ หากต้องการจำกัดจำนวนหาบเร่แผงลอย | th |
dc.description.abstract | This thesis on hawkers and vendor’self-advocacy is aimed to 1) study their working conditions, problems and difficulties, their opinions about trading regulations as well services and protections given to them and 2) study their procedures for right and benefit protection which will be used as guidelines for presentation of related policies. Sample groups include 41 hawkers and stallholders form Banghae, Tachang, Silom, Surawong and Klongthom areas. Interview guidelines were used for basic analysis in percentage and qualitative data analysis before being presented with description. This study can be concluded that most of male and female hawkers and stallholders equally have medium or low education, middle or old age, long working periods and no former occupation. Their families live on trading income which is enough but cannot be saved. They live in Bangkok near their trading areas, mostly own stationary stalls and sell goods for more than 10 hours/day which are necessary for daily lives They have problems with extra payments, failure to borrow money from a financial institute offering low rates of interest, lack of public utilities, basic health protection, medical care and labour rights and benefits.Their right and benefit protection lasts for only a short period because they have to earn their living. Too much expectation of other`s people’s assistance causes problems about claims for benefits, but some groups try to find support from other sections, such as political party, mass media etc. and they still need more knowledge and understanding of laws, rules and regulations. To follow the ways of right and benefit protection, they should be mobilized for obviously determining their duties and responsibilities while emphasizing teamwork for avoiding benefit problems by trying to find support from both private or community and public sectors. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | แผงลอย -- ไทย -- กรุงเทพฯ | th |
dc.subject | หาบเร่ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | th |
dc.subject | สิทธิประโยชน์ตนเอง | th |
dc.subject | Vending stands -- Thailand -- Bangkok | - |
dc.subject | Self-Advocacy | - |
dc.title | แนวทางการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ตนเองของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย : ศึกษาเฉพาะกรณี เขตกรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Hawkers and Vendors' Self-Advocacy : A Case Study of Bangkok Metropolitan Administration | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม. | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 371.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 795.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 373.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 4.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 800.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.