Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1681
Title: | ควันบุหรี่มือสองกับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสองของผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่ |
Other Titles: | Secondhand Smoke and Preventive Smoking Behavior of Women with Smoking Husbands |
Authors: | สมบัติ ทานะสุข จริยาวัตร คมพยัคฆ์ ชฎาภา ประเสริฐทรง Sombat Tanasuk Jariyawat Kompayak Chadapa Prasertsong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | การได้รับควันบุหรี่ทางอ้อม Passive smoking การสูบบุหรี่ smoking |
Issue Date: | 2020 |
Citation: | วารสารเกษมบัณฑิต 21,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2563) : 30-39 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านควันบุหรี่มือสองกับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสองของผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่ วิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่ จำนวน 340 คน เลือกโดยวิธีตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือ เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านควันบุหรี่มือสอง และพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านควันบุหรี่มือสองโดยรวมและทุกรายด้านอยู่ในระดับดี ส่วนพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สรุป ความรอบรู้ด้านควันบุหรี่มือสองโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 กับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสอง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันควันบุหรี่มือสอง และด้านทักษะการสื่อสารเพื่อป้องกันควันบุหรี่มือสอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 PURPOSES: This research aimed to study the relationship between personal factors and preventive smoking behavior as well as between literacy on secondhand smoke and preventive smoking behavior of women with smoking husbands. METHODS: The purposive sample consisted of 340 women with smoking husbands. The research instrument was a questionnaire on literacy on secondhand smoke and smoking preventive behavior, which had the reliability coefficients at 0.86 and 0.92 respectively. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. RESULTS: The samples had the overall literacy on secondhand smoke at a good level, each aspect of literacy being at the good level as well. The overall secondhand preventive smoking behavior was at a medium level. Personal factors, i.e., age, occupation, and income were significantly related with secondhand preventive behavior (p. = 0.05). CONCLUSIONS: The overall literacy on secondhand smoke was not related with the secondhand smoking preventive behavior significantly (p. = 0.05). It was found that knowledge and understanding in preventing secondhand smoke and communication skills for preventing secondhand smoke were positively correlated with secondhand smoking preventive behavior significantly (p. = 0 .05). |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/241302/168230 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1681 |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Secondhand-Smoke .pdf | 103.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.