Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยุพิน สาเรือง-
dc.contributor.authorวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย-
dc.contributor.authorจริยาวัตร คมพยัคฆ์-
dc.contributor.authorYupin Saraung-
dc.contributor.authorVanida Durongrittichai-
dc.contributor.authorJariyawat Kompayak-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.date.accessioned2024-01-29T05:55:58Z-
dc.date.available2024-01-29T05:55:58Z-
dc.date.issued2014-
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลสาธารณสุข 28,2 (พ.ค.-ส.ค. 2557) : 39-50th
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1682-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48329/40143-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนในชุมชน และผลการเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพในชุมชนหมู่ 4 ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างหลัก คือ เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี กลุ่มตัวอย่างรอง ได้แก่ ผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง พยาบาลวิชาชีพทั้งในและนอกโรงพยาบาล บุคลากรในกองงานสาธารณสุข อสม. ตำรวจ ผู้นำชุมชน จิตอาสา (ผู้พิการ) ครูและแกนนำนักเรียน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแนวคำถามเชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ การทดสอบที่ (Paired t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 8.8 ปี ไม่มีโรคประจำตัว พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ดูแลหรือผู้ปกครองส่วนมากเป็นบิดา/มารดา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 41.6 ปี พฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ช่วงอายุเด็กระหว่าง 6-8 ปี การพัฒนา หุ้นส่วนสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนในชุมชนประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนสุขภาพด้วยการประสานความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มากำหนดแผนงานและโครงการร่วมกัน 2) การสร้างระบบรองรับการทำงานของหุ้นส่วนสุขภาพ โดยใช้การประชุมทั้งทางการและไม่ทางการเพื่อให้ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ภายใต้บทบาทหลักและบทบาทที่ต้องช่วยเหลือกัน รวมทั้งสะท้อนคิดถึงผลการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นระยะจนได้ข้อตกลงร่วมกันจนสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ 3) การพัฒนาความต่อเนื่องของหุ้นส่วนสุขภาพด้วยการวิเคราะห์บทบาทร่วมกันและนำความคิดเห็นของหุ้นส่วนมาปรับบทบาทการทำงานให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง โครงการที่เกิดขึ้นมี 3 โครงการ คือโครงการบ้านปลอดภัย โครงการโรงเรียนสีขาว และโครงการชุมชนปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ ผลการเปลี่ยนแปลงหลังพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพพบว่าจำนวนเด็กวัยเรียนได้รับบาดเจ็บลดลง คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บของเด็กวัยเรียนหลังการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ ( = 68.38 , S.D. = 3.87) สูงกว่าก่อนการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ ( = 67.25, S.D. = 4.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนของผู้ดูแลหรือผู้ปกครองหลังการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ ( = 68.38 , S.D. = 6.06) สูงกว่าก่อนการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ ( = 65.46 , S.D. = 6.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษามีข้อเสนอแนะให้นำผลการวิเคราะห์บทบาทขององค์กรชุมชน เสนอต่อผู้บริหาร เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ ควรกำหนดนโยบายในโรงพยาบาลด้านการวิเคราะห์สาเหตุการบาดเจ็บของเด็กวัยเรียนที่มารับบริการเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งกำหนดนโยบายของชุมชนและการจัดการความปลอดภัยของโรงเรียน เพื่อสร้างความปลอดภัยในชุมชนและโรงเรียนth
dc.description.abstractThis action research examined the process and impact of partnership development on injury prevention in the school-aged children in Moo 4, Tambol Ta-Maka, Amphur Ta-Maka, Kanchanaburi, THAILAND. The primary sample group of the study was school-aged children from six to twelve year old. The secondary sample group was the children’s guardians, licensed practical nurses working in the hospital or village, primary health care personnel, policemen, community leaders, volunteer spirit (disables people), teachers, and student leaders. Data from structured interview and in-depth questions were accumulated and analyzed by Chi-square statistics, Paired t-test, and content analysis. The outcome of the study revealed most of the school-aged children are girls in average of 8.8 year old without congenital disorder. In overall score, their injury prevention behavior score is medium level. The guardians are primarily parents, who are females in average of 41.6 year old. The score of injury prevention behavior emphasized to the children was medium level. We found the outstanding statistical significant factor of childhood injury is the children’s age, which is between six to eight years old. There are three stages of the partnership development for school-aged children’s injury prevention: 1) establishment of partnership through the stakeholders’ involvement starting from the beginning of the project. 2) System setup for supporting partnership activities, both through formal and informal meeting. We have found community teamwork is crucial for cooperative and supportive action in order to achieve the target. 3) Continuing education of the partnership. Group’s brainstorm and periodical evaluation would bring about improvement and effectiveness. Three creative campaigns (“Safe Home”, “White School”, and ”Accident-Free Community”) were selected and run in the community. The outcome from partnership development was evaluated in comparison between pre- and post-project data. We have found the significant decrease of childhood injury rate as well as the increase of injury prevention behavior score was found (= 68.38, S.D. = 3.87 comparing to = 67.25, S.D. = 4.87). For the future study, analyze of community valued role is highly suggested to performed and proposed to the executive. This information would strongly promote community partnership. Safety of their children would be seriously considered. Besides, the hospital could take part by analyzing the root course and setting policies for prevention of school-aged children injury. The drive force from commune via community policy would effectively lead to systemic management and sustain childhood injury-free community for their children.th
dc.language.isothth
dc.subjectอนามัยโรงเรียนth
dc.subjectSchool hygieneth
dc.subjectบาดแผลและบาดเจ็บth
dc.subjectWounds and injuriesth
dc.subjectนักเรียน -- สุขภาพและอนามัยth
dc.subjectStudents -- Health and hygieneth
dc.subjectเด็ก -- บาดแผลและบาดเจ็บth
dc.subjectChildren -- Health and hygieneth
dc.titleการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนในชุมชนth
dc.title.alternativeThe Development of Health Partnership for Injury Prevention of School-Aged Children in Communityth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Health-Partnership-for-Injury-Prevention .pdf95.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.