Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1686
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น-
dc.contributor.authorจริยาวัตร คมพยัคฆ์-
dc.contributor.authorอรพินท์ สีขาว-
dc.contributor.authorJittraporn Phoaun-
dc.contributor.authorJariyawat Kompayak-
dc.contributor.authorOrapin Sikaow-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.date.accessioned2024-01-29T08:50:47Z-
dc.date.available2024-01-29T08:50:47Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.citationวารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 13, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563) : 393-403th
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1686-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/254889/173151-
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มารับการรักษาที่คลินิกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลประชาพัฒน์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรง ของโรคข้อเข่าเสื่อม 22 คน และกลุ่มได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของแคนเฟอร์และกาลิคและคู่มือชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความตรง = 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่น= 0.90 และแบบวัดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม มีค่าความเชื่อมั่น= 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติไคสแควร์ และทดสอบสมมติฐานโดยค่าที ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (P<.05) 2) หลังได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมดีกว่าก่อนได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (P <.05) 3) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P <.05) 4) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมมีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมลดลงกว่าผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (P <.05)th
dc.description.abstractThis quasi-experimental research aimed to examine the knee osteoarthritis in aging. The sample comprised 44 aging who came for follow up at the orthopedic clinic, out patients department of Prachaphat Hospital, Bangkok. The 22 patients were assigned to the comparison group who received nursing care, and the 22 patients were assigned to the experimental group and received the self-management to reduce severity of knees osteoarthritis program me. The instruments used for data collection were self-care behaviors questionnaire. The content validity was 0.83, Reliability Cronbach's Alpha test was 0.90, and severity of knees osteoarthritis Reliability Cronbach's Alpha test was 0.96 which following the self-management concept of Kanfer & Gaelick, and reducing severity of knees osteoarthritis handbook. Data were analyzed by using descriptive statistics and chi-square, and hypotheses were tested by using independent and paired t-test. (p=0.05). The study results revealed as the following. 1) Self – care behaviors of patients in the experimental group after receiving the self-management program me was significantly higher than that before .05 (P <.05) 2) after receiving the nursing care self-care behaviors to reduce severity of knees osteoarthritis was significantly higher than that before .05 (P <.05) 3) Self – care behaviors of patients in the experimental group after receiving the self-management program me was significantly higher than patients in the comparison group who received nursing care .05 (P <.05) 4) Severity and clinical symptoms in the experimental group after receiving the self- management program me was significantly lower than patients in the comparison group who received nursing care .05 (P <.05)th
dc.language.isothth
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth
dc.subjectSelf-care, Healthth
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth
dc.subjectHealth behaviorth
dc.subjectข้อเสื่อมth
dc.subjectOsteoarthritisth
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectOlder peopleth
dc.subjectข้อเข่า -- โรคth
dc.subjectKnee -- Diseasesth
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุth
dc.title.alternativeEffects of Self-Management Program Me to Reduce Severity of Knee Osteoarthritis in Agingth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Reduce-Severity-of-Knee-Osteoarthritis-in-Aging.pdf98.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.