Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1701
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมัลลิกา บุนนาค-
dc.contributor.authorสถาพร ปิ่นเจริญ-
dc.contributor.authorกิจจา เกษมพงศ์-
dc.contributor.authorชรินพร งามกมล-
dc.contributor.authorประนอม ลอองนวล-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ทัดบุบผา-
dc.contributor.authorมนต์รัก ไสยสมบัติ-
dc.contributor.authorชัชราวรรณ มีทรัพย์ทอง-
dc.contributor.authorเจริญรัตน์ เบญจรัตนาภรณ์-
dc.contributor.authorทรงสิทธิ์ จงวรเศรษฐ์-
dc.contributor.authorมณฑล สรไกรกิติกูล-
dc.contributor.authorอมร โรจน์ศิลธรรม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจth
dc.date.accessioned2024-02-16T14:44:43Z-
dc.date.available2024-02-16T14:44:43Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1701-
dc.description.abstractงานวิจัยสำหรับการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินี้ จัดทำตามนโยบายของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ที่กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การผลิตที่มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนและผู้สอน เป็นต้น ทำให้การจัดทำงานวิจัยต้องทำการศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนและการพัฒนาประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ ให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งทำให้ทราบว่าหลักสูตรนั้นๆ ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และต้องการปรับปรุงในส่วนใด และต้องปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้มีประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และผู้ใช้บัณฑิต เนื่องจาก กลุ่มประชากรมีจำนวนไม่มาก จึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมด โดยใช้สถานภาพของประชากรเป้นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลลิตหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม แบบสอบถามจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ จากการเก็บข้อมูลได้มีอัตราการตอบกลับมาค่อนข้างต่ำ จึงใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 10 ชุด และได้รับการตอบกลับมาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยอาจารย์มีความเห็นส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การบริหารและการจัดการหลักสูตรโดยรวมมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตร รวมถึงการใช้สื่อการสอนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และเห็นด้วยกับการบริหารหลักสูตรในรูปแบบของคณะกรรมการผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 173 ชุด และได้รับการตอบกลับมา 20 ชุด คิดเป็นร้อยละ 11.56 โดยบัณฑิต เห็นว่า จำนวนหน่วยกิตในปัจจุบันมีความเหมาะสม และเห็นว่ายังมีความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีสำหรับการประกอบอาชีพความรู้พื้นฐานทางด้านการจัดการ ความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหาอยู่ในระดับน้อย และพบว่าบัณฑิตประเมินคุณลักษณะของตนเองโดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับน้อยผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใข้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 139 ชุด และได้รับการตอบกลับมา 15 ชุด คิดเป็นร้อยละ 10.79 โดยผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่า บัณฑิตจากสาขาวิชาการจัดการมีความสามารถในการปฏิบัติงาน การเรียนรู้งาน ความมานะอดทนสู้งานมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น และเห็นว่าความรู้ทางด้านวิชาการ ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาไทย ความคิดริเริ่ม การมองการณ์ไกล ความกล้าแสดงออก ความคิดเห็น ความมีระเบียบวินัย การอุทิศเวลามีค่าเท่ากับความสามารถของบัณฑิตจากสถาบันอื่นผลการศึกษาจากนักศึกษา คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 56 ชุด และได้รับการตอบกลับจำนวน 30 ชุด คิดเห็น 53.57 โดยนักศึกษาให้ความคิดเห็นโดยรวมต่อเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น และความทันสมัยของรายวิชาอยู่ในระดับดี และเห็นว่ามีการจัดการเรียนการสอนโดยส่วนใหญ่มีความเหมาะสมแล้วth
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2545th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการประเมินหลักสูตรth
dc.subjectCurriculum evaluationth
dc.subjectการจัดการ -- หลักสูตรth
dc.subjectManagement -- Curriculath
dc.subjectการจัดการ -- การศึกษาและการสอนth
dc.subjectManagement -- Study and teachingth
dc.titleการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeAn Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Management (2 Year Continuing Program) Degree's Curriculum for Academic Year 1998 Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sataporn-Pincharoen.pdf54.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.