Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1719
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กิตติ เลิศกมลรักษ์ | - |
dc.contributor.author | สาริยา นุชอนงค์ | - |
dc.contributor.author | เจริญศักดิ์ แซ่จึง | - |
dc.contributor.author | พึงใจ พิชยอนุตรัตน์ | - |
dc.contributor.author | ลั่นทม จอนจวบทรง | - |
dc.contributor.author | ณธภร ธรรมบุญวริศ | - |
dc.contributor.author | Kitti Lertamolruk | - |
dc.contributor.author | Sariya Nuchanong | - |
dc.contributor.author | Charoensak Saejueng | - |
dc.contributor.author | Phuengjai Phichaya-anutarat | - |
dc.contributor.author | Lanthom Jonjuabtong | - |
dc.contributor.author | Napat Srinual | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-18T13:53:50Z | - |
dc.date.available | 2024-02-18T13:53:50Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1719 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2559 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยทำการประเมินตามแบบจำลง CIPP ของ Daniel L. Stufflebeam เพื่อประเมินความเหมาะสมและคุณภาพของหลักสูตรใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร (Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์ บัณฑิต ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร ที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ผลการวิจัยดังนี้ ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.45 ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ คุณวุฒิ/คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณวุฒิ/คุณสมบัติของอาจารย์ และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน คุณวุฒิ/คุณสมบัติของอาจารย์ หลักสูตรด้านคุณวุฒิ/คุณวุฒิของนักศึกษา มีผู้เห็นด้วยเฉลี่ย 96.36 และ 97.48 ตามลำดับ และปัจจัยต่างๆที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ย 3.87 ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.89 ด้านผลผลิต ซึ่งประกอบด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษาและบัณฑิต และการประเมินนักศึกษาและบัณฑิต จากอาจารย์ในหลักสูตรและผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.98 ในภาพรวมของหลักสูตร มีความเหมาะสมและมีคุณภาพดี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บัณฑิตของหลักสูตรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้ ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม ในด้านการปรับเปลี่ยนเนื้อหาวิชา หรือควรเพิ่มรายวิชาให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต และสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ ควรปรับปรุงด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสริมหลักสูตรต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ของนักศึกษา ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป | th |
dc.description.abstract | The objective of this research is to evaluate the Bachelor of Business Administration (Business Computer) Curriculum (Revision edition of 2011) of Business Administration Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. The evaluation is based on the Daniel L. Stufflebeam's CIPP model to assess the appropriateness and quality of the curriculum in four areas: contexts, inputs, processes and products of the curriculum. The data collection method were both quantitative and qualitative methods, and the population of the research was students, teachers, graduates, employers, and curriculum experts on various elements associated with the curriculum. The results of this research consist of four parts as follows. First, the context of the curriculum was concerned with the objectives of the curriculum, the sturcture of the curriculu, courses and contents. The result of the evalualtion was high satisfied with an average score of 4.45. Second, the satisfaction of the inputs included the qualifiactions or requirements of bothe students and teachers, and learning and teaching supportive factors. The evaluation results were highly satisfied. There were 96.36 per cent and 97.48 per cent of sample satisfied on the qualifications or requirements of both students and teachers, and learning and teaching supportive factors respectively. For the learning and teaching supportive factors, the result of evaluation was high satisfied with an average score of 3.87. Third, the satisfaction of the process is related to learning and teaching management, and learning assessment and evaluation process. The result was high satisfied with the average score of 3.89. Fourth, the satisfaction of the product focusing on academic and fundamental skills through student learning outcomes with five domains: morality and ethics, knowledge, cognitive skill, human relations skill and responsibility, and numerical analysis, communication and information technology skills was evaluated with self-assessment of both students and graduates and employers of the graduates. The result was highly satisfied with the average score of 3.98, yields a high average score o 3.98. In summary, the Bachelor of Business Administration (Business Computer) Curriculu, (Revision edition of 2011) had good quality. The curriculum could meet the objectives of the curriculum and standard of operation. The graduates had abilities to serve labor markey. The suggestions of sample were 1) the curriculum had to add state-of-the art courses in order to serve current labor market, 2) the curriculum could be focused on entrepreneure establishment and 3) the university had to improve the quality of learning and teaching materials, especially computer hardware and software. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2557 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th |
dc.subject | Curriculum evaluation | th |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ธุรกิจ -- หลักสูตร | th |
dc.subject | Business computer -- Curricula | th |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Business computer -- Study and teaching | th |
dc.title | การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2554 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | The Evaluation of Bachelor Degree Program in Business Administration : Business Computer, Revised Edition 2011 Business Administration Faculty, Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitti-Lertkamolrat.pdf | 10.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.