Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1723
Title: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2544 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of the Bachelor of Arts Program in Chinese (Revised Edition 2001) : Huachiew Chalermprakiet University
Authors: จรัสศรี จิรภาส
สุกัญญา วศินานนท์
นริศ วศินานนท์
ธเนศ อิ่มสำราญ
กิติกา กรชาลกุล
ธุมวดี สิทธิโชคเหล่าทอง
สายฝน วรรณสินธพ
Charassi Jiraphas
Sukanya Wasinanon
Naris Wasinanon
Thanet Imsamran
Kitika Karachalkul
Thumwadee Sitthichoklaotong
Saiphon Wunnasinthop
谢玉冰
黄如侬
何福祥
尹士伟
王燕琛
刘淑莲
张曼倩
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
ภาษาจีน -- หลักสูตร
Chinese language -- Curricula
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน
Chinese language -- Study and teaching
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2544 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความเหมาะสมของโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร 2) กระบวนการบริหารจัดการเการเรียนการสอน 3) ผลของการใช้หลักสูตร 4) ทิศทางของหลักสูตรในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2547 จำนวน 80 คน นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งแจ้งสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2548 (นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน รหัส 45) จำนวน 130 คน อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ได้ปฏิบัติงานระหว่างปี พ.ศ. 2545-2548 จำนวน 10 คน ผู้ใช้บัณฑิตหรือนายจ้างบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สำเร็จการศึกษาปี 2547 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ผู้วิจัยใช้ค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเป็นสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านความเหมาะสมของโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนเห็นด้วยกับโครงสร้างหลักสูตรโดยรวม ได้แก่ ความเหมาะสมของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตร ความเหมาะสมของเนื้อหารายวชิา และส่วนใหญ่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับโครงสร้างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 ซึ่งมีจุดเด่น คือ มีการแบ่งสายวิชาออกเป็น 2 สาย ได้แก่ สายวิชาภาษาและวรรณกรรมจีน และสายวิชาภาษาจีนธุรกิจ และเห็นด้วยที่มีการแบ่งกลุ่มตามระดับความรู้ภาษาจีนแรกเข้าศึกษาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ไม่เห็นด้วยกับจำนวนหน่วยกิตวิชาเอกเลือกและจำนวนหน่วยกิตวิชาเอกบังคับ รายวิชาที่กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาสายวิชาภาษาและวรรณกรรมจีนเห็นว่ามีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน เช่น การอ่านบทความภาษาจีนทางสังคมศาสตร์ วรรณคดีจีนโบราณ ศัพทศาสตร์ภาษาจีน การแปลวรรณกรรมจีน เป็นต้น รายวิชาที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน ได้แก่ การแปลภาษาจีนเบื้องต้น การเขียนภาษาจีน ความสัมพันธ์ธุรกิจไทย-จีน การฟังอ-อ่านข่าวธุรกิจจีน ทักษะคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ด้านกระบวนการบริหารจัดการการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างแสดงความเห็นว่าการบริหารจัดการโดยรวม ได้แก่ การบริหารจัดการอาจารย์ผู้สอน การวัดและประเมินผล กิจกรรมเสริมรายวิชามีความเหมาะสมดี ด้านการบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วย ได้แก่ การบริหารจัดการส่วนกลาง เช่น การกำหนดตารางเรียนและตารางสอบ การจัดห้องเรียนที่ยังขาดความแน่นอน ไม่ชัดเจน การบริหารจัดการของสาขาวิชาในด้านการแบ่งกลุ่มตามระดับความรู้ของผู้เรียนและการแบ่งสายวิชายังขาดความเสมอภาพ หรือยังขาดความชัดเจนและเป็นธรรม นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างยังได้เสนอให้มีการเพิ่มจำนวนอาจารย์ชาวจีน และกลุ่มตัวอย่างอาจารย์ชาวไทยและชาวจีน จำนวนหนึ่งประสงค์ให้มีการจัดอาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ถนัดหรือตามประสบการณ์การสอน ด้านผลการใช้หลักสูตร ผลการวิเคราะห์จากกลุ่มผู้ใช้หลักสูตรที่ได้ประเมินตนเองในกลุ่มนักศึกษา พบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจต่อความรู้ภาษาจีนของตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น สามารถออกเสียงภาษาจีนกลางได้ถูกต้องชัดเจน พึงพอใจต่อความรู้ภาษาจีนของตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น สามารถออกเสียงภาษาจีนกลางได้ถูกต้องชัดเจน ใช้ภาษาจีนได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ สามารถฟังและอ่านเนื้อเรื่องและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน มีความรู้และเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางด้านธุรกิจ มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์จีนและปรัชญาจีน หัวข้อความรู้ที่กลุ่มนักศึกษาไม่พึงพอใจ ได้แก่ ทักษะการเขียนจดหมายโต้ตอบและจดหมายธุรกิจอย่างถูกวิธี ความรู้ทางด้านปรัชญาจีน การเมืองการปกครองจีน ขณะที่กลุ่มบัณฑิตไม่พึงพอใจตนเองด้านความสามารถในการเขียนจดหมายโต้ตอบทั่วไปและจดหมายเชิงธุรกิจอย่างถูกวิธี ความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางด้านธุรกิจ การมีความรู้ด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจจีน เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างยังได้แสดงความพึงพอใจด้านบุคลิกภาพของตนเองในหลายด้าน ได้แก่ สามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น กลุ่มบัณฑิตกลับมีความเห็นด้านบุคลิกภาพที่เด่นๆ ของตน เช่น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง แต่บางหัวข้อบัณฑิตแสดงความเห็นต่างกันกับกลุ่มนักศึกษา เช่น กลุ่มบัณฑิตไม่พึงพอใจต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนผลการวิเคราะห์จากกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต พบว่าผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน โดยหัวข้อที่พึงพอใจระดับสูง ความรับผิดชอบของบัณฑิต สามารถทำงานตามคำสั่ง ความเสียสละต่อองค์กร ความสามารถในการใช้ภาษาจีนและภาษาไทย เป็นต้น หัวข้อที่บัณฑิตต้องปรับปรุง ได้แก่ ความตรงต่อเวลา และความเป็นผู้นำ ด้านทิศทางของหลักสูตรภาษาจีนในอนาคต กลุ่มอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาปัจจุบันที่น่าสนใจว่าหลักสูตรควรสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมมากขึ้น ผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ ที่สำคัญคือหลักสูตรควรเน้นการปฏิบัติจริงและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่วนกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในลักษณะที่เป็นผู้ใช้ผลผลิตของหลักสูตร คือ กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตนั้นต่างตั้งความคาดหวังต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทางด้านภาษาจีนว่าควรต้องมีความรู้ด้านการติดต่อประสานงานได้ดี ควรมีทักษะความรู้ด้านการพิมพ์คอมพิวเตอร์ภาษาจีน นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้และทักษะทางด้านภาษาจีนด้านการสนทนาโต้ตอบภาษาจีน การเขียนภาษาจีน การอ่านภาษาจีน การสืบค้นข้อมูลภาษานีนทางอินเทอร์เนต สามารถนำความรู้ภาษาจีนมาประยุกต์ใช้ในการงานได้ ส่วนหัวข้อที่กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตให้ความสำคัญค่อนข้างมากที่สุดได้แก่ บัณฑิตต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริต ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เรียงลำดับจากมาก-น้อย)
The study aims at evaluating the curriculum that was revised in year 2001 for Chinese major students, Chinese Department, Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University. The 4 areas that were taken into consideration were the following: 1) curriculum structure and content suitability; 2) classroom teaching management; 3) the reult of the curriculum implementation; and, 4) the future prospects of the curriculum Subjects of the study are 80 Chinese major students who graduated in year 2004, 130 Chinese major year 2005 graduating students, 10 instructors from the Chinese Department who worked from year 2002 to year 2005, 10 company employers who hired fresh graduates from the Chinese Department, Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University. Tools for data collection were questionnaires rating in a scale of 4 and the average score for each item was utilized for data analysis. Findings Regarding the curriculum structure and content suitability, the results revealed that the majority of the subject find its philosophy and objectives suitable. The curriculu, provided 2 outstanding programs namely: Language and Chinese Literature and Business Chinese. The respondents felt that it was a good idea for the department to administer a placement test for students prior admission. Language and Chinese literature subjects were rated as suitable though such as Chinese Social Reading, Ancient Chinese Literature, Chinese Phonology and Chinese Translation. Subjects offered like Basic Chinese Translation, Chinese Writing, Thai-Chinese Business Relations, Listening-Reading Chinese Business News and Computer Skills were rated as very suitable. On the other hand, the 10 teachers responded that the amount of credits for both elective and core subject courses were not suitable enough. Instructor management, evaluation and supplementary activities for each subject under classroom teaching management were found to be suitable by the informants. Nevertheless, the informants though that some parts of the management were not suitable such as teaching and examination schedules and room management which were rated as not certain and definite. The bracketing of the students according to the knowledge level was rated as unclear. More so, it was suggested that the department should at least recruit more Chinese instructors with subjects to be taught in accordance to their competence and teaching skills and experience. The feedback of the result of the curriculum implementation category revealed that the majority of the Chinese major students' informants showed satisfaction as to their Chinese language skills in pronunciation, usage, reading-listening comprehension, business vocabulary, history skills in pronuciation, usage, reading-listening comprehemsion, business vocabulary, history and philosophy. The students hinted their dissatisfaction in their own writing Chinese correspondence skills and Chinese philosophy and governance knowledge. The students who graduated in year 2004 admitted their weaknesses in general correspondence writing business vocabulary and Chinese geo-economics. Curriculum implementation feedback from the Chinese major students showed satisfaction as a number of personality traits such as problem solving skills, open mindedness and responsibility. Those students who graduated in the year 2004 were pleased with their social skills, proper behavior, enthusiasm and self-improvement. They were not content with their handling of problems they haven't encountered before. Self-responsibility, efficiency in doing assigned tasks, work dedication and Chinese and Thai language competencies were found to be satisfactory. Punctuality and leadership skills needed to be improved though. In terms of the future prospects of the curriculum, it was found that the instructors agreed that the curriculum should accord with market and social needs rather than it was so that Chinese major students could apply it in an authentic use. Importantly the curriculum should be practical and focus on a student center-teaching methodology. The employers expected highly on the following fresh graduates' attributes: team player, computer skills, face to face communication skills, reading and writing skills, intranet and language skills. The most important skills emphasized are being able to work in a team and is willing to cooperate, positive attitude towards the company's mission and vision, honesty and efficiency. (ranked from most to least desired skills)
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1723
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charassri-Jirapas.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.