Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1734
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนาพร เครือแก้ว | - |
dc.contributor.author | กฤษณี เอี่ยมจรูญ | - |
dc.contributor.author | นุช สัทธาฉัตรมงคล | - |
dc.contributor.author | รุจิรัตน์ พัฒนะศรี | - |
dc.contributor.author | สุวรรณา อินคล้าย | - |
dc.contributor.author | ลาวรรณ์ อนันต์ชลาลัย | - |
dc.contributor.author | บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี | - |
dc.contributor.author | จรรยา ยอดนิล | - |
dc.contributor.author | ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | Chanaporn Kraukaew | - |
dc.contributor.author | Suwanna Inklay | - |
dc.contributor.author | Benjertsak Sannhapuckdee | - |
dc.contributor.author | Janya Yodnil | - |
dc.contributor.author | Chalitpun Boonmeesuwan | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | th |
dc.contributor.other | Kritsanee Iamjaroon | - |
dc.contributor.other | Nush Sattachatmongkol | - |
dc.contributor.other | Ruchirat Patanasri | - |
dc.contributor.other | Lawan Ananchalalai | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-21T06:20:36Z | - |
dc.date.available | 2024-02-21T06:20:36Z | - |
dc.date.issued | 2006 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1734 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยประเมินหลักสูตรการบัญชี สาขาวิชาการบัญชี จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชาการทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบทด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 9 ชุด มีการตอบกลับมา 9 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเพศปญิง อาจารย์ทั้งหมด มีประสบการณ์สอน 7-10 ปี ร้อยละ 42.86 และมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 57.14 อาจารย์ทุกคนเห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย อาจารย์ทุกคนเห็นว่า คณะมีการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตร และเห็นด้วยกับการที่มีการบริหารหลักสูตรในรูปคณะกรรมการ อาจารย์มีความเห็นต่อสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวด โดยจำนวนหน่วยกิตของหมวดศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี มีความหมายเหมาะสมระดับปานกลางถึงมาก อาจารย์มีความเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของตนเองในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกข้อ เว้นแต่การให้โอกาสนักศึกษาแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ความเห็นต่อคุณลักษณะสำคัญของการเป็นอาจารย์ผู้สอน คือ เป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ขวนขวายติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของความรู้ใหม่ๆ สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ ซึ่่งสอดคล้องกับคุณลักษณะต่างๆ ของตนเองโดยอาจารย์ทุกคนคิดว่าคุณลักษณะที่ตนเองมีมาก ได้แก่ การมีศีลธรรม มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไตร่ตรองเหตุผล รู้จักตนเอง อาจารย์ผู้สอนใช้แบบการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นแบบบรรยายเชิงอภิปราย และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสอนที่อาจารย์ผู้สอนใช้มากที่สุด คือ เครื่องฉายแผ่นใส / เครื่องฉายแผ่นทึบ รองลงมา คือ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อาจารย์มีความเห็นต่อคุณลักษณะของนักศึกษาในระดับปานกลาง ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานระดับสามัญ มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย สำหรับคุณลักษณะการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ อ่านหนังสือประกอบ/ค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่ในระดับน้อย รูปแบบการเรียนที่อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด คือ การเรียนแบบอิสระ แต่ปัจจุบันนักศึกษาใช้แบบการเรียนแบบจำใจ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับบัณฑิต 65 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 60 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.30 ร้อยละ 90.77 นับถือศาสนาพุทธและส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก บัณฑิตร้อยละ 51.67 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษาต่ำกว่า 2.5 ร้อยละ 30 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5-3.25 บัณฑิตมีงานทำร้อยละ 83.33 ส่วนใหญ่เป็นงานบัญชี รองลงมาเป็นงานสอบบัญชีและงานการเงิน บัณฑิตร้อยละ 63.33 ได้รับเงินเดือนในอัตรา 5,001-10,000 บาท บัณฑิตร้อยละ 48.33 ได้งานทำโดยการสมัครงานด้วยตนเอง อีกร้อยละ 21.67 ให้ญาติแนะนำ บัณฑิตมีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาพื้นฐานว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาแกน บัณฑิตมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นมีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี กลุ่มวิชาเอกเลือก มีความเหมาะสมในระดับดี โดยให้ความเห็นว่าบางรายวิชา ควรมีการปรับปรุงในบางด้าน การจัดการเรียนการสอนบัณฑิตชอบวิธีการเรียนแบบร่วมมือและแบบอิสระ และเห็นว่าแบบร่วมมือเป็นวิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน บัณฑิตเห็นว่าการติดต่อสื่อสาร-การปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับดี บัณฑิตเห็นว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติงานมากที่สุด บัณฑิตคิดว่าตนเองมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อยถึงปานกลาง บัณฑิตมีความเห็นว่าคุณสมบัติที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงาน คือ การมีศีลธรรมและคุณธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความรับผิดชอบ อดทนสู้งาน ซึ่งตรงกับที่บัณฑิตคิดว่าเป็นคุณสมบัติที่ตนเองมี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตโดยให้บัณฑิตเป็นผู้ส่งให้กับผู้บังคับบัญชา จากจำนวนที่ส่งทั้งหมด 150 ชุด ผู้ใช้บัณฑิตตอบกลับมาเพียง 8 ชุด คิดเป็นร้อยละ 5.33 ของแบบสอบถามทั้งหมดที่่ส่งออกไป ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนความคิดของผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมดได้ ผู้ใช้บัณฑิตได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานว่าเป็นหน่วยงานเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน จะพิจารณาจากสาขาวิชาที่บัณฑิตจบตรงกับลักษณะงานเป็นสำคัญ ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก และมีศักยภาพการทำงานเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นในระดับที่มากกว่า ได้แก่่ ความรู้ด้านวิชาการ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการเรียนรู้งาน การอุทิศเวลาให้กับงาน มานะอดทนสู้งาน ในระดับที่เท่ากับสถาบันอื่น คือ ความคิดริเริ่มและการมองการณ์ไกล ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษาปัจจุบัน คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้นักศึกษาปัจจุบัน 70 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 50 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.42 นักศึกษาปัจจุบันร้อยละ 92 เป็นนักศึกษาหญิงภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ นักศึกษามีความเห็นต่อหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาแกน มีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี สำหรับหมวดวิชาเลือกเสรี ไม่มีผู้ตอบแบบสอบถาม ความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน นักศึกษามีความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรในระดับดี มีเพียงบางหัวข้อที่มีระดับปานกลาง เช่น นวัตกรรมการเรียนการสอน Website สื่อการสอในรูป CD ROM กิจกรรมเสริมการดูงาน หนังสือค้นคว้าในห้องสมุด | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2547 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th |
dc.subject | Curriculum evaluation | th |
dc.subject | การบัญชี -- หลักสูตร | th |
dc.subject | Accounting -- Curricula | th |
dc.subject | การบัญชี -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Accounting -- Study and teaching | th |
dc.title | การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Accounting Degree's Curriculum for Academic Year 2000 Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanaporn-Kraukaew.pdf | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.