Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1735
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ | - |
dc.contributor.author | เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล | - |
dc.contributor.author | วรสิทธิ์ จักษ์เมธา | - |
dc.contributor.author | สมนึก อัศดรวิเศษ | - |
dc.contributor.author | Tassachan Piyatanti | - |
dc.contributor.author | Penn Chayavivatkul | - |
dc.contributor.author | Worasith Jackmetha | - |
dc.contributor.author | Somnuk Asdornwised | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-21T06:27:28Z | - |
dc.date.available | 2024-02-21T06:27:28Z | - |
dc.date.issued | 2002 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1735 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยประเมินหลักสูตรการเงิน (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชาการทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบทด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 6 ชุด มีการตอบกลับมา 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและมีอายุงานระหว่าง 3-6 ปี โดยมีอาจารย์ร้อยละ 33 ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และเห็นว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน ดูแลมาตรฐานบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีสัดส่วนในหลักสูตรค่อนข้างมาก แต่หมวดวิชาเอกทั้งวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือกมีสัดส่วนในหลักสูตรค่อนข้างน้อย สำหรับพฤติกรรมในเรื่องการแทรกการอบรมสั่งสอนคุณธรรมและศีลธรรมในรายวิชาที่สอนแก่นักศึกษา อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเอง มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.83) ในขณะที่พฤติกรรมด้านอื่นๆ อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุดและผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะดังกล่าวมากทีสุด คือ การมีศีลธรรม แต่คุณลักษณะของการขวนขวายติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของความรู้ใหม่ๆ และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ เป็นลักษณะที่อาจารย์ผู้สอนมีอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ตนเองคิดว่าควรจะมี ในด้านการสอนอาจารย์ผู้สอนใช้การสอนแบบสัมมนา และการสอนแบบ Brain Storming Groups ค่อนข้างน้อย สื่อการสอนที่อาจารย์ผู้สอนใช้เพียงร้อยละ 50 ได้แก่ โปรแกรม Black Borad ความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนร้อยละ 66.67 มีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนสม่ำเสมอแต่ยังอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งน้อย ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารการเงิน (ต่อเนื่อง 2 ปี) ทั้งหมด 7 ชุด ตอบกลับมา 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.71 ของจำนวนที่่ส่งไป นักศึกษาร้อยละ 66.67 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมีร้อยละ 33.33 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักศึกษาจำนวนครึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือ ปวท. ในสาขาวิชาการบัญชี รองลงมาคือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ความคิดเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่่วไป นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่ารายวิชาโดยส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง แต่มีวิชา MA1033 คณิตศาสตร์ทั่่วไป ที่นักศึกษาร้อยละ 50 มีความเห็นว่าควรปรับปรุงในด้านความทันสมัยของเนื้อหาและร้อยละ 33 คิดว่าต้องปรับปรุงในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น ความคิดเห็นต่อรายวชาในหมวดวิชาแกน มีนักศึกษาร้อยละ 50 เห็นว่าวิชา MG4103 การจัดการเชิงกลยุทธ์ ควรปรับปรุงตัวอย่างประยุกต์ใช้ ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่้น และความทันสมัยของเนื้อหา ความเห็นต่อรายวิชาในหมวดวิชาเอกบังคับของนักศึกษาค่อนข้างมีความหลากหลายและแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับ ปานกลางถึงดี มีนักศึกษาร้อยละ 16.67 เห็นว่า ควรมีการปรับปรุงรายวิชาในหมวดวิชาเอกบังคับ เช่น FN2613 การเงินการธนาคาร FN3613 หลักการลงทุน FN3633 การจัดการทางการเงิน FN4623 การวาณิชธนกิจ และ FN4633 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ นักศึกษามีความเห็นต่อวิชาเอกเลือกว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงดี สำหรับรายวิชาเลือกเสรี นักศึกษาร้อยละ 100 เห็นว่าวิชา HU2203 เทคโนโลยีเพื่อการนำเสนอ มีความเหมาะสมในระดับดีในหลักสูตร มีความเห็นว่าการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลางถึงดี นักศึกษาร้อยละ 66.67 เห็นว่าการให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาอยู่ในระดับดี มีนักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 50 เห็นว่าสิ่งที่ควรปรับปรุง คือ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 32 ชุด มีการส่งกลับมาทั้งสิ้น 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 15.63 ของบัณฑิตทั้งหมด จากแบบสอบถามที่ตอบกลับมา บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายะ 22-24 ปี ทุกคนมีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลางและร้อยละ 60 อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตร้อยละ 20 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป ด้านการทำงาาน บัณฑิตทุกคนมีงานทำในหน่วยงานเอกชน โดยมีตำแหน่งงานเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน โดยมีบัณฑิต 1 ราย ทำกิจการของครอบครัว ลักษณะงานของบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นงานขาย รองลงมา ได้แก่ งานบัญชีและงานฝ่ายส่งออกบัณฑิตร้อยละ 60 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท และหางานด้วยการสมัครงานด้วยตนเองที่หน่วยงาน และร้อยละ 20 หางานด้วยการสมัครทาง Internet ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร บัณฑิตทุกคนเห็นว่ารายวิชาหมวดการศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะมีความเหมาะสม ส่วนรายวิชาเลือกเสรี บัณฑิตร้อยละ 80 มีความเห็นว่า เหมาะสมแล้ว บัณฑิตร้อยละ 40 มีความเห็นว่าวิชาภาษาอังกฤษและวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน และวิชาภาษาอังกฤษ มีความทันสมัยมาก บัณฑิตมีความเห็นต่อวิชาที่มีประโยชน์ต่อการทำงานน้อยแตกต่างกันไป ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน บัณฑิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่าวิธีการเรียนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน คือ แบบร่วมมือ ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการเรียนที่ชอบ การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานของตนเอง ว่า มีความรู้ทางด้านการเงินมาก และมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างมาก บัณฑิตมีความเห็นว่าตนเองมีความรู้ทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อย คุณลักษณะที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยที่คุณสมบัติที่บัณฑิตมีมากที่สุด ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 32 ชุด ได้รับตอบกลับจากผู้ใช้บัณฑิต 4 ชุด เนื่องจากมีบัณฑิต 1 รายทำธุรกิจของครอบครัวโดยเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานและร้อยละ 75 เป็นหญิง ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เช่น ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมงาน สามารถทำงานได้รวดเร็วทันกำหนด ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าคุณลักษณะที่เสริมการปฏิบัติงานของบัณฑิต คือ ความกล้าในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และความสามารถในการพูดโน้มน้าว เมื่อเปรียบเทียบความสามารถของบัณฑิตกับบัณฑิตจากสถาบันอื่น ผู้ใช้บัณฑิตทุกคนมีความเห็นว่า บัณฑิตมีความสามารถในการเรียนรู้งานและมีความกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 มีความเห็นว่าบัณฑิตมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อยกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2545 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th |
dc.subject | Curriculum evaluation | th |
dc.subject | การเงิน -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Finance -- Study and teaching | th |
dc.subject | การเงิน -- หลักสูตร | th |
dc.subject | Finance -- Curricula | th |
dc.title | การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน พุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Finance (2 Year Continuing Program) Degree's Curriculum for Academic Year 1999 Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tassachan-Piyatant.pdf | 8.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.