Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/173
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล | - |
dc.contributor.advisor | Thipaporn Phothithawil | - |
dc.contributor.author | มนทชา ภิญโญชานนทน์ | - |
dc.contributor.author | Nontacha Pinyochanont | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-30T04:47:21Z | - |
dc.date.available | 2022-04-30T04:47:21Z | - |
dc.date.issued | 2018 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/173 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตเมื่อกลายเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 2) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายทางสังคมสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และ 3) ศึกษาแนวทางการสนับสนุนของเครือข่ายทางสังคมและการพัฒนานโยบายสวัสดิการสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบการศึกษาเฉพาะกรณีศึกษา (Case study) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 9 กรณีศึกษา และบุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านครอบครัวในระดับนโยบายและปฏิบัติการจำนวน 3 กรณีศึกษา ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic induction) ในลักษณะการตีความ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการดำเนินชีวิตเมื่อกลายเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินชีวิตทั้งในด้านที่อยู่อาศัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านการทำหน้าที่พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ความยากลำบากในการทำบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว จะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย ทำใจยอมรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วตั้งใจทำหน้าที่ดูแลลูกให้ได้รับความรักและความอบอุ่นมากที่สุด ส่วนสัมพันธภาพภายในครอบครัว ส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพที่ดี มีความรักความเข้าใจระหว่างพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยวกับบุตร และสัมพันธภาพระหว่างครอบครัวกับเครือญาติ ได้รับการช่วยเหลือให้กำลังใจจากเครือญาติและบุคคลรอบข้างเป็นอย่างดี 2. การสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายทางสังคมสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมี 2 ลักษณะ คือ 1) เครือข่ายทางสังคมที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนใกล้ชิด โดยได้รับการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและคำปรึกษา 2) เครือข่ายที่เป็นทางการ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินงานด้านที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไม่ได้มีบทบาทโดยตรงในการให้ความช่วยเหลือ ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว แต่จะให้การสนับสนุนส่งเสริม ประสานงานกำกับดูแล ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายด้านครอบครัว ผ่านหน่วยงานเอกชนที่ดำเนินงานด้านที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ในรูปแบบของมูลนิธิครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา โดยการจัดกิจกรรมอันเป็นการส่งเสริมช่วยเหลือครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนของเครือข่ายทางสังคมและการพัฒนานโยบายสวัสดิการสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรจัดให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลสำหรับการกำหนดนโยบาย วางแผน ดำเนินงาน ให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง 2) ควรจัดตั้งองค์กร หน่วยงาน หรือเครือข่าย ที่สามารถดูแลรับผิดชอบ ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมแก่ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวโดยตรง เช่น การให้คำปรึกษา การหาแหล่งเงินทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพให้สวัสดิการทุนการศึกษาสำหรับบุตร เป็นต้น | th |
dc.description.abstract | The objectives of this research were 1) To study living situation after the occurrence of the single-parent families. 2) To assess the support of the society at large and the social networks to the single-parent families 3) To investigate the common practice of support from the social network agents in order to develop the social welfare policy for the single-parent families' quality of life improvement. The study undertook the method of qualitative research by using case study. The data were collected from 9 cases of the single-parent families plus 3 cases of the government and non-governmental social workers at both policy making and the implementation level. The interpretation of data were analyzed by using the analytic induction method. The results were: 1. Most of the single-parent families had well-adaptive capacity to this new status in the aspects of socio-economic, health issues, accommodations and the role of good parenting. Nevertheless, this kind of adaptation came with a certain degree of difficulties. The common solution included that they would try to cut expenses and raise their income. The best thing they could do was to accept what try to cut expenses and raise their income. The best thing they could do was to accept what happened and moved on to do their best to raise their kids with good support from their relatives and surrounded society. The relationship within the single-parent family was quite intact. 2. There were two kinds of support from the society at large and the social networks. Firstly, The unofficial one, included close friends, family and relatives. They provided basic daily needs and mental support. Secondly, the official one which was the government agency who had the duty involved in the general family matters. They implemented the policy by working to promote the non-government agency in the forms of charity organization, religious institutions and other social networks to directly assist the single-parent families. 3. The suggestions for support guidelines of the social network and the development of the social welfare policy to improve the quality of life in the single-parent families. 1) The Ministry of Social Development and Human Security should collect data and create the database system of the single-parent families for the purpose of issuing precise, up to date and concrete policies to properly implement. 2) Set up the directly responsible agency and/or network to work and practically assist the single-parent families, for example, counseling and consultation, finding loan sources for career startups and scholarships for the children of the single-parent families etc. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว | th |
dc.subject | Single-parent families | th |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | th |
dc.subject | Social support | th |
dc.subject | เครือข่ายสังคม | th |
dc.subject | Social networks | th |
dc.title | สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวและการสนับสนุนของเครือข่ายทางสังคม | th |
dc.title.alternative | Single Parents' Way of Lives and Their Social Network Support | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การบริหารสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MONTACHA-PINYOCHANONT.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.