Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorจรินทร์ เกษรบัว-
dc.contributor.authorJarin Keasounbour-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-02-23T04:43:33Z-
dc.date.available2024-02-23T04:43:33Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1743-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ และการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหาแนวทางในการประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ และตระหนักถึงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเอดส์ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนมัธยมเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 266 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง อายุระหว่าง 15-17 ปี การศึกษา 2549 มีเกรดเฉลี่ย 2.51-3.50 สภาพครอบครัวอาศัยอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเรื่องโรคเอดส์มาแล้ว 1-3 ครั้ง ส่วนใหญ่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ที่เคยมีสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้ง กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดไม่มีผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อในครอบครัว จากการศึกษาระดับความรู้และทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับปานกลาง และมีความรู้เกี่ยวกับการติดต่อและการป้องกันในระดับดี และส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วยเอดส์ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ในระดับดี นักเรียนมัธยมที่อาศัยอยู่กับบิดา มารดาและญาติ มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่อยู่กับเพื่อนและอยู่คนเดียว นักเรียนมัธยมที่เคยได้รับการอบรมเรื่องโรคเอดส์มากกว่า 3 ครั้ง มีความรู้เรื่องโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่เคยได้มีการอบรมเรื่องโรคเอดส์น้อยครั้งกว่า และไม่เคยได้รับการอบรม และมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่เคยได้มีรับการอบรมเรื่องโรคเอดส์น้อยครั้งกว่า และไม่มเคยได้รับการอบรม นักเรียนมัธยมที่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้ง มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และนักเรียนที่ใช้ถึงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ต่ำสุด โดยนักเรียนมัธยมที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ นักเรียนมัธยมที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ด้านใดด้านหนึ่งสูง จะมีความรู้อื่นๆ สูงด้วยและนักเรียนมัธยมที่มีทัศนคติด้านใดด้านหนึ่งสูง จะมีทัศนคติด้านอื่นๆ สูงเช่นเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์ของความรู้กับทัศนคติไปในทางเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1) รัฐบาลควรกำหนดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับเพศศึกษาในโรงเรียนมัธยม (2) รัฐบาลควรเน้นการประชาสัมพันธ์สถานการณ์ของโรคเอดส์ต่อกลุ่มเยาวชนตามความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง (3) รัฐบาลควรมีนโยบายควบคุมและป้องก้นการเผยแพร่สื่อลามกอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้นักเรียนและวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ (1) หน่วยงานด้านสุขภาพและโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมเสริมทักษะการป้องกันโรคเอดส์โดยมีหลักสูตรแบบ Home Room (2) หน่วยงานด้านสุขภาพควรมีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่่ยวกับโรคเอดส์ การติดต่อและการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป (1) ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้และไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยม (2) ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้นักเรียนมีทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ที่ไม่ดีในเรื่องใดบ้างth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectโรคเอดส์ -- การป้องกันth
dc.subjectAIDS (Disease) -- Prevention.th
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ.th
dc.subjectHigh school students -- Sexual behavior.th
dc.subjectทัศนคติต่ออนามัยth
dc.subjectHealth attitudesth
dc.titleความรู้ ทัศนคติของนักเรียนมัธยมที่มีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeKnowledge and Attitude of High School Students towards HIV/ AIDS Patients and the Prevention in Bang Bo Hospital's Responsible Area, Samutprakan Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarin-Kesornbua.pdf
  Restricted Access
21.26 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.