Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุญร้ตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorอรอุษา สรรวิริยะ-
dc.contributor.authorOnusa Sunviriya-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-04-30T07:49:55Z-
dc.date.available2022-04-30T07:49:55Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/176-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541th
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาทัศนคติและการปลูกฝังเรื่องการประหยัดของวัยรุ่น 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่น และ 3)เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนราชวินิต(มัธยม) โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย และโรงเรียนพรตพิทยพยัต ปีการศึกษา 2541 จำนวน 436 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมี 4 ตอน 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2)แบบวัดการปลูกฝังเรื่องการประหยัด 3)แบบวัดทัศนคติในเรื่องการประหยัด 4)แบบวัดพฤติกรรมการประหยัด เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ 13 ปี สถานภาพสมรสของบิดามารดาอยู่ร่วมกัน อาชีพของบิดามารดาไม่ได้รับราชการ การศึกษาของบิดามารดาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้ของบิดามารดาอยู่ในช่วง 10,001-15,000 บาท การปลูกฝังเรื่องการประหยัดนักเรียนได้รับการปลูกเรื่องการประหยัดมากทั้งจากครอบครัว โรงเรียนและสื่อมวลชน โดยการปลูกฝังเรื่องการประหยัดจากครอบครัวนั้นนักเรียนที่บิดามารดามีรายได้ปานกลางจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการประหยัดมากกว่านักเรียนที่บิดามารดามีรายได้ต่ำและสูง การปลูกฝังจากโรงเรียนนักเรียนที่มีอายุน้อยและเรียนในชั้นปีการศึกษาต่ำจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการประหยัดจากโรงเรียน มากกว่านักเรียนที่มีอายุมากและเรียนในชั้นปีการศึกษาสูงส่วนการปลูกฝังจากสื่อมวลชนพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติในเรื่องการประหยัดนักเรียนมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการประหยัดโดยนักเรียนหญิงจะมีทัศนคติในเรื่องการประหยัดดีกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอายุ ชั้นปีการศึกษา อาชีพของมารดา การศึกษาของบิดา และรายได้ของบิดามารดา จะมีทัศนคติในเรื่องการประหยัดแตกต่างกัน พฤติกรรมการประหยัด นักเรียนมีพฤติกรรมการประหยัดในระดับปานกลางค่อนข้างมากโดยนักเรียนจะมีพฤติกรรมประหยัดทรัพย์สินมากที่สุดในเรื่องการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ได้รับจากผู้ปกครองเก็บสะสมไว้นักเรียนจะมีพฤติกรรมการประหยัดเวลามากที่สุดในเรื่องนักเรียนไม่เคยผิดนัดให้ผู้อื่นเสียเวลา นักเรียนจะมีพฤติกรรมการประหยัดสิ่งของเครื่องใช้มากที่สุดในเรื่องการปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ และนักเรียนจะมีพฤติกรรมการประหยัดทรัพยากรมากที่สุดในเรื่องการไม่เด็ดดอกไม้เมื่อไปเที่ยวชมความงามตามธรรมชาติ ความแตกต่างทางด้านชั้นปีการศึกษา อาชีพมารดา การศึกษาของบิดาจะมีพฤติกรรมการประหยัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่านักเรียนหญิงมีทัศนคติในเรื่องการประหยัดดีกว่านักเรียนชาย และนักเรียนที่บิดามารดาประกอบอาชีพแตกต่างกันและมีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีทัศนคติและพฤติกรรมการประหยัดแตกต่างกัน และนักเรียนที่บิดามารดามีรายได้ครอบครัวต่างกัน จะได้รับการปลูกฝังเรื่องการประหยัดแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่นโดยวิธีการถอถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่นมากที่สุดคือการปลูกฝังเรื่องการประหยัดจากสื่อมวลชนและครอบครัวผลการวิจัยครั้งนี้ พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะดังนี้คือ ให้โรงเรียนทำความเข้าใจกับผู้ปกครองโดยให้เห็นความสำคัญของการอบรมบุตรหลาน โดยเฉพาะเรื่องการประหยัดและให้ชี้แจงแก่ผู้ปกครอบให้ความสนใจโดยให้ความสำคัญในเรื่องการประหยัดนี้ให้มากและโรงเรียนควรให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกฝังเรื่องการประหยัดด้วยตัวของนักเรียนเอง โดยการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียน เช่นการจับกลุ่มอภิปราย หรือการนำสิ่งของเหลือใช้มาปรับปรุงเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายและนำรายได้เป็นกองทุนเพื่อการศึกษา นอกจากนั้นครูอาจารย์ควรให้การปลูกฝังพฤติกรรมการประหยัดแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง สำหรับสื่อมวลชนนั้น ควรรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนทั่วไปเห็นความสำคัญของการประหยัดและผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ควรมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายการหรือบริษัทโฆษณาผลิตรายการที่สอดแทรกค่านิยมการประหยัดโดยใช้มาตรการจูงใจโดยการลดหย่อนค่าเช่าเวลาth
dc.description.abstractThis research aims to study the influence of juvenile's economized behavior. Samples were 436 Mathayom Suksa 1-6 students, studying in 3 schools ; Rachawinit, Phrakanong Pittayalai and Protpittayapayat School during 1988 academic year. The questionnaires consisted of 4 parts (1) questions on personal data, (2) measure on socialization, (3) measure on attitude toward economization, and (4) measure on behavior of economization. Data analysis was done by SPSS/PC+ computer program. Analised data was presented in percentage, means, standard diviation, oneway analysis of variance, and enter regression analysis. The analysis revealed that the majority of the students were 13 years old. females, living with parents who were mainly non-government officers with under bachelor’s degree educational level and earned between 10,000-15,000 baht per month. About socialization on economized behavior : student got socialization from families, schools and mass media in high level. Those from families which received moderate level of income were socialized on economization more than those from families of low and high income. From school. Younger students in lower grades were socialized more than older ones in higher grades. About socialization from mass media, there was no statistically difference in any variables. About attitude forward economization : the students’ attitude were approximately high, girls’ were better than boys’ were. They were statistically different in attitude toward economization when divided by age, education, mother’s occupation, father’s education and income. Students had economized behavior in moderately high level. The behavior about money , most of them saved some of money they received from their parents. The behavior about time, thay avoided to miss their appointments. The behavior about natual resources, they avoided picking flower. To study the fifferences of economized behavior of the students, they mere statistically different when divided by education, mother’s occupation and father’s education. For hypothesis testing, independent variables found effected to juvenile’s economized behavior were sex, parent’s occupation, parent’s education, and income. By enter regression analysis, it was found that factors influencing economized behavior in juvenile were socialization from mass media and family. The suggestions from this studies are that : (1) schools should emphasize on creating activities which would encourage students to get use to be economized ; such as, discussion, thing collection for sale, etc., (2) mass media, both radio and television, should have policy to promote advertising producer to take economized value for audience.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectจิตวิทยาวัยรุ่น.th
dc.subjectAdolescent psychologyth
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.subjectHigh school students -- Thailand -- Bangkokth
dc.subjectAdolescenceth
dc.subjectSaving and investmentth
dc.subjectการออมกับการลงทุนth
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดของวัยรุ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeFactors Effecting Juvenile's Economized Behavior : A Case Study of Secondary School Students under the Department General Rducation in Bangkokth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
front.pdf109.27 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf317.84 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgment.pdf72.88 kBAdobe PDFView/Open
tableContents.pdf343.01 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf358.96 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf467.1 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf673.33 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf360.67 kBAdobe PDFView/Open
vitae.pdf39.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.