Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/177
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขัตติยา กรรณสูต | - |
dc.contributor.advisor | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล | - |
dc.contributor.advisor | Kattiya Kannasut | - |
dc.contributor.advisor | Thipaporn Phothithawil | - |
dc.contributor.author | สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | Suporntum Mongkolsawadi | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-30T08:14:43Z | - |
dc.date.available | 2022-04-30T08:14:43Z | - |
dc.date.issued | 2001 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/177 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาชีพคนพิการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพของคนพิการ ศึกษาแผนและนโยบายตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานของหน่วยให้บริการด้านอาชีพ ศึกษาทัศนคติ ปัญหาและอุปสรรคของสถานประกอบการในการรับคนพิการเข้าทำงาน และศึกษาแนวทางการบริหารจัดการและกลไกทางกฎหมายในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพของคนพิการคือเจตคติของครอบครัว ชุมชน และสังคมส่วนมากเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คนพิการขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่ได้รับการพัฒนาและขาดโอกาสในการออกสู่สังคม ถึงแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กฎกระทรวง มติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งแนวทางและแผนต่าง ๆ ที่เป็นกลไกหลักในการส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ แต่ในทางปฏิบัติขาดการเอาใจใส่อย่างจริงจังและต่อเนื่องจากรัฐบาลและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ทำให้บริการด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการขาดทั้งคุณภาพและปริมาณ ในขณะที่ทัศนคติของสถานประกอบการส่วนใหญ่เปิดรับคนพิการที่มีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งคนพิการและสถานประกอบการยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละฝ่ายได้ เนื่องจากขาดข้อมูลข่าวสารและขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจ้างงานคนพิการ จากผลการศึกษาพบว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเร่งหามาตรการในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ เนื่องจากปัญหานี้เป็นวิกฤติเงียบที่ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกบริหารจัดการที่สามารถเชื่อมโยงและตอบสนองต่อความต้องการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพแก่คนพิการ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการส่งเสริมอาชีพคนพิการโดยควรจัดตั้งสถาบันแรงงานคนพิการแห่งชาติเพื่อเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ ร่วมลงนามในอนุสัญญาที่ 159 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ พร้อมทั้งทำแผนปฏิบัติการตามกรอบของอนุสัญญาภายใต้บริบทของสังคมไทย นอกจากนี้รัฐบาลควรกำหนดเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจรับคนพิการเข้าทำงานเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งกำหนดนโยบายระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับนโยบายหลัก เช่น การปรับกระบวนการจัดการศึกษาสู่การมีอาชีพ การให้สิทธิทางภาษีหรือการสนับสนุนงบประมาณแก่บริษัทที่รับคนพิการเข้าทำงาน การกำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในพื้นที่สาธารณะเป็นต้น นอกจากการกำหนดนโยบายที่กล่าวมาแล้วควรกำหนดให้มีการจัดทำแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นภาพรวมการพัฒนาคนพิการอันมีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งเสริมอาชีพ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นควรว่าควรนำเงินจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการมาใช้สำหรับการส่งเสริมอาชีพอย่างน้อยวันละ 50 ของรายรับของกองทุน ด้านหน่วยปฏิบัติการ ผู้ศึกษามีข้อคิดเห็นว่าทุกหน่วยควรทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายศึกษาเรื่องคนพิการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และปรับกระบวนการในการทำงานใหม่ทั้งหมด สำหรับขอเสนอแนะในการวิจัยในอนาคต ควรเป็นการวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการจ้างคนพิการ รวมทั้งปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปล่อยปละละเลยต่อปัญหานี้ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในทางนโยบายหรือปฏิบัติการใด ๆ รวมทั้งการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ควรจะให้คนพิการหรือองค์กรคนพิการในฐานะผู้แทนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านั้นด้วยเสมอ รวมทั้งควรคำนึงถึงคนพิการทั้งในเมืองและชนบทอย่างเสมอภาค | th |
dc.description.abstract | This thesis is study on the promotion of employment for people with disabilities. The aims of the study are to show or document: (1) the problems and obstacles encountered by the disabled persons in employment, (2) the policies, problems and obstacles of job service providers, (3) the attitudes, problems and obstacles in the work place where disabled people are employed and (4) the shortfalls in the laws and management on the promotion of employment for people with disabilities. The biggest obstacles and problems that this study found to employment for the disabled are the negative attitudes of most families, communities and society. These negative attitudes result in the lack of educational opportunities for disabled people that cause a lack of social skills and the ability to fully participate in society. The Rehabilitation of Disabled Persons Act was enacted in B.E.2534 (1991) and it is a good plan for the rehabilitation of disabled people. This is the main basis from which to promote and develop the potential of disabled people. Sadly this plan is not effective because there is no political will to enforce the provisions and to supervise the implementation of the recommendations. This study also shows that there is a lack of quality in the job promoting services, While some employers in the private sector have better attitudes toward disabled disabled people, there seems to be large gap between each other’s needs. There is a general lack of information and understanding about the employment of people with disabilities. The above-mentioned problems are producing a silent crisis that causes economic loss to the state and can ultimately affect the nation’s stability. The results of this study show that it is essential that Thailand quickly find measures to promote the employment of people with disabilities. To promote the employment of disabled person requires a management system that can form a link between business and the vocational rehabilitation. The researcher suggests that the government should set a strategy aiming to reform the policies for the promotion of employment for people with disabilities, by providing programs that will develop the potential of disabled people, and be offering them careers and integrating them into the Thai society. It is suggested that a national institution for labour with disabilities should be organized to represent the disabled persons, to manage all related affairs affecting the disabled persons. This organization would be a signatory to the convention 159 of the International Labour Organization (ILO) and plan its work according to the framework of the convention under the Thai social context. The government should set a policy that policy that every public department and private enterprise should specifically employ people with disabilities and institute related policies at the ministry level to support the main policy. Some of these policies should include but not be limited to relating educational management to job availabilities, offering a special tax advantages or budget support for companies that employ people with disabilities and providing the facilities for disabled people in public areas. In addition to the above-mentioned policies, there should be the second National Rehabilitation Plan for People with Disabilities. This plan would include an overall picture for the rehabilitation and development for disabled people. This developmental strategy is required as it directly affects the promotion of employment for people with disabilities. The greatest need is a sufficient budget allocation. This researcher believes that at least 50% of the income of the Rehabilitation for People with disabilities. For practical consideration, the researcher thinks that every section of society should cooperate as a network in promoting the employment of people with disabilities. It is the researcher’s opinion that future research would point out the benefits in employing disabled people and the problems and effects caused by neglecting to give the disabled an opportunity to fully participate in the society. One of the most important aspects is decision making or policy and service implementation to the disabled people is that they or their organization representatives participate in every segment of this process. Including equal input of the disabled people from urban and rural areas. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | คนพิการ -- การจ้างงาน -- ไทย | th |
dc.subject | การแนะแนวอาชีพ | th |
dc.subject | People with disabilities -- Employment -- Thailand | th |
dc.subject | Vocational rehabilitation | th |
dc.subject | Vocational guidance | th |
dc.title | แนวทางการส่งเสริมอาชีพคนพิการ | th |
dc.title.alternative | Promotion of Employment for People with Disabilities | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 518.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 141.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 979.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 11.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 248.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 954.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 695.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.