Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/183
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorThanya Sanitwongse Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorลลิลญา ลอยลม-
dc.contributor.authorLalinya Loylom-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-04-30T09:39:45Z-
dc.date.available2022-04-30T09:39:45Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/183-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 50 -60 ปี 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุระหว่าง 50 – 60 ปี 3) การเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้ที่เกษียณอายุแล้ว 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับภาวะถดถอยของผู้สูงอายุ 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 50 -60 ปี มีการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุในระดับดีด้านร่างกาย เช่น พักผ่อนร่างกาย และออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้านจิตใจและอารมณ์ โดยการศึกษาธรรมะฝึกจิตใจ หาความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจิตใจ ด้านที่พักอาศัย เช่น การเตรียมบ้านพักให้เป็นสัดส่วนเหมาะสมกับวัย ด้านการเงินและการใช้จ่าย โดยการจำกัดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง มีการวางแผนเตรียมประกอบอาชีพสำรอง ด้านการใช้เวลาและงานอดิเรก โดยหาความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและงานอดิเรกที่เหมาะสมกับวัย และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมสังคม โดยการวางแผนสมัครเป็นสมาชิกสมาคมหรือชมรมต่าง ๆ ที่สนใจเป็นต้น การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ : ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านที่พักอาศัย ด้านกิจกรรมในสังคม ด้านการเงินการใช้จ่าย และด้านการใช้เวลาและงานอดิเรก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุระหว่าง 50 – 60 ปี คือการได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน ๆ มากที่สุด โดยเฉพาะด้านร่างกายและที่พักอาศัย รองลงมาคือการสนับสนุนจากครอบครัวในด้านจิตใจและอารมณ์ และการสนับสนุนจากหน่วยงานในด้านข้อมูลเกี่ยวกับการเงินและการใช้จ่าย การใช้เวลาว่างและงานอดิเรกตามลำดับ ส่วนการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุของผู้ที่เกษียณอายุแล้ว ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่สูงอายุได้เตรียมตัวด้านจิตใจและอารมณ์มากที่สุด รองลงมาคือด้านร่างกาย ที่พักอาศัย การเข้าร่วมกิจกรรมสังคม การเงินและการใช้จ่าย และด้านการใช้เวลาและงานอดิเรก ตามลำดับ ส่วนผู้สูงอายุที่เกษียณอายุแล้วได้เตรียมตัวในด้านที่พักอาศัยมากที่สุด รองลงมาคือด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมสังคม ด้านการเงิน การใช้จ่าย และด้านการใช้เวลาและงานอดิเรก ตามลำดับ ผู้สูงอายุก่อนเกษียณและเกษียณอายุแล้วยอมรับภาวะถดถอยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยยอมรับว่าตนเองเป็นภาระของครอบครัวและไม่มีความสำคัญต่อผู้อื่นอีกแล้ว คิดว่าบั้นปลายชีวิตเป็นเวลาที่ไร้ค่า รู้สึกว่าตนเองแก่เฒ่าและอ่อนแอ ยอมรับว่าเวลานี้เป็นเวลาที่น่าเบื่อที่สุดในชีวิต ในที่สุดการวิจัยครั้งนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือ การมีสุขภาพแข็งแรง การได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ มีคนสนิทสนมชอบพอกันที่สามารถพูดคุยระบายความทุกข์ และปรับทุกข์ได้ และมีเงินพอใช้จ่ายในครอบครัว ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตภายหลังเกษียณ คือ การไม่มีภาระหนี้สิน การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน การได้เตรียมตัวใช้เวลาและงานอดิเรก ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม และการยอมรับภาวะถดถอยของตนเอง จึงมีคุณภาพที่ดีภายหลังเกษียณ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อผู้สูงอายุ ได้แก่ หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง ครอบครัวของผู้สูงอายุ และเพื่อน เป็นต้น ต้องให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุในด้านการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์และงานอดิเรก การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โดยเฉพาะการให้เกียรติและการเคารพนับถือ ตลอดจนการยกย่องให้เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม ปัจจัยด้านบุคคลและกิจกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการดำรงชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังใจในการทำประโยชน์แก่สังคมตลอดไปth
dc.description.abstractThe purposes of the study are to investigate 1) the retirement preparation of elderlies ages 50-60 years, 2) factors effecting retirement preparation of elderlies ages 50-60 years, 3) the retirement preparation of retired elderlies, 4) factors effecting disengagement of elderlies, and 5) factors effecting life quality of elderlies. The study revealed that elderlies ages 50-60 years better prepared themselves in the following aspects : physical by resting and exercising ; mental and emotional by meditating and keeping informed on physical and mental changes ; housing by living privately; financing by economicing expenses and planning for extra jobs; leisure-time spending and hobbies; participating in social activities by applying clubs membership. The research showed three main factors effecting retirement preparation of retired lederlies ages 60 years: peergroup support by physical and housing assistance; family support on mental and emotional sides ; and government and private sectors support by informing information on finance and expenses and hobbies. The study found that the retirement preparation of retired elderlies were primarily on the following aspects : housing, physical, mental, emotional, social participation, income and expenses. Including leisure-spending and hobbies, respectively. Elderlies before retirement admitted disengagement both mental and physical. They confessed that they were barriers of the family and played unimportant roles to others. The last period of their lives was useless. Elderlies who were already retired felt that they were old and weak enough to do something. They were getting bored of lives and no use for others. Finally the research found that factors effecting to life quality of elderlies leading to life satisfaction were freedom from debts, peergroup supporting, meaningful leisure time management and hobbies. Social interaction and acceptance of social changes were also considered factors leading to quality of elderly lives. The researcher concludes and suggests that both private and public sectors, big or small, are equally important. They should go hand working out plans with edlerlies sympathetically. Members of the family and peergroups mus pay attention and plan closely and systematically on leisure-time and hobbies of elderlies. Social interaction and activities involvement, social acceptance as well as recognition of he community as qualitied and experienced elderlies are also strongly recommended. Life satisfaction of elderlies will be born easily without less burdens of society if everyone in the society cares and shares love and hope to the elderlies.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการเกษียณอายth
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิตth
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectคุณภาพชีวิตth
dc.subjectRetirementth
dc.subjectOlder people -- Conduct of lifeth
dc.subjectQuality of lifeth
dc.subjectOlder people -- Thailand -- Samutprakarnth
dc.titleการเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeThe Retirement Preparation of Elderly in Samut Prakarn Provinceth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf417.77 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontent.pdf357.58 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf688.5 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf374.56 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf998.55 kBAdobe PDFView/Open
reference.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.