Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม-
dc.contributor.authorวิญญ์ทัญญู บุญทัน-
dc.contributor.authorธมกร อ่วมอ้อ-
dc.contributor.authorปริศนา อัครธนพล-
dc.contributor.authorอรอนงค์ บัวลา-
dc.contributor.authorKamonthip Khungtumneum-
dc.contributor.authorWinthanyou Bunthan-
dc.contributor.authorThamakorn Aumaor-
dc.contributor.authorPrisana Akaratanapol-
dc.contributor.authorOnanoung Buala-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.date.accessioned2024-03-14T06:13:37Z-
dc.date.available2024-03-14T06:13:37Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.citationวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดจันทบุรี 33, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565) : 29-39th
dc.identifier.issn2985-2463 (Online)-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1891-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/252355/175800th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 128 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินภาวะสุขภาพ แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง .70–.90 และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .70 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีภาวะสุขภาพกายและภาวะสุขภาพจิตในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 82.81 และ 62.50 ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับปานกลาง (M = 1.77, SD = .23) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .239, p < .01; rs = .550, p < .001 และ rs = .541, p < .001 ตามลำดับ) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า อาจารย์พยาบาลและผู้บริหารควรนำปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มาใช้ในการออกแบบการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์th
dc.description.abstractThis descriptive correlational research aimed to determine health status, health promoting behaviors, and the relationship between selected factors and health promoting behaviors among nursing students. The samples were 128 first-year nursing students in Huachiew Chalermprakiet University in an academic year of 2020. The research instruments included the health status assessment form, the factors related to health promoting behaviors questionnaire with reliabilities in the range of .70–.90, and the health promoting behaviors questionnaire with reliability of .70. Data were collected from October to November, 2020. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and Spearman rank correlation. The research results revealed that nursing students had physical health and mental health at a moderate level (82.81% and 62.50%, respectively) and had total mean score of health promoting behaviors at a moderate level (M = 1.77, SD = .23). Perceived benefits of action, perceived self-efficacy, and interpersonal influences were positively statistically significantly related to health promoting behaviors among nursing students (rs = .239, p < .01; rs = .550, p < .001; and rs = .541, p < .001, respectively). This research suggests that nursing instructors and administrators should use the factors regarding perceived benefits of action, perceived self-efficacy, and interpersonal influences to design health promotion for nursing students.th
dc.language.isothth
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล -- สุขภาพและอนามัยth
dc.subjectNursing students -- Health and hygieneth
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth
dc.subjectHealth behaviorth
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth
dc.subjectHealth promotionth
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษาth
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University -- Studentsth
dc.titleภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeHealth Status and Health Promoting Behaviors among Nursing Students in Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nurses-Students.pdf83.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.