Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1892
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนิษฐา แก้วดู-
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวง-
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.authorKanittha Kaewdoo-
dc.contributor.authorChavee Baosoung-
dc.contributor.authorNantaporn Sansiriphun-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherChiang Mai University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherChiang Mai University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2024-03-14T06:51:30Z-
dc.date.available2024-03-14T06:51:30Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.citationพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 46,2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 1-12th
dc.identifier.issn2821-9120 (Print)-
dc.identifier.issn2821-9139 (Online)-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1892-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197066/137027th
dc.description.abstractความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอด เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงผลลัพธ์ทางสุขภาพที่สำคัญสำหรับผู้เป็นมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดที่อยู่ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 102 ราย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ของสปิลเบอร์เกอร์ (1983) ฉบับภาษาไทยโดย ดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2534) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดโดย นลินี สิทธิบุญมาและคณะ (2557) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาโดย ฉวี เบาทรวง และคณะ (2557) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า - มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดร้อยละ 56.86 มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์อยู่ในระดับต่ำ - มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.42 ) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมารดาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.31) ระบุว่า สามี คือผู้ที่ให้การสนับสนุนมากที่สุด - มารดาหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดจำนวนมาก (ร้อยละ 90.20) มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอยู่ในระดับมาก - ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.503, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .385, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดth
dc.description.abstractAttainment of maternal functional status during the postpartum period is very important for maternal health, especially cesarean mothers. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore the relationship between anxiety, social support, and postpartum functional status among mothers with cesarean sections. The subjects were 102 cesarean mothers at 6 weeks postpartum who received service at Rajavithi Hospital, between August 2014 and January 2015. The research instruments used were the State Anxiety Inventory Form Y by Spielberger (1983), the Thai version byThapinta (1991) with a reliability coefficient of .89, the Mother Social Support Questionnaire by Sitthiboonma, and others (2014) with a reliability coefficient of .94, and the Maternal Functional Status Inventory by Baosoung, and others (2014) with a reliability coefficient of .94. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation. Results of the study revealed that: 1. Fifty-six pointeight six percentof cesarean mothershad a low levelof stateanxiety. 2. Most of cesarean mothers (79.42%) had a high level of social support, and most cesarean mothers (84.31%) identified that the husband was the most supported person. 3. A majority of cesarean mothers (90.20%) had a high level of maternal functional status. 4. Anxiety had a significant and moderate negative correlation with maternal functional status among mothers with cesarean sections (r = -.503, p < .01). 5. Social support had a significant and moderate positive correlation with maternal functional status among mothers with cesarean sections (r = .385, p < .01).th
dc.language.isothth
dc.subjectความวิตกกังวลth
dc.subjectAnxietyth
dc.subjectระยะหลังคลอดth
dc.subjectPuerperiumth
dc.subjectการผ่าท้องทำคลอดth
dc.subjectCesarean sectionth
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมth
dc.subjectSocial supportth
dc.subjectความสามารถในตนเองth
dc.subjectSelf-efficacyth
dc.titleความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องth
dc.title.alternativeAnxiety, Social Support, and Postpartum Functional Status among Mothers with Cesarean Sectionth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anxiety.pdf80.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.