Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1922
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร | - |
dc.contributor.advisor | Jaturong Boonyarattanasoontorn | - |
dc.contributor.author | กรวิกา ศิริสะอาด | - |
dc.contributor.author | Kornwika Sirisaard | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2024-03-19T05:30:20Z | - |
dc.date.available | 2024-03-19T05:30:20Z | - |
dc.date.issued | 2000 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1922 | - |
dc.description | สารนิพนธ์ (สส.บ.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาปัญหา ความต้องการ และศักยภาพในการเข้าร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน : กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษาภูมิหลัง ปัญหา ความต้องการ และศักยภาพในการร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการเข้าร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าที่สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 7 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ภาคอีสาน คู่สมรสส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง โดยมีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 1,000-3,000 บาท มีผู้ที่อยู่ในอุปการะ 2-3 คน อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าทำเป็นอาชีพหลักและมีรายได้อยู่ในช่วง 4,001-6,000 บาท หนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการซื้อบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ประเภทของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำอยูในปัจจุบันเป็นการช่วยกันทำงานในกลุ่ม โดยการทำงานตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป การรับงานมาทำที่บ้านจะรับผ่านคนกลาง ซึ่งอยู่ในลำดับช่วงที่ 1 ส่วนปัญหาของผู้รับงานไปทำที่บ้านมีในด้านความผิดปกติทางสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป โดยมีโรคทางสายตาและปวดหลังปวดเอว ร่วมด้วย นอกจากนี้เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่คิดจะหยุดงาน แต่การรักษาพยาบาลนั้นเป็นการออกค่าใช้จ่ายเอง และส่วนใหญ่จะไม่มีหลักประกันความมั่นคง เนื่องจากไม่มีการทำประกันชีวิตไว้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ศึกษาครั้งนี้มีความต้องการในการประกันสังคม โดยรวมในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง ให้รัฐจัดกองทุนสำหรับการกู้ยืมเงินไว้ใช้กรณีฉุกเฉินและคิดดอกเบี้ยต่ำ ส่วนความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในกรณีต่างๆ นั้น ปรากฏว่าผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความต้องการในทุกกรณีคือ ว่างงานทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร สำหรับความต้องการในด้านอื่น คือ ให้รัฐช่วยเหลือในเรื่อง จำหน่ายบัตรประกันสุขภาพทั้งครอบครัวในราคาถูก สนับสนุนการศึกษาของบุตรให้เรียนฟรีและมีอาหารกลางวันจนจบ ม. 3 ให้ผู้ว่าจ้างมีส่วนร่วมในการออกเงินสมทบเพื่อจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม จัดอบรมพัฒนาฝีมือ จัดส่งข้อมูลแหล่งงาน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้ารักษาพยาบาลในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง ออกกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และจัดทำทะเบียนสมาชิกของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้านในการเข้าร่วมประกันสังคม พบว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความสามารถในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในช่วง 50-100 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเงินสมทบตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนวิธีการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ผู้รับงานไปทำที่บ้านเห็นว่าควรให้กลุ่มเป็นผู้นำส่งให้เป็นรายเดือน ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ไม่มีเงินพอที่จะนำส่ง ทั้งนี้เพราะมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และรายได้ไม่แน่นอน สำหรับการวิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ จากกฎหมายประกันสังคมกฎกระทรวงฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2542) พบว่า เงินสมทบที่คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างในระบบ (ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2537) ตั้งแต่ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2533 และ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2544 เป็นเงิน 50 บาท และ 75 บาท ตามลำดับ และได้รับการคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีทุพพลภาพ ชราภาพ ตาย ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง (ตามมาตรา 40) ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป เป็นจำนวนเงินปีละ 3,360 บาท (เดือนละ 280 บาท) ในอัตราคงที่อัตราเดียวไม่คำนึงถึงรายได้ที่ได้รับ และได้รับการคุ้มครองเพียง 3 กรณี คือ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย ฉะนั้น จึงเป็นปัญหาและข้อจำกัดของกฎหมายประกันสังคม ซึ่งบังคับใช้ที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่สามารถเข้าร่วมประกันสังคมได้ จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบหนี่งที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกันสังคม คือ การจ่ายเงินสมทบตามขีดความสามารถของผู้รับงานไปทำที่บ้านทำได้ ซึ่งอยู่ในช่วง 50-100 บาทต่อเดือน ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเงินงบประมาณแผ่นดินที่รัฐสามารถจัดได้ เพื่อนำเงินมาสนับสนุนในกองทุนประกันสังคม สำหรับการบริหารจัดการของผู้รับงานไปทำที่บ้านนั้น เนื่องจากความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีแนวโน้มไปในทางที่ดี ผู้รับงนไปทำที่บ้านจึงต้องการที่จะให้กลุ่มเป็นผู้นำส่งเงินสมทบให้ ดังนั้น จึงมีทางเป็นไปได้ที่ให้กลุ่มเป็นผู้หักงินสมทบรายเดือน แต่นำส่งเงินสมทบเป็นรายปี เพื่อนำส่งเงินสมทบที่หักไว้ใช้ในการหมุนเวียนทางด้านการเงินของกลุ่มก่อน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ในระดับนโยบาย รัฐบาลควรปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมในเรื่องอัตราการจ่ายเงินสมทบ สำหรับผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง (ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม) รัฐบาลควรออกกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยเฉพาะ และมีการบังคับใช้โดยเคร่งครัด รัฐบาบควรให้มีการจดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน อีกทั้งควรกำหนดให้ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน และควรมีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อกำหนดโครงสร้างค่าจ้างรายชิ้นขั้นต่ำตามแต่ละประแภทของงาน ในระดับปฏิบัติการ สำนักงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลแหล่งงานไปยังผู้รับเงานไปทำที่บ้านอย่างรวดเร็ว และควรร่วมือกับภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงานให้ได้ผลงานตามมาตรฐาน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งขยายบัตรประกันสุขภาพเข้าสุ่กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ทั่วถึง เป็นการบรรเทาภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนหนึ่งของผู้รับงานไปทำที่บ้าน นอกจากนี้ ยังเสนอว่า ควรจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงปัญหาและความต้องการในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้านในลักษณะของกลุ่มเครือข่าย ความสามารถในการจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง และศึกษาเปรียบเทียบการประกันสังคมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | ประกันสังคม -- ไทย | th |
dc.subject | Social security -- Thailand | th |
dc.subject | ผู้รับงานไปทำที่บ้าน -- ไทย | th |
dc.subject | Home labor -- Thailand | th |
dc.subject | การตัดเย็บเสื้อผ้า | th |
dc.subject | Sewing | th |
dc.title | ปัญหาความต้องการและศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้านกับการมีส่วนร่วมประกันสังคมในประเทศไทย : กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Problems, Needs and Potentials of Thai Home Workers to Participate in the Current Social Security Scheem : A Case Study of Garment Home Workers in Ladkrabang District, Bangkok | th |
dc.type | Independent Studies | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kornwika-Sirisaard.pdf Restricted Access | 22.62 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.