Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorNuttsa Sanitvong Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorกัญญา จุฑามณี-
dc.contributor.authorKanya Juthamanee-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-03-19T07:15:29Z-
dc.date.available2024-03-19T07:15:29Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1928-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูลูกเพียงฝ่ายเดียว รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของการเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวพ่อหรือแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพังกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในสังกัดโรงเรียนสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 417 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 15 ปี มีแม่เป็นผู้ดูแลใกล้ชิด กรณีที่จำแนกตามระดับอายุ พบว่า เด็กที่อายุ 14 ขึ้นไป พ่อจะเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดมากกว่าแม่ แต่เด็กที่อายุ 13 ปีลงมา จะเป็นแม่ที่ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดมากกว่าพ่อผลการวิจัยพบว่า การอบรมเลี้ยงดู เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็วสูงที่สุด รองลงมา คือ แบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยมากกว่า ควบคุมมาก ท้ายที่สุด คือ แบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย ซึ่งเด็กที่มีผู้ดูแลใกล้ชิดเป็นแม่และเครือญาติของแม่กับพ่อและเครือญาติของพ่อ จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยมากกว่าควบคุมมากผลการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่า สัมพันธภาพในครอบครัวเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูใกล้ชิดจากพ่อและเครือญาติ และจากแม่และเครือญาตินั้นมีสัมพันธภาพในครอบครัวสูงที่สุดนอกจากนี้การสำรวจด้านพฤติกรรม พบว่า พฤติกรรมเกี่ยวกับการเรียนมีความเหมาะสมในระดับปานกลางค่อนข้างมาก และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับเพศมีความเหมาะสมในระดับปานกลางค่อนข้างมาก จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่า การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยกว่ามากกว่าควบคุมมากจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเด็ก คือ เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมน้อยอย่างไรก็ดี จากการศึกษาสภาพของครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูลูกเพียงฝ่ายเดียว พบว่า การมีหรืออยู่ในครอบครัวที่มีเครือญาติเกื้อหนุนจะช่วยลดความรุนแรงในปัญหาด้านจิตใจ การเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมากจากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงฝ่ายเดียว ได้แก่การจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การสร้างเครือข่ายในกลุ่มเพื่อนและกลุ่มครอบครัวของพ่อเดี่ยวแม่เดี่ยว เพื่อให้ความช่วยเหลือ แนะนำในการแก้ไขปัญหา จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและระหว่างครอบครัวในมิติต่างๆ อีกทั้งรัฐควรมีส่วนร่วมในการปรับพื้นฐานสวัสดิการสังคมมีการรวบรวมลักษณะครอบครัวที่ต้องประสบปัญหา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงฝ่ายเดียว โดยกำหนดเป็นนโยบายอย่างต่อเนื่องth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectครอบครัวth
dc.subjectFamiliesth
dc.subjectการดูแลเด็กth
dc.subjectChild careth
dc.subjectบิดามารดาและบุตรth
dc.subjectParent and childth
dc.subjectบิดามารดาที่เป็นโสดth
dc.subjectSingle parentsth
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectHigh school students -- Thailand -- Samut Prakarn.th
dc.titleความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว : ศึกษาเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeThe Relation of Child Rearing, Family Relationship and Child Improper Behavior in Single Parent Families : A Study of Secondary School Students in Samutprakarn Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunya-Chutamanee.pdf
  Restricted Access
14.15 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.