Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1944
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิไล ธรรมวาจา | - |
dc.contributor.author | Wilai Thamvaja | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | th |
dc.date.accessioned | 2024-03-22T10:08:34Z | - |
dc.date.available | 2024-03-22T10:08:34Z | - |
dc.date.issued | 2021 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1944 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียน การสอนวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบผสมผสาน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษาจีนในโครงการแลกเปลี่ยนจีน-ไทย วิชาเอกภาษาไทย ที่ศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 45 คน และอาจารย์ผู้สอนเนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ฉบับ ประกอบด้วย แบบทดสอบ วัดระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทย โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ค่าร้อยละ และค่า t-test แบบ Dependent Sample นำมาแปลผลข้อมูลผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 73.73 อยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.012. ปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สอน ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านผู้เรียน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม3. แนวทางการพัฒนาจัดการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน พบว่า 1) ด้านผู้เรียน ควรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทย เตรียมความพร้อมก่อนเรียนและทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ 2) ด้านผู้สอนควรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาที่สองและสาม 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและสร้างสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม และ 4) ด้านสภาพแวดล้อม ควรสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นฐานในการการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย | th |
dc.description.abstract | This research aims to: 1) study Thai cultural knowledge and understanding of Chinese exchange students in Huachiew Chalermprakiet University. 2) study factors affecting learning Thai culture of Chinese exchange students in Huachiew Chalermprakiet University. 3) study guidelines to develop Thai cultural learning and teaching management for Chinese exchange students in Huachiew Chalermprakiet University. Mixed methods research was employed to achieve these objectives. The samples consisted of 45 Chinese exchange students studying Bachelor of arts program in communicative Thai as a second language program and 5 instructors teaching Thai culture. Thai cultural knowledge tests, questionnaires and interview were used to collect data. The statistics used were the mean, standard deviation, frequency value, percentage and the dependent t-test.The results are as follows:1. Thai cultural knowledge and understanding of Chinese exchange students; Bachelor of arts program in communicative Thai as a second language program at Huachiew Chalermprakiet University was in average of 73.73 percent, good level, had a statistically higher scores than before learning the 0.01 level of significance.2. Supporting factors effecting Thai cultural knowledge and understanding of Chinese exchange students studying Bachelor of arts program in communicative Thai as a second language program in Huachiew Chalermprakiet University were the instructor factor, the learning and teaching management factor, the learner factor, and the environment factor, respectively.3. Guidelines for the development of learning and teaching management of Thai culture for Chinese exchange students were as follows: 1) learners should improve their Thai language skills including preparing before class and reviewing lessons regularly. 2) instructors should develop communication skills in second and third languages. 3) in term of learning and teaching management, lesson contents should be tailored to learners and to create appropriate learning materials. 4) creating an atmosphere conducive to learning Thai culture and using the surrounding environment as a base for learning Thai culture were recommended. | th |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2563 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | วัฒนธรรมไทย -- การศึกษาและการสอน | th |
dc.subject | Thai culture -- Study and teaching | th |
dc.subject | นักศึกษาจีน -- ไทย | th |
dc.subject | Chinese students -- Thailand | th |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | th |
dc.subject | Intercultural communication | th |
dc.title | การศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.title.alternative | A Study of Cognition and Factors Affecting Learning Thai Culture of Chinese Exchange Students in Huachiew Chalermprakiet University | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilai-Thmmawaja.pdf | 4.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.