Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรัณย์ กอสนาน-
dc.contributor.authorอุบลวรรณา ภวกานันท์-
dc.contributor.authorวิวัฒน์ หามนตรี-
dc.contributor.authorจ่ามยุ้น ลุงเฮือง-
dc.contributor.authorSarun Gorsanan-
dc.contributor.authorUbolwanna Pavakanun-
dc.contributor.authorWiwat Hamontri-
dc.contributor.authorChamyun Lunghueng-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciencesth
dc.contributor.otherMahachulalongkornrajavidyalaya University. School of Social Developmentth
dc.contributor.otherMahachulalongkornrajavidyalaya University. School of Social Developmentth
dc.contributor.otherMahachulalongkornrajavidyalaya University. School of Social Developmentth
dc.date.accessioned2024-04-02T06:02:52Z-
dc.date.available2024-04-02T06:02:52Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.citationวารสาร มจร การพัฒนาสังคม 7,1 (มกราคม-เมษายน 2565) : 87-105th
dc.identifier.issn2539-5718 (Print)-
dc.identifier.issn2651-1215 (Online)-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2002-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/254068/172383th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อระดับความเครียดโดยการวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 2. ศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อระดับความเครียดโดยการวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 และ 3. เสนอค่าระยะเส้นฐาน (Baseline) ของระดับความเครียดคนไทยของเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 ซึ่งจะเป็นแนวทางของศูนย์การสร้างสุขภาวะในการใช้เป็นมาตรฐานวัดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยเป็นแบบกึ่งการทดลอง ซึ่งวัดระดับความเครียดด้วยนวัตกรรมเครื่องการป้อนข้อมูลย้อนกลับทางชีวภาพแบบ GRS2ทั้งในแบบความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนังด้วยผลเข็มหน้าปัทม์ (โอห์ม) และแบบการจับเวลาการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ (นาที) ตามอุณหภูมิและความชื้นร่างกาย ประชากรศึกษาคือ ทั้งบรรพชิตและฆราวาสที่เป็นนิสิต เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่เรียนหรือท างานในหลักสูตรสาขาต่างๆ และผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งสงฆ์ สามเณร นักเรียนที่ศูนย์จิตตภาวนา วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ โดยกลุ่มตัวอย่าง 180 รูป/คน จะถูกสุ่มตามเงื่อนไขประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้ง 2) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 3-103) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรมเกินกว่า 10ครั้ง โดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวอย่าง 60 รูป/คน) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากอายุ 30-55 ปีและมีอยู่ในทุกกลุ่มเงื่อนไขการปฏิบัติธรรม แต่กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยกว่า 30 ปีจะพบเฉพาะในกลุ่มเงื่อนไขปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป ที่พบเฉพาะในกลุ่มปฏิบัติธรรมมาเกินกว่า 10 ครั้งผลรวมและผลในแต่ละกลุ่มเงื่อนไขประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่ต่างกันพิสูจน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติว่า การปฏิบัติธรรมทำให้ระดับความเครียดลดลง ไม่ว่าจะวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพ GSR2 แบบค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวหนัง (โอห์ม) และแบบจับเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ (นาที) ต่างก็ให้ผลสอดคล้องกันว่า การปฏิบัติธรรมนั้นมีผลต่อระดับความเครียดผลการเปรียบเทียบระดับความเครียดระหว่างกลุ่มเงื่อนไขที่มีประสบการณ์ต่างกันนั้น พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในผลหลังการทดลองเมื่อวัดด้วยแบบเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบโดยกลุ่มที่ปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะใช้เวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบน้อยที่สุด (𝑥̅= 2.2 นาที) รองลงมาคือ กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 3-10 ครั้ง (𝑥̅= 2.8 นาที) ส่วนกลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้ง จะใช้เวลามากที่สุด (𝑥̅= 3.1 นาที) ผลการศึกษานี้ทำให้เห็นว่า ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมมีผลแตกต่างกันต่อระดับความเครียดค่าระยะเส้นฐานของระดับความเครียดที่วัดแบบค่าความต้านทานไฟฟ้าในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (n = 180 คน) คือ -1.56 โอห์ม และผลในกลุ่มปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งจะมีสูงสุด คือ -2.05 โอห์ม รองลงมาคือ กลุ่มปฏิบัติธรรม 3–10 ครั้ง คือ -1.55 โอห์มและกลุ่มปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะมีค่าน้อยที่สุด คือ -1.07 โอห์ม ค่าระยะเส้นฐานของระดับความเครียดที่วัดแบบการจับเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 4.7 นาที และในกลุ่มปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งจะมีสูงสุดคือ 4.9 นาที รองลงมาคือ กลุ่มปฏิบัติธรรม 3–10 ครั้ง คือ 4.6 นาที และกลุ่มปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะมีค่าน้อยที่สุด คือ 4.1 นาทีth
dc.description.abstractThe aims are 1. to study the Dharma practice which affects the stress level by measuring with GSR2 bio-feedback. 2. to study the experience of Dharma practice that influences stress levels by measuring with GSR2 bio-feedback and 3. to propose the baseline of the Thai stress level of the GSR2 bio-feedback tool which will be the guideline of the Health Center in using as a standard measure to be efficient and effective. This is quasi-experimental quantitative research which measures stress levels with the innovative GRS2 bio-feedback device both in the skin electrical resistance (ohm) and the time to enter the mental state calm (minutes) according to the temperature and humidity of body. The research population is both the monarch and laymen who are students staff personnel who study or work in various courses and those who practice Dhamma at Chulalongkorn Rajawittayalai University Wangnoi campus PhraNakhon Sri Ayutthaya province.as well as novice monks and students at the meditation center of Sutthiwararam Temple Bangkok. The population are randomly selected into a sample group of 180 images / person which divided into 3 groups of conditions are equally 60 monk/person; 1) Groups who practice Dharma 1-2 times 2) Groups that practice Dharma 3-10 3) Groups that practice Dharma more than 10 times. The research found that Most of the sample groups are aged 30-35 years and exist in all groups. But the samples younger than 30 years old can only be found in the 1-2 practice group conditions; as well as the sample aged over 55 years and found only in the practice group more than 10 times. The sum and outcome of each condition group with different Dhamma practicing experience proved statistically significant. Dharma practices cause stress levels to drop. Whether measured by the electrical resistance (ohm) and the timer to enter a state of calm (minutes) all give consistent results that Dharma practice affects the level of stress. The comparison of stress levels between groups with different experiences There was a statistically significant difference only when measured by the time form of entering a state of calm in post-test results. The group that has practiced Dhamma more than 10 times will spend the least time to enter the state of mind (𝑥̅=2.2 minutes). The second is the group that has 3-10 practice of meditation (𝑥̅=2.8 minutes).while the group with 1-2 practice will spend the most time to enter the state of mind (𝑥̅=3.1 minutes). The results show that Dhamma experiences have different effects on stress levels.th
dc.language.isothth
dc.subjectการปฏิบัติธรรมth
dc.subjectMeditationth
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.subjectStress (Psychology)th
dc.subjectสุขภาวะth
dc.subjectWell-beingth
dc.titleศูนย์การสร้างสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยการปฏิบัติธรรม ร่วมกับนวัตกรรมการป้อนกลับทางชีวภาพth
dc.title.alternativeCenter of Creating Well Being Efficiency and Effectiveness by Dharma Practice together with Biofeedback innovationth
dc.typeArticleth
Appears in Collections:Pharmaceutical Sciences - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Well-Being.pdf144.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.